นิกายอะยี (พม่า: အရည်းဂိုဏ်း, ออกเสียง: [əjí ɡáɪ̯ɰ̃]) หรือ ศาสนาพุทธแบบอะยี (อังกฤษ: Ari Buddhism) เป็นนิกายหนึ่งที่เคยปฏิบัติในประเทศพม่าก่อนที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะทรงปฏิรูปศาสนาพุทธในพุกามเป็นพุทธนิกายเถรวาท ช่วงศตวรรษที่ 11

ประวัติ

แก้

นิกายอะยีเกิดขึ้นช่วงศตวรรษที่ 7 จากการติดต่อค้าขายกับอินเดียหรือทิเบต[1] วัตรปฏิบัติส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับลัทธิตันตระ มีการบูชานะ การนับถือนาค การใช้เวทมนตร์ และรับอิทธิพลศาสนาฮินดูอย่างสูง[2] นักบวชครองจีวรสีน้ำตาลเข้มและสวมหมวกทรงกรวย และจะทำหน้าที่เป็นแม่งานในการบูชานะด้วยการบูชายันต์สัตว์นับร้อย[3]

นักวิชาการบางคนอ้างว่านิกายอะยีมีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธในอาณาจักรน่านเจ้าและต้าหลี่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ขณะที่นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เป็นต้นว่าต้านทู่น (Than Tun) อธิบายว่านิกายอะยีคือพระอรัญวาสีที่มีวัตรปฏิบัติต่างจากภิกษุนิกายเถรวาทโดยเฉพาะด้านวินัยสงฆ์ ที่นักบวชนิกายอะยีสามารถฉันน้ำจัณฑ์ เสพสังวาส และฉันหลังเที่ยงได้ ซึ่งในรัชกาลพระเจ้าอโนรธาทรงปฏิรูปพระศาสนาให้นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตามคำแนะนำของภิกษุมอญนามว่าพระชินอรหันต์ (Shin Arahan) กอรปกับทรงไม่พอพระทัยที่นักบวชอะยีประพฤติตนไม่เหมาะควรให้เลื่อมใส[4] กระนั้นพระเจ้าอโนรธาก็ยังสนับสนุนการนับถือนิกายมหายานดังเดิม ดังปรากฏในเหรียญเงินประจำรัชกาลที่ใช้ภาษาสันสกฤตมากกว่าบาลี[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Cœdès, George (1966). The making of South East Asia. University of California Press. p. 113. ISBN 978-0-520-05061-7. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  2. "ประวัติพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยเป็นมาอย่างไร". วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Maung Htin Aung (กุมภาพันธ์ 2501). "Folk-Elements in Burmese Buddhism". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Victor B Lieberman (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. pp. 115–116. ISBN 978-0-521-80496-7.
  5. Buswell, Robert E. Jr., บ.ก. (2013). Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 43. ISBN 978-0691157863.