สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (อังกฤษ: French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260

ลำดับสมัยของสถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส

แก้

สมัยของสถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น:

  • สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น (Early Gothic)
  • สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง (High Gothic)
  • สถาปัตยกรรมแรยอน็อง (Rayonnant)
  • สถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลาย หรือ สถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร (Late Gothic หรือ Flamboyant)

การแบ่งนี้เป็นการแบ่งที่ได้ผลแต่ก็ยังมีบางกรณีที่ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกมักจะใช้เวลานานที่อาจจะคาบลักษณะสถาปัตยกรรมหลายสมัย และผู้ก่อสร้างก็มักจะมิได้ทำตามความประสงค์ของแผนงานที่วางไว้ในสมัยก่อนหน้านั้น ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมในสิ่งก่อสร้างหนึ่งจึงอาจจะแปรเปลี่ยนไปตามสมัยและอัธยาศัยของผู้สร้าง ฉะนั้นจึงยากที่จะกำหนดสิ่งก่อสร้างว่าเป็นลักษณะแท้ของสถาปัตยกรรมสมัยใดสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก ฉะนั้นการระบุสมัยจึงมีประโยชน์ต่อการระบุส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างมากกว่าที่จะระบุทั้งโครงสร้างโดยรวม

สถาปัตยกรรมแบบกอทิก

แก้

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น

แก้
 
ทางเดินกลางที่มีผนังข้างสี่ชั้นที่ประกอบด้วย หน้าต่างชั้นบน และ ระเบียงแนบ ใต้ เพดานโค้งแหลมหกแฉก

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้นเริ่มต้นขึ้นราว ค.ศ. 1140 ที่มีลักษณะเด่นคือการใช้โค้งแหลม และ การวิวัฒนาการจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ตอนปลาย สถาปนิกสร้างผนังให้สูงขึ้นโดยการแบ่งออกเป็นสี่ระดับชั้น: ชั้นซุ้มโค้งและเสา (Arcade), แกลอรี (Gallery), ระเบียงแนบ (Triforium), และช่องรับแสง (Clerestory) ตามลำดับ ส่วนการรับน้ำหนักของผนังและกำแพงก็ใช้การค้ำยันแบบใหม่ที่เรียกว่าครีบยันแบบปีกนกซึ่งมีวิวัฒนาการถึงจุดสูงสุดในสมัยสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เพดานโค้งที่ใช้เป็นแบบเพดานโค้งแหลมหกแฉก (Sexpartite vault) ที่มีสันแยกออกจากศูนย์กลางหกสัน

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง

แก้

ลักษณะของสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 วางรากฐานของความมีสัดส่วนและรูปทรงของสถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น และวิวัฒนาการต่อไปเพื่อให้สิ่งก่อสร้างมีลักษณะเบาขึ้นและ สูงสง่าขึ้น โครงสร้างของกำแพงก็ลดจากสี่ชั้นมาเป็นสามชั้น: ชั้นซุ้มโค้งและเสา, หน้าต่างชั้นบน และระเบียงแนบ หัวเสาที่ใช้ก็เล็กลงเพื่อไม่ให้กีดขวางทัศนะเมื่อมองสูงขึ้นไปบนตัวอาคาร หน้าต่างชั้นบนเปลี่ยนจากบานเดียว หรือ ช่องบนกำแพง เป็นสองบานที่เชื่อมต่อกันด้วยหน้าต่างกุหลาบ เพดานโค้งสันลดจากหกแฉกเป็นสี่แฉก การใช้ครีบยันแบบปีกนกก็วิวัฒนาการดีขึ้นจนถึงจุดสูงสุด และ หลังจากที่ใช้กับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์แล้ว การใช้ครีบยันที่ว่านี้ก็กลายเป็นบัญญัติของการค้ำยันผนังหรือกำแพงที่สูง เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยรับน้ำหนักขณะที่เป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเพื่อความสวยงามด้วยในขณะเดียวกัน

สิ่งก่อสร้างที่เด่นๆ

แก้
 
มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งคูทองซ์

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนต้น

แก้

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง

แก้

สถาปัตยกรรมแรยอน็อง

แก้

สถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลาย

แก้

นอกไปจากลักษณะแบบกอทิกดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมกอทิกเมรีดียอนาล (Gothique Méridional) หรือสถาปัตยกรรมกอทิกตอนใต้ ที่ตรงข้ามกับสถาปัตยกรรมกอทิกตอนเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิกแซ็ปต็องทรียอนาล (Gothique Septentrional) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนี้จะมีลักษณะเด่นคือ ทางเดินกลางที่กว้าง และไม่มีแขนกางเขน ตัวอย่างที่สำคัญได้แก่

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารในฝรั่งเศส