อิ๋ง กาญจนะวณิชย์
สมานรัชฎ์ "อิ๋ง" สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ [1] หรือ อิ๋ง เค (อังกฤษ: Ing K) เป็นนักเขียน นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ภาพยนตร์สารคดี และนักวิพากษ์เรื่องสิ่งแวดล้อม
อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ | |
---|---|
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ |
คู่ครอง | มานิต ศรีวานิชภูมิ |
อาชีพ | นักเขียน, ผู้กำกับภาพยนตร์ |
ผลงานเด่น | คนกราบหมา (2540) |
ประวัติ
แก้สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์สมานสนิท สวัสดิวัตน์ กับศาสตราจารย์ ดร.รชฎ กาญจนะวณิชย์[2][3] วิศวกรอาวุโส อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมานรัชฎ์เป็นหลานตาของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ [4] เสรีไทยสายอังกฤษ ศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปศึกษาที่เวสต์แฮมตัน [5] ประเทศอังกฤษตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น เมื่อ พ.ศ. 2516 และศึกษาต่อด้านจิตรกรรม ที West Surrey College of Art and Design [5] เดินทางกลับประเทศไทย ทำงานเป็นอาสาสมัครของยูเอ็นช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อรัญประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นไปทำงานเป็นนักข่าวเดอะ เนชั่น เปิดบริษัทรับทำโฆษณา เขียนคอลัมน์ประจำในนิตยสารลลนาบันทึกการเดินทางท่องเที่ยว ในชื่อ "ข้างหลังโปสการ์ด" โดยใช้นามปากกา "หลานเสรีไทย" [4]
งานเขียนในช่วงต่อมาของเธอ เริ่มวิพากษ์ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบกับถูกปิดกั้น เธอจึงออกจากงานที่เนชั่น และสร้างภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรก เรื่อง "Thailand for Sales" (2534) ได้รับทุนจากสำนักข่าวบีบีซี โดยเธอเป็นผู้เขียนบท และบรรยาย กล่าวถึงผลกระทบจากธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน และสิ่งแวดล้อม
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องที่สอง "Green Menace : The Untold Story of Golf" (2536) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เธอเป็นผู้กำกับ และกำกับภาพ วิพากษ์ธุรกิจสนามกอล์ฟที่กำลังบูมในขณะนั้น ว่ามีผลทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไร ภาพยนตร์ได้รับรางวัลภาพยนตร์สารคดีสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม Suffolk Film and Video Festival นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องถัดมา "Casino Cambodia" (2537) เป็นสารคดีวิพากษ์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของอเมริกา ในประเทศกัมพูชาจากมุมมองของภาครัฐ
อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ สร้างภาพยนตร์ ความยาว 2 ชั่วโมง ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. [6] ในปี พ.ศ. 2539 เรื่อง "คนกราบหมา" (My Teacher Eats Biscuits) เป็นหนังตลกร้ายว่าด้วยลัทธิประหลาดที่ผู้คนพากันกราบไหว้หมา นำแสดงโดยกฤษดา สุโกศล และธาริณี เกรแฮม ภาพยนตร์มีกำหนดฉายในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ครั้งที่ 1 (Bangkok Film Festival) ปี พ.ศ. 2540 แต่ถูกขัดขวาง และภาพยนตร์ถูกระงับห้ามฉายในประเทศไทย ด้วยเหตุผลว่าดูหมิ่นศาสนาพุทธ [7] คนกราบหมา ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ ฮาวาย ลอสแอนเจลิส นิวยอร์ก [5]
ในปี พ.ศ. 2542 ขณะที่กองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง The Beach เดินทางทางถ่ายทำที่หาดมาหยา จังหวัดกระบี่ เธอเป็นผู้หนึ่งที่เดินทางมาร่วมประท้วง การทำลายสภาพแวดล้อมในระหว่างถ่ายทำ ได้ถ่ายทำวิดีโอไว้เป็นหลักฐานเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ถูกข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่ และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น [4]
ปัจจุบัน เธอยังคงสร้างภาพยนตร์อยู่ โดยมีโรงภาพยนตร์ของตัวเอง ชื่อ Cinema Oasis ที่ซอยสุขุมวิท 43 ข้างห้างดิเอ็มโพเรี่ยมและเอ็มควอเทียร์ ซึ่งมีจำนวนที่นั่ง 48 ที่[8] [9] อีกทั้งยังเป็นศิลปินวาดภาพ และเขียนหนังสือ [7]
ผลงาน
แก้หนังสือ
แก้- ช่างทำผมใจดี (2520) [1]
- ข้างหลังโปสการ์ด (2527)
- Protest / photogr (2546)
- นีโอ-ชาตินิยม : นิทรรศการศิลปการเมืองร่วมสมัย (2548)
ภาพยนตร์
แก้- Thailand for Sales (2534) เขียนบท
- Green Menace : The Untold Story of Golf (2536) กำกับ, กำกับภาพ, เขียนบท
- Casino Cambodia (2537) กำกับ, กำกับภาพ, เขียนบท
- คนกราบหมา - My Teacher Eats Biscuits (2540) กำกับ, กำกับภาพ, เขียนบท (ได้รับอนุญาตให้ฉายในประเทศไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 หลังกำหนดการฉายเดิม 25 ปี[10]) (เข้าฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567)
- พลเมืองจูหลิง (2551) ผลงานร่วมกับ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ และมานิต ศรีวานิชภูมิ [11]
- เชคสเปียร์ต้องตาย - Shakespeare Must Die (2555) กำกับ, เขียนบท, อำนวยการสร้าง (เข้าฉายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567)
- เมื่อเราเป็นยอดมนุษย์&ปิดกรุงเทพ - How We Became Superheroes (2561) กำกับ, กำกับภาพ, อำนวยการสร้าง[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์[ลิงก์เสีย] ระบบสืบค้นหนังสือ หอสมุดปรีดี พนมยงค์
- ↑ นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ เนื้อแท้แห่งหัวใจเชื่อมใยชีวิตกับธรรมชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ดุสิตรายาวดี โรงแรมเจ้าปัญหา" นิตยสารผู้จัดการ, ธันวาคม 2536]
- ↑ 4.0 4.1 4.2 สรรวรส ชัยชวลิต, อิ๋ง เค ผู้เขียนประวัติศาสตร์ฉบับผู้แพ้, วารสาร หนัง:ไทย, ฉบับที่ 13 มิถุนายน 2547
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Thai Takes: Contemporary Thai Film Directors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-27. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
- ↑ "หนังไทยนอกระบบ กับ ความตื่นตัวของยุคสมัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
- ↑ 7.0 7.1 ผู้กำกับดังให้กำลังใจอภิชาติพงศ์เพียบ พร้อมสนับสนุนการปลดปล่อยเสรีภาพหนังไทยกันเพียบ
- ↑ 8.0 8.1 "Big Picture คิดต่างระหว่างบรรทัด 02 08 61 เบรค 2". ฟ้าวันใหม่. 2018-08-02. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
- ↑ "Big Picture คิดต่างระหว่างบรรทัด 02 08 61 เบรค 1". ฟ้าวันใหม่. 2018-08-02. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
- ↑ ถูกแบนมา 25 ปี ทีมกำกับ ‘คนกราบหมา’ หนังอินดี้รุ่นแรก เฮ! ผ่านเซ็นเซอร์แล้ว
- ↑ ทรงพลัง ชวนสะกดให้ต้องติดตาม พลเมืองจูหลิง รอบปฐมทัศน์เมืองไทย Toronto International Film Festival, 6 กันยายน 2551