อำพล เสนาณรงค์
อำพล เสนาณรงค์ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2474) อดีตองคมนตรี[1] นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อำพล เสนาณรงค์ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน พ.ศ. 2537 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (22 ปี 88 วัน) | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2474 |
คู่สมรส | คุณหญิงชีวันต์ เสนาณรงค์ |
ชีวิตส่วนตัว
แก้อำพล เสนาณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่สองของ พลเอก หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์)[2]มีพี่ชายชื่อ แสวง เสนาณรงค์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่คณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทสาขาพืชกรรมที่ Mississippi State University และสาขาปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุศาสตร์ที่ University of Nebraska ตามลำดับ
หลังจบการศึกษา ได้ทำงานเป็นนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวกรรมการเกษตร และสมรสกับคุณหญิงชีวันต์ เสนาณรงค์ (ถึงแก่กรรม)
การทำงาน
แก้อำพล เสนาณรงค์ เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร[3] เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน[4] จากนั้นในปี พ.ศ. 2537 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[5]
อำพล เสนาณรงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และร่วมเป็นกรรมการในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอีกด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาเกษตรศาสตร์[10]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ เรื่อง ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายอำพล เสนาณรงค์)
- ↑ ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ เก็บถาวร 2017-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ฐานข้อมูลบูรพาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ อำพล เสนาณรงค์ แจงบทบาท องคมนตรี ยืนยันในหลวงไม่เคยละเมิด รัฐธรรมนูญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๙, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๔๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕