อาสนวิหารพนมเปญ

อาสนวิหารคริสตราชา พนมเปญ (ฝรั่งเศส: Cathédrale du Christ-Roi de Phnom Penh) หรือโดยย่อว่า อาสนวิหารพนมเปญ (เขมร: រាជធានីភ្នំពេញវិហារ) เป็นโบสถ์คริสต์ชนิดอาสนวิหารในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา อาสนวิหารแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุคที่กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยมีสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับอาสนวิหารแร็งส์ในประเทศฝรั่งเศส[1] อาสนวิหารถูกทำลายลงในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา

อาสนวิหารคริสตราชา พนมเปญ
อาสนวิหารพนมเปญ
แผนที่
11°34′31″N 104°55′01″E / 11.5752°N 104.917°E / 11.5752; 104.917
ที่ตั้งถนนพระมุนีวงศ์ เขตรึฮ์เซ็ยแกว พนมเปญ
ประเทศประเทศกัมพูชา
นิกายโรมันคาทอลิก
ประวัติ
สถานะอาสนวิหาร
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานถูกทำลาย
รูปแบบสถาปัตย์กอทิกแบบฝรั่งเศส
แล้วเสร็จพ.ศ. 2470
รื้อถอนเมื่อเมษายน พ.ศ. 2518
การปกครอง
มุขมณฑลเขตมิสซังพนมเปญ

ประวัติ แก้

 
วัดพนม แลเห็นอาสนวิหารพนมเปญและแม่น้ำโขง
 
ภายในอาสนวิหารพนมเปญ

อาสนวิหารคริสตราชา พนมเปญ น่าจะถูกสร้างในช่วงเวลาที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสช่วง พ.ศ. 2406[2] ตัวโบสถ์ตั้งอยู่ถนนพระมุนีวงศ์ เขตรึฮ์เซ็ยแกว ใจกลางกรุงพนมเปญ[3][4] ด้านหลังของอาสนวิหารใกล้ชายฝั่งแม่น้ำโขง[5] และอยู่ไม่ไกลจากวัดพนมมากนัก ในเขตของอาสนวิหารนี้ประกอบด้วยวังของมุขนายก[6] และหอสมุดประจำโบสถ์[7] เดอะนิวยอร์กไทมส์ ยกย่องอาสนวิหารพนมเปญว่าเป็น "มรดกทางสถาปัตยกรรมของฝรั่งเศส"[8]

อาสนวิหารพนมเปญแปรสภาพเป็นค่ายผู้ลี้ภัยรึฮ์เซ็ยแกวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 เพื่อรองรับผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามเหนือจำนวน 10,000 คน ที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม[5] ครั้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 เกิดสงครามกลางเมืองกัมพูชา มีการสู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐเขมรกับเขมรแดง ครั้งหนึ่งมีจรวดของเขมรแดงสองลูกตกที่หลังอาสนวิหาร แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[9] และถูกโจมตีด้วยจรวดอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2517 ซึ่งครั้งนี้ตัวอาสนวิหารได้รับความเสียหาย[10]

ที่สุดฝ่ายเขมรแดงกลายเป็นผู้ชนะสงครามกลางเมือง และเข้าครองกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 โดยเปลี่ยนประเทศเป็นรัฐอเทวนิยม[8] มีการประกาศว่าจะย้อนให้ประเทศกลับไปสู่ปีศูนย์[2] ต่อต้านและทำลายระบอบทุนนิยม[8] ศาสนา[11] หรือสิ่งที่ทำให้หวนคำนึงถึงการตกเป็นอาณานิคม[12] ด้วยเหตุนี้อาสนวิหารพนมเปญจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างแห่งแรกที่รัฐบาลเขมรแดงทำลายลง[13] ตัวอาคารถูกทำลายลงด้วยหิน[1][8] คงเหลือแต่ลานกว้าง ไม่เหลือร่องรอยของอาสนวิหารอยู่เลย[2][11] ป่าช้าคาทอลิกซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน ก็ถูกเปลี่ยนเป็นสวนกล้วย[14] ส่วนหนังสือในหอสมุดประจำโบสถ์ ถูกนำออกมาเผากลางสนามหญ้า[7] อาสนวิหารพนมเปญนี้ถือเป็นโบสถ์คริสต์หนึ่งในเจ็ดสิบสามแห่งจากทั่วประเทศ ที่ถูกเขมรแดงทำลายใน พ.ศ. 2518[11]

หลังเขมรแดงสิ้นอำนาจ มีการจัดงานคริสต์มาสขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 บนลานกว้างซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ตั้งอาสนวิหารพนมเปญ[15] ปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวแปรสภาพเป็นที่ตั้งของศาลากลางกรุงพนมเปญ[3]

สถาปัตยกรรม แก้

อาสนวิหารพนมเปญสร้างด้วยสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส[1][2] ผนังด้านนอกทาด้วยสีเหลืองสด[16] ก่อด้วยอิฐแดง[8] เหนือประตูเข้าอาสนวิหารมีรูปพระนางมารีย์พรหมจารี ทำจากหินทราย มีข้อความจารึกไว้ว่า "ราชินีแห่งความยุติธรรม ความรัก และสันติ"[17] สิ่งเดียวที่ยังหลงเหลือจากการทำลายอาสนวิหารของพวกเขมรแดงคือระฆังภายในอาสนวิหาร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Pilger, John (February 15, 2011). Tell Me No Lies: Investigative Journalism and its Triumphs. Random House. p. 129. ISBN 9781407085708. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Pilger, John (November 6, 1979). "Year Zero: horror haunts crippled Cambodia". The Ottawa Citizen. p. 7. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  3. 3.0 3.1 Osborne, Milton (September 4, 2008). Phnom Penh: A Cultural History. Oxford University Press. p. 24. ISBN 9780199711734. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  4. Edwards, Penny (2007). Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860–1945. University of Hawaii Press. p. 56. ISBN 9780824829230. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  5. 5.0 5.1 "Cambodian Viets Go Home, But They've Never Seen It". The Lewiston Daily Sun. July 31, 1970. p. 9. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  6. Igout, Michel (2001). Phnom Penh then and now. White Lotus. p. 67. ISBN 9789748495842. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  7. 7.0 7.1 Isaacs, Arnold R. (December 30, 1998). Without Honor: Defeat in Vietnam and Cambodia. JHU Press. p. 288. ISBN 9780801861079. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Shenon, Philip (June 25, 1995). "Phnom Penh's Faded Beauty". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  9. "Phnom Penh Under Attack by Infiltrators". Merced Sun-Star. Associated Press. October 6, 1972. p. 12. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.[ลิงก์เสีย]
  10. Esper, George (January 21, 1974). "South Vietnamese Concede Military Victory To China". The Robesonian. Lumberton. Associated Press. p. 2. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  11. 11.0 11.1 11.2 Thomas, Sarah J. "Prosecuting the Crime of Destruction of Cultural Property" (PDF). GenocideWatch.org. Genocide Watch. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012. Following its seizure of power in April 1975, the Khmer Rouge regime proclaimed a return to “Year Zero” and set about demolishing links to the past, to the outside world and to religion. The...regime attacked Christian places of worship, even disassembling the Catholic cathedral of Phnom Penh stone by stone until only a vacant lot remained. The Khmer Rouge destroyed all 73 Catholic churches in existence in 1975.
  12. 12.0 12.1 Osborne, Milton E. (2008). Phnom Penh: A Cultural and Literary History. Signal Books. pp. 149–151. ISBN 9781904955405. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  13. "The Right Rev Michael Evans – Roman Catholic Bishop of East Anglia who furthered the cause of ecumenism and helped to rebuild the persecuted Church in Cambodia". The Times. London. August 2, 2011. p. 48. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012. (ต้องรับบริการ)
  14. Jones, Christopher (November 14, 1980). "Phnom Penh down, but on way back". The Vancouver Sun. p. 6. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  15. "Christmas spirit in Phnom Penh". The Sydney Morning Herald. Australian Associated Press. December 27, 1979. p. 4. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.
  16. "The road to Phnom Penh: Old Cambodia has almost vanished". The Daily News. Middlesboro. March 27, 1982. p. 8. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.
  17. Elegant, Robert S. (July 16, 1970). "Cambodians Fight, Back to the Wall". The Victoria Advocate. p. 4A. สืบค้นเมื่อ December 6, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้