อำเภอควนโดน
ควนโดน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล
อำเภอควนโดน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khuan Don |
คำขวัญ: สำเนียงโดดเด่น ร่มเย็นชลประทาน จำปาดะหอมหวาน อุทยานทะเลบัน ตลาดสัมพันธ์ชายแดน | |
แผนที่จังหวัดสตูล เน้นอำเภอควนโดน | |
พิกัด: 6°47′18″N 100°4′36″E / 6.78833°N 100.07667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สตูล |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 199.033 ตร.กม. (76.847 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 27,233 คน |
• ความหนาแน่น | 136.83 คน/ตร.กม. (354.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 91160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9102 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอควนโดน หมู่ที่ 1 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอควนโดนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสะเดา (จังหวัดสงขลา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐปะลิส (ประเทศมาเลเซีย) และอำเภอเมืองสตูล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสตูลและอำเภอท่าแพ
ประวัติ
แก้ควนโดน เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอดุสน มี 4 ตำบล คือ ตำบลดุสน ตำบลปันจอร์ ตำบลควนสตอ และตำบลกุบังปะโหลด ในปี พ.ศ. 2465 ยุบเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอมำบัง (อำเภอเมืองสตูล) ต่อมาปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยรวมตำบลดุสนกับตำบลปันจอร์ เรียกว่า “ตำบลควนโดน” และตำบลกุบังปะโหลดรวมกับควนสตอ เรียกกว่า “ตำบลควนสตอ”
จากการที่พื้นที่การปกครองของอำเภอเมืองสตูล มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรมาก เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกระทรวงมหาดไทย จึงแบ่งท้องที่อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอควนโดน” ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520[1] มีเขตการปกครองรวม 2 ตำบล คือ ตำบลควนโดน และตำบลควนสตอ ต่อมาได้แยกพื้นที่ตำบลควนโดน ตั้งเป็นตำบลย่านซื่อ อีก 1 ตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2522[2] จนกระทั่งถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 กิ่งอำเภอควนโดน จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ[3] และในปี พ.ศ. 2535 ได้แยกพื้นที่ตำบลควนสตอ ตั้งเป็นตำบลวังประจัน อีก 1 ตำบล[4] รวมพื้นที่การปกครองอำเภอเป็น 4 ตำบล
ควนโดน ประกอบไปด้วยคำสองคำคือ ควน กับ โดน คำว่า ควน ในภาษาใต้หมายถึง เนิน ภู เนินเขาเล็กๆ ส่วนคำว่า โดน มีที่มาจากดอกกระโดน หรือต้นกระโดน ดังนั้น ควนโดน จึงมีความหมายว่า เนินเขาที่มีต้นกระโดน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอควนโดนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[5] |
---|---|---|---|---|
1. | ควนโดน | Khuan Don | 9
|
9,766
|
2. | ควนสตอ | Khuan Sato | 10
|
9,212
|
3. | ย่านซื่อ | Yan Sue | 7
|
5,230
|
4. | วังประจัน | Wang Prachan | 4
|
3,187
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอควนโดนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลควนโดน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลควนโดน บางส่วนของตำบลควนสตอ และบางส่วนของตำบลย่านซื่อ
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนโดน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนสตอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังประจันทั้งตำบล
อุทยานแห่งชาติทางบก
แก้สถานศึกษา
แก้- โรงเรียนควนโดนวิทยา
- กศน.อำเภอควนโดน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้6°46′03″N 100°07′26″E / 6.76758°N 100.12390°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอควนโดน
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอควนโดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (11 ง): 487. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอควนโดน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (149 ง): 3016–3019. วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 103-107. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.