โชโพรินโปเช
โชโพศากยมุนี (อักษรโรมัน: Jowo Shakyamuni) หรือ โชโพรินโปเช (ทิเบต: ཇོ་བོ་རིན་པོ་ཆེ།, ไวลี: jo bo rin po che, พินอินทิเบต: qo po rin bo qê) เป็นพุทธประติมาขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 ประดิษฐานอยู่ภายในอารามโชคัง ลาซ่า ทิเบต โชโพรินโปเช และพุทธประติมาอีกองค์ คือ โชโพมีเกยอโตเจ (ทิเบต: ཀརྨ་པ་མི་བསྐྱོད་རྡོ་རྗེ་, พินอินทิเบต: qo po mi gyö do jê, Jowo Mikyö Dorje) ในวัดราโมเช เป็นสองพระพุทธรูปที่เป็นที่สักการะสูงสุดในทิเบต
ประวัติศาสตร์
แก้ตามตำนานของทิเบตว่ากันว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าทนงดำริให้เทวประติมากรสร้างรูปเหมือนของพระองค์เพื่อนำมาประดิษฐานในดินแดนทิเบต พุทธประติมาองค์นี้ต่อมาเป็นสมบัติของกษัตริย์แห่งมคธ ผู้มอบต่อให้กับจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง ลูกสาวของคนใกล้ชิดจักรพรรดิคนหนึ่ง เจ้าหญิงเหวินเฉิง[1] ได้อัญเชิญพระรูปไประดิษฐานที่ลาซ่าในฐานะสินสอดแก่กษัตริย์ทิเบตองค์ที่ 33 พระเจ้าซงแจ็นกัมโป[2] ในรัชสมัยของ พระเจ้ามังซงมังแจ็น (649-676) ภายใต้คำขู่ว่าชาวจีนจากราชวงศ์ถังอาจจะรุกรานและขโมยพระรูปนี้ไป เจ้าหญิงเหวินเฉิงได้นำเอาพระรูปโชโพนี้ไปซ่อนในห้องลับใน Tsuglakhang ในอารามราโมเช ต่อมา เจ้าหญิงอีกนางจากจีนจึงได้นำพระรูปกลับขึ้นมา และประดิษฐานไว้ที่อารามโชคังในช่วงหลังปี 710 เป็นต้นมา ที่อารามราโมเชได้มีการอัญเชิญพุทธประติมานามว่าโชโพมีเกยอโตเจ สร้างจากทองสัมฤทธิ์ ว่ากันว่าเป็นพระรูปแสดงพระพุทธเจ้าขณะพระชนมายุ 8 พรรษา และสร้างขึ้นโดยพระวิศวกรรม และอัญเชิญมายังลาซ่าโดยเจ้าหญิง Bhrikuti แห่งเนปาล พระรูปโชโพมิกเยอดอร์เจถูกทำลายเสียหายอย่างหนักโดยยุวชนแดงในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม[3] อย่างไรก็ตาม ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ราวทศวรรษที่ 60 วิหารราโมเชถูกไฟเผลาผลาญ เสียหายไปส่วนหนึ่ง ขณะที่พระพุทธปฏิมาสูญหายไป กระทั่งในปี 1983 มีผู้พบส่วนครึ่งล่างขององค์พระอีกครั้ง กล่าวกันว่าถูกทิ้งไว้ในกองขยะแห่งหนึ่งในกรุงลาซ่า และต่อมาพบครึ่งองค์ส่วนบนที่กรุงปักกิ่ง จึงนำกลับมาซ่อมแซมในปี 1986 แต่ฝีมือซ่อมไม่ละเอียดนัก จึงยังเห็นร่องรอยของความเสียหายอยู่ จนกระทั่งถึงปี 1993 ปัจจุบัน โจโว รินโปเช ได้รับการซ่อมแซมจนงดงามเกือบดังเดิม [4] [5]
ในช่วงศตวรรษที่ 14 จงคาปา ผู้ก่อตั้งนิกายเกลุก หรือนิกายหมวกเหลืองของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานแบบทิเบต ได้ถวายเครื่องทรงสัมโภคกายแก่พระพุทธปฏิมา ซึ่งแต่ก่อนทรงจีวรธรรมดา ในภาคนิรมานกาย ทั้งนี้ สัมโภคกาย คือ กายละเอียดเป็นทิพย์ภาวะสูงสุดอันดับ 2 รองจากธรรมกาย ตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน/วัรยาน พระพุทธรูปที่ปรากฏพระองค์ในภาคนี้ มักทรงเครื่องทรงอย่างวิจิตรงดงาม ส่วนภาคนิรมานกาย คือภาคที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตรพระกายเป็นมนุษย์สามัญ มีเกิด แก่ เจ็บ ตายไปตามอนิจลักษณ์ [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Warner, Cameron David. 2011. "A Miscarriage of History : Wencheng Gongzhu and Sino-Tibetan Historiography." Inner Asia 13 (2): 239-264.
- ↑ Warner, Cameron David. 2008. "The Precious Lord: The History and Practice of the Cult of the Jowo Śākyamuni in Lhasa, Tibet." Ph.D. Dissertation, Department of Sanskrit and Indian Studies, Harvard University.
- ↑ Tibet (6th edition), p. 104. (2005) Bradley Mayhew and Michael Kohn. Lonely Planet. ISBN 1-74059-523-8.
- ↑ Dorje, Gyume (1999), p. 92.
- ↑ ibet (6th edition), p. 104.
- ↑ History of the Jowo Rinpoche จาก http://jokhang.org/history.html เก็บถาวร 2013-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
แก้- Dorje, Gyume (1999), p. 92. Footprint Tibet Handbook with Bhutan. Footprint Handbooks, Bath, England. ISBN 0-8442-2190-2.
- Tibet (6th edition), p. 104. (2005) Bradley Mayhew and Michael Kohn. Lonely Planet. ISBN 1-74059-523-8.
- History of the Jowo Rinpoche จาก http://jokhang.org/history.html เก็บถาวร 2013-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน