เชคสเปียร์ต้องตาย

เชคสเปียร์ต้องตาย (อังกฤษ: Shakespeare Must Die) เป็นภาพยนตร์ปี 2555 ที่ดัดแปลงจากเรื่องแม็คเบธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ กำกับโดยอิ๋ง กาญจนะวณิชย์ และอำนวยการสร้างโดยมานิต ศรีวานิชภูมิ[2] รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งห้ามภาพยนตร์เรื่องนี้ในฐานะภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ เนื่องจากภาพยนตร์มีการอ้างอิงถึงการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารต่อผู้ประท้วงนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519[3][4][5][6]

เชคสเปียร์ต้องตาย
กำกับอิ๋ง กาญจนะวณิชย์
บทภาพยนตร์อิ๋ง กาญจนะวณิชย์
สร้างจากแม็คเบ็ธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์
อำนวยการสร้างมานิต ศรีวานิชภูมิ
นักแสดงนำพิศาล พัฒนพีระเดช
ธาริณี เกรแฮม
นิวัติ กองเพียร
สกุล บุณยทัต
กำกับภาพมานิต ศรีวานิชภูมิ
Rodrigo Oliviari
วันฉาย20 มิถุนายน​ พ.ศ. 2567
ความยาว176 นาที [1]
ประเทศไทย
ภาษาไทย

เชคสเปียร์ต้องตายใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบละครซ้อนละคร ดำเนินเรื่องควบคู่กันไป มีเหตุการณ์สองส่วน คือละครเวที และโลกภายนอกในเหตุการณ์ร่วมสมัย มีตัวละครนำชื่อ "เมฆเด็ด" (Mekhdeth) เป็นขุนนางที่ล้มอำนาจกษัตริย์ และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ เมฆเด็ดลุ่มหลงในอำนาจ เกิดหวาดระแวงว่าจะถูกล้มล้าง จนต้องฆ่าใครต่อใครเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเล่าผ่านมุมมองของตัวละครที่ชื่อว่า "บุญรอด" [7]

สมานรัชฎ์เรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น "หนังผีต้นทุนต่ำ" [8] สร้างจากเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง [9] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้รับเรท "ห" หรือ ห้ามเผยแพร่ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ [10][11][12] ทั้งนี้เนื่องจากในภาพยนตร์มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการนำฟุตเทจภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 มาใช้ [13][14] และการให้ปิศาจในเรื่องสวมชุดสีแดงเปรียบเหมือนการกล่าวหาเสื้อแดง [7]

การห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้สมานรัชฎ์ และทีมผู้สร้างตัดสินใจฟ้องคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ต่อศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 1321/2555 เพื่อเพิกถอนคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์และให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ชดใช้ค่าเสียโอกาสและค่าเสียหายซึ่งคำนวณจากต้นทุนการสร้างภาพยนตร์ทั้งหมด จนใน พ.ศ. 2560 ศาลปกครองกลางได้พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ได้ใช้ดุลพินิจตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ 2552 ข้อ 7 (3) ซึ่งส่อเค้าว่าภาพยนตร์ดังกล่าวอาจสร้างความแตกแยกในสังคม[15] อย่างไรก็ดีทีมผู้สร้างกลับยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิพากษากลับให้ทีมผู้สร้างชนะคดีในอีกเจ็ดปีต่อมา[16] โดยให้คณะกรรมการชดใช้ค่าเสียโอกาสในการนำภาพยนตร์เข้าฉายเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับจากพ.ศ. 2555 ในส่วนของค่าเสียหายที่เป็นต้นทุนการสร้างภาพยนตร์ทั้งหมดรวม 7.5 ล้านบาท ศาลปกครองสูงสุดให้ความเห็นว่าค่าเสียหายดังกล่าวถือเป็นต้นทุนที่ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องเสียอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แต่อย่างใด

นักแสดง

แก้
ต้นฉบับ ตัวละคร นักแสดง[17]
Macbeth, Thane of Glamis เมฆเด็ด / ท่านผู้นำ พิศาล พัฒนพีระเดช
Lady Macbeth คุณหญิงเมฆเด็ด ธาริณี เกรแฮม
Macduff, Thane of Fife เมฆดับ ชัชดนัย มุสิกไชย
Lady Macduff คุณหญิงเมฆดับ ภิสสรา อุมะวิชนี
Macduff's son ลูกสาวเมฆดับ น้ำอบ เสมสีสม
Banquo บางโค (เพื่อนเมฆเด็ด) ต่อตระกูล จันทิมา
Three Witches แม่มด ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร
Aaliyah S
ชมวรรณ วีระวรวิทย์
Hecate เจ้าแม่ ปิณิดา คงสิริ
Duncan (กษัตริย์สกอตแลนด์) ดังแคน นิวัติ กองเพียร
Malcolm มั่นคำ (ลูกชายดังแคน) น้ำมนต์ จ้อยรักษา
Donalbain ดอนเพ็ญ (ลูกชายดังแคน) พีร์ ภานุวัฒน์วนิชย์
Siward, Earl of Northumberland บุญรอด สกุล บุณยทัต
Fleance เปลี่ยน (ลูกชายบางโค) ปรัชญ์ภูมิ บุณยทัต
Seyton ศรีตาล (คนรับใช้เมฆเด็ด) ปิยทัต เหมทัต

อ้างอิง

แก้
  1. "Censors ban 'Shakespeare' film". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
  2. "Thailand Kills 'Shakespeare Must Die'". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  3. Tsui, Enid (30 October 2018). "Their horror film was banned as a national security threat, so this Thai couple opened their own cinema". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018.
  4. "Thailand Bans SHAKESPEARE MUST DIE, Fearing Societal "Disunity"". Twitch Film. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  5. "Thailand bans Macbeth film Shakespeare Must Die". The Guardian. London. Associated Press. 2012-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  6. Thoopkrajae, Veena (2012-04-10). "Are we really so scared of our own shadow?". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2012-04-11.
  7. 7.0 7.1 เชคสเปียร์ต้อง(ไม่)ตาย ! เก็บถาวร 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นันทขว้าง สิรสุนทร, 16 เมษายน 2555
  8. ทำไมต้องแบนหนัง "เชคสเปียร์ต้องตาย" (Shakespeare Must Die)..? ทั้งๆ ที่เป็น(เพียงแค่)..หนังผีทุนต่ำ
  9. คณะกรรมการเซ็นเซอร์สั่งแบน"เชคสเปียร์ต้องตาย" ติดเรท"ห้ามฉาย" เกรง"ก่อความขัดแย้งในชาติ" มติชน, 3 เมษายน พ.ศ. 2555
  10. "Thailand Bans SHAKESPEARE MUST DIE, Fearing Societal "Disunity"". Twitch Film. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  11. "Thailand bans Macbeth film Shakespeare Must Die". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  12. "Are we really so scared of our own shadow?". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2012-04-11.
  13. แบด 'แบน' รีเทิร์น สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เก็บถาวร 2012-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชุติมา ซุ้นเจริญ, อนันต์ ลือประดิษฐ์. กรุงเทพธุรกิจ, 10 เมษายน 2555
  14. กองเซ็นเซอร์สั่งแบน" เชคสเปียร์ต้องตาย "ใช้ภาพเหตุการณ์จริงสลายชุมนุมแดงปี53
  15. แบนต่อเนื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เหตุเนื้อหาสร้างความแตกแยก ประชาไท, 11 สิงหาคม 2560
  16. ทีมสร้างภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย ชนะคดีละเมิด ยกคำสั่งแบน และจะประกาศวันฉายให้ทราบอีกครั้ง สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์, 20 กุมภาพันธ์ 2567
  17. Cast & Crew

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้