โชคัง
วัดโชคัง (ทิเบต: ཇོ་ཁང་, ไวลี: jo khang, พินอินทิเบต: qo kang) หรือ จุกลักคัง (ทิเบต: གཙུག་ལག་ཁང༌།, ไวลี: gtsug-lag-khang, พินอินทิเบต: Zuglagkang หรือ Tsuklakang) หรือในภาษาจีนเรียก ต้าเจาซื่อ (大昭寺, dà zhāo sì)เป็นวัดพุทธในลาซ่า ทิเบต ชาวทิเบตโดยทั่วไปเคารพบูชาวัดนี้ในฐานะวัดที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของทิเบต ปัจจุบันวัดโชคังอยู่ในนิกายเกลุก แต่ก็เปิดรับพุทธศาสนิกชนจากทุกนิกาย สถาปัตยกรรมของวัดผสมผสานวิหารอย่างอินเดีย, ทิเบต และเนปาล
โชคัง | |
---|---|
วัดโชคัง | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
นิกาย | เกลุก |
เทพ | พระศากยมุนีพุทธเจ้า |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | พาร์โกร์ ลาซ่า ทิเบต |
ประเทศ | จีน |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | วิหาร, ทิเบต, เนปาล |
ผู้ก่อตั้ง | ซงแจ็นกัมโป |
เริ่มก่อตั้ง | 7th century |
ชื่อทางการ | วัดอารามโชคัง |
บางส่วน | กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซ่า |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (i), (iv), (vi) |
อ้างอิง | 707ter-002 |
ขึ้นทะเบียน | 1994 (สมัยที่ 18th) |
เพิ่มเติม | 2000, 2001 |
พื้นที่ | 7.5 ha (810,000 sq ft) |
พื้นที่กันชน | 130 ha (14,000,000 sq ft) |
พิกัด | 29°39′11″N 91°2′51″E / 29.65306°N 91.04750°E |
วัดนี้ถือเป็น "หัวใจทางจิตวิญญาณของนครลาซ่า" และเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความเคารพสูงสุดในทิเบต[1][2][3] ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของเครือข่ายวัดพุทธโบราณในลาซ่า รวมถึงเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมการค้าในลาซ่า โดยรอบของวัดเต็มไปด้วยถนนและซอกซอยที่มีร้านค้ามากมาย[2] โชคังตั้งอยู่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ทางตะวันออกของพระราชวังโปตาลา[4] โดยรอบของวัดเป็นจัตุรัสตลาดพาร์โกร์ ซึ่งมีทางเดินเท้าให้แก่ศาสนิกชนได้เดินจาริกรอบอาณาเขตของวัดซึ่งใช้เวลาเดินรอบราว 20 นาที[5]
ประวัติศาสตร์
แก้ชาวทิเบตมองดินแดนของตนว่าถูกครอบครองโดยสิ่งมีชีวิตนามว่า srin ma (หรือ "sinma") ซึ่งเป็นปีศาจสตรีที่ต้านทานการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา กษัตริย์ซงแจ็นกัมโปปฐมกษัตริย์แห่งทิเบตหลังรวมแผ่นดิน[6] ได้ริเริ่มแผนเพื่อต้านกับพลังของปีศาจนี้โดยสร้างวัดจำนวนสิบสองแห่งทั่วดินแดนทิเบต โดยจะสร้างขึ้นในสามช่วง ช่วงแรกประกอบด้วยสี่วัดในใจกลางของทิเบต เรียกว่า "เขาสัตว์ทั้งสี่" (ru bzhi) สี่วัดต่อมาจะสร้างในพื้นที่ท่อยู่ห่างนอกออกไปอีก (mtha'dul) และสี่วัดสุดท้าย yang'dul สร้างอยู่ที่พรมแดนของทิเบต และโชคังสร้างขึ้นท้ายสุดเพื่อเป็นศูนย์กลางของ srin ma ถือเป็นการจบพลังของปีศาจตนนี้[7]
ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดสร้างขึ้นในปี 652 โดยซงแจ็นกัมโป กษัตริย์องค์นี้ได้ร่อนหมวก (บ้างว่าเป็นแหวน) ออกไปเพื่อหาสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัด[8] หมวกนั้นหล่นลงในทะเลสาบหนึ่ง และทันใดนั้นก็มีสถูปผุดขึ้นมาจากทะเลสาบ[9] วัดโชคังจึ้งสร้างขึ้นตรงที่นี้ ในตำนานอีกรูปแบบหนึ่งเล่าว่าราชินี Bhrikuti สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อประดิษฐานเทวรูปที่ได้นำมา และราชินี Wencheng ได้เลือกที่ตรงนี้ตามหลักฮวงจุ้ยของจีน[6] ทะเลสาบที่ว่านั้นถูกถมขึ้นมาและสร้างวัดขึ้นบนที่ที่ถมขึ้นมานั้น ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นเพียงบ่อน้ำเล็ก ๆ ตลอดเก้าศตวรรษถัดมา วัดมีการขยับขยายออกเรื่อยมา ครั้งสุดท้ายคือในปี 1610 โดยองค์ทาไลลามะที่ห้า[9]
สมัยที่จีนเข้ายึดครองทิเบตและเข้ามาทำการพัฒนาพื้นที่ลาซ่า รัฐบาลจีนได้ทำลายทางเดินรอบวัดที่เชื่อมกับลานจัตุรัสด้านหน้าทิ้ง ทางเดินภายมนถูกแปลงเป็นตลาดนัด เหลือทางเดินให้แก่ผู้มาจาริกแสวงบุญเพียงเล็กน้อย ส่วนศาสนวัตถุต่าง ๆ ในจัตุรัสหน้าวัดถูกนำไปขายทิ้ง[9] ต่อมาในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม ยุวชนแดงได้เข้าโจมตีวัดโชคังในปี 1966 เริ่มต้นในวันที่ 24 สิงหาคม[10][11] และนับจากนั้นเป็นเวลาร่วมทศวรรษ ไม่มีการประกอบศาสนกิจภายในโชคังและพุทธารามทิเบตใด ๆ อีก โชคังเริ่มถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งในปี 1972 แล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ในปี 1980 หลังจากนั้นวัดได้กลับมาประกอบศาสนกิจดังเดิม ปัจจุบันวัดเป็นศาสนสถานสำคัญของทิเบต ผู้คนมากมายเดินทางมาเพื่อสักการะเทวรูปของโชโพรินโปเช ภายในวิหารด้านในสุดของวัด[12] ในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้น วัดโชคังรอดพ้นจากการถูกทำลายล้าง และมีบันทึกไว้ว่าวัดถูกล้อมปิดไม่ให้ใครเข้าจนถึงปี 1979[9] ในระหว่างนั้น มีบันทึกว่าภายในวัดโชคังบางส่วนถูกใช้งานเป็นโรงเลี้ยงหมู โรงฆ่าหมู และเป็นที่ตั้งของกองทัพจีน วรรณกรรมทิเบตภายในวัดถูกทหารเผาทิ้ง และในช่วงเวลาหนึ่ง วัดโชคังเคยถูกใช้เป็นโรงแรม[13]
ในปี 2000 โชคังได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ในฐานะส่วนต่อขยายของพระราชวังโปตาลา ซึ่งขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994[14][15]
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2018 เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณวัดที่เวลา 18:40 ตามเวลาท้องถิ่น มีภาพถ่ายและวิดีโอจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่ไปบนสื่อสังคมของจีน แสดงให้เห็นหลังคาโค้งถูกเพลิงขนาดใหญ่โหมไหม้ และมีควันพวยพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก แต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกปิดกั้นการมองเห็นและหายไปจากสื่อสังคมของจีน สำนักข่าวทางการของรัฐจีน Tibet Daily อ้างทางออนไลน์ว่าเพลิงไหม้ "ถูกดับอย่างรวดเร็ว" และ "ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต" ตามด้วย People's Daily ตีพิมพ์เนื้อหาเดียวกันนี้ออนไลน์และรายงานเพิ่มเติมว่า "พุทธศาสนวัตถุภายในวัดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ" กระนั้น รายงานทั้งสองชุดนี้ไม่มีภาพประกอบ[16] วัดถูกปิดไม่ให้เข้าชมชั่วคราว ก่อนจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ตามข้อมูลของสำนักข่าวซินหัว[17] อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าจีวรสีเหลืองของเทวรูปโชโพรินโปเช พระองค์หลักของวัด เป็นผ้าชิ้นใหม่ รวมถึงคำสั่งห้ามมิให้ขึ้นไปชั้นสองของวัด ตามแหล่งข้อมูลของ Radio Free Asia ภาคภาษาทิเบต[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ Mayhew, Kelly & Bellezza 2008, p. 96.
- ↑ 2.0 2.1 Dorje 2010, p. 160.
- ↑ Klimczuk & Warner2009, p. 34.
- ↑ An 2003, p. 69.
- ↑ McCue 2011, p. 67.
- ↑ 6.0 6.1 "Jokhang Temple, Lhasa". sacred-destinations.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ Powers 2007, p. 233.
- ↑ Brockman 2011, p. 263.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Davidson & Gitlitz 2002, p. 339.
- ↑ "Tibet and the Cultural Revolution". Séagh Kehoe. 30 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 August 2022.
- ↑ Woeser (8 August 2017). "My Conversation with Dawa, a Lhasa Red Guard Who Took Part in the Smashing of the Jokhang Temple". High Peaks Pure Earth. สืบค้นเมื่อ 30 August 2022.
- ↑ Laird 2007, p. 39.
- ↑ Buckley 2012, p. 142.
- ↑ Buckley 2012, p. 143.
- ↑ "China destroys the ancient Buddhist symbols of Lhasa City in Tibet". Tibet Post. 9 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-22. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Buckley, Chris (17 February 2018). "Fire Strikes Hallowed Site in Tibet, the Jokhang Temple in Lhasa". The New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
- ↑ "Fire-hit Jokhang temple streets reopen after blaze at Tibet holy site". AFP. 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
- ↑ Finney, Richard (2018-02-20). "Tibet's Jokhang Temple Closes For Three Days, Raising Concerns Over Damage". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
บรรณานุกรม
แก้- An, Caidan (2003). Tibet China: Travel Guide. 五洲传播出版社. ISBN 978-7-5085-0374-5.
- Barnett, Robert (2010). Lhasa: Streets with Memories. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-13681-5.
- Barron, Richard (10 February 2003). The Autobiography of Jamgon Kongtrul: A Gem of Many Colors. Snow Lion Publications. ISBN 978-1-55939-970-8.
- Brockman, Norbert C. (13 September 2011). Encyclopedia of Sacred Places. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-655-3.
- Buckley, Michael (2012). Tibet. Bradt Travel Guides. ISBN 978-1-84162-382-5.
- Dalton, Robert H. (2004). Sacred Places of the World: A Religious Journey Across the Globe. Abhishek. ISBN 978-81-8247-051-4.
- Davidson, Linda Kay; Gitlitz, David Martin (2002). Pilgrimage: From the Ganges to Graceland : an Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-004-8.
- Dorje, Gyurme (2010). Jokhang: Tibet's Most Sacred Buddhist Temple. Edition Hansjorg Mayer. ISBN 978-5-00-097692-0.
- Huber, Toni (15 September 2008). The Holy Land Reborn: Pilgrimage and the Tibetan Reinvention of Buddhist India. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-35650-1.
- Jabb, Lama (10 June 2015). Oral and Literary Continuities in Modern Tibetan Literature: The Inescapable Nation. Lexington Books. ISBN 978-1-4985-0334-1.
- Klimczuk, Stephen; Warner, Gerald (2009). Secret Places, Hidden Sanctuaries: Uncovering Mysterious Sites, Symbols, and Societies. Sterling Publishing Company, Inc. ISBN 978-1-4027-6207-9.
- Laird, Thomas (10 October 2007). The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama. Grove Press. ISBN 978-0-8021-4327-3.
- Mayhew, Bradley; Kelly, Robert; Bellezza, John Vincent (2008). Tibet. Ediz. Inglese. Lonely Planet. ISBN 978-1-74104-569-7.
- McCue, Gary (1 March 2011). Trekking Tibet. The Mountaineers Books. ISBN 978-1-59485-411-8.
- Perkins, Dorothy (19 November 2013). Encyclopedia of China: History and Culture. Taylor & Francis. ISBN 978-1-135-93569-6.
- Powers, John (25 December 2007). Introduction to Tibetan Buddhism. Snow Lion Publications. ISBN 978-1-55939-835-0.
- Representatives, Australia. Parliament. House of (1994). Parliamentary Debates Australia: House of Representatives. Commonwealth Government Printer.
- Service, United States. Foreign Broadcast Information (1983). Daily Report: People's Republic of China. National Technical Information Service.
- von Schroeder, Ulrich. 2001. Buddhist Sculptures in Tibet. Vol. One: India & Nepal; Vol. Two: Tibet & China. (Volume One: 655 pages with 766 illustrations; Volume Two: 675 pages with 987 illustrations). Hong Kong: Visual Dharma Publications, Ltd. ISBN 962-7049-07-7
- von Schroeder, Ulrich. 2008. 108 Buddhist Statues in Tibet. (212 p., 112 colour illustrations) (DVD with 527 digital photographs mostly of Jokhang Bronzes). Chicago: Serindia Publications. ISBN 962-7049-08-5