อวัยวะเพศ (อังกฤษ: sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (อังกฤษ: reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics)

อวัยวะเพศของสาหร่ายไฟ แสดง antheridia เพศผู้ (สีแดง) และ archegonia เพศเมีย (สีน้ำตาล)

มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte)[1] ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule)[2] พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยวะเพศ

คำศัพท์

แก้

ศัพท์ภาษาละตินคำว่า genitalia หรือ genitals ในภาษาอังกฤษถูกใช้บรรยายอวัยวะเพศที่มองเห็นได้จากภายนอกหรือ อวัยวะเพศปฐมภูมิ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหมายถึงองคชาตกับถุงอัณฑะของเพศชาย และคลิตอริสกับโยนีของเพศหญิง

อวัยวะเพศอื่นที่ซ่อนอยู่ถูกเรียกว่า อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน อวัยวะที่สำคัญที่สุดได้แก่ต่อมบ่งเพศ โดยเฉพาะอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง ต่อมบ่งบอกเพศเป็นอวัยวะเพศที่แท้จริงซึ่งผลิตเซลล์สืบพันธุ์บรรจุดีเอ็นเอที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม อวัยวะเหลานี้ยังผลิตฮอร์โมนหลักส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเพศ และควบคุมอวัยวะเพศและพฤติกรรมทางเพศอื่น

ในสัตววิทยาทั่วไป ด้วยความหลากหลาบของรูปร่างหน้าตาอวัยวะและพฤติกรรมการร่วมเพศ อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ถูกให้ความหมายว่าเป็น "โครงสร้างเพศผู้ที่ถูกสอดใส่เข้าไปในเพศเมียหรือถูกค้างไว้ใกล้รูเปิด (gonopore) ระหว่างการถ่ายทอดน้ำอสุจิ" ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์เมียถูกให้ความหมายว่า "ส่วนของระบบสืบพันธุ์เพศเมียที่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้โดยตรงหรือสัมผัสกับผลผลิตเพศชาย (น้ำอสุจิ, ถุงน้ำเชื้อ) ระหว่างหรือหลังการร่วมเพศ"[3]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

แก้

อวัยวะภายนอกและภายใน

แก้

ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเห็นได้จากภายนอกได้แก่ ถุงอัณฑะและองคชาต สำหรับผู้หญิง ได้แก่ โยนี (แคม, คลิตอริส และอื่น ๆ) รวมถึง ช่องคลอด

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก เพศเมียมีรูเปิดของอวัยวะสืบพันธุ์สองรู (ช่องคลอดและท่อปัสสาวะ) ส่วนเพศผู้มีเพียงแค่รูเดียวคือท่อปัสสาวะ[4] อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเมียมีปลายประสาทจำนวนมากส่งผลให้รู้สึกดีเมื่อถูกสัมผัส[5][6] ในสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ถือคติอนุรักษนิยม มองการแสดงอวัยวะเพศว่าเป็นการแสดงลามกอนาจาร[7]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีอวัยวะเพศดังนี้:

เพศชาย เพศหญิง
 
รูปอวัยวะเพศชายภายนอก
 
รูปอวัยวะเพศหญิงภายนอก (หลังโกนขนหัวหน่าว)

พัฒนาการ

แก้

ในพัฒนาการก่อนเกิด (prenatal development) ทั่วไป อวัยวะเพศชายและหญิงมาจากโครงสร้างเดียวกันระหว่างช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ต่อมาจึงค่อยแยกเป็นเพศชายหรือหญิง ยีน SRY (sex-determining region) หรือจุดบอกเพศในโครโมโซมวายเป็นปัจจัยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตแสดงลักษณะทางเพศชายแทนที่จะเป็นเพศหญิง (testis determing factor) ต่อมบ่งเพศจะพัฒนาต่อไปเป็นรังไข่หากไม่มีปัจจัยกำหนดให้เปลี่ยนเป็นเพศชาย

ต่อมาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ภายในและภายนอกกำหนดโดยฮอร์โมนสร้างจากต่อมบ่งเพศของทารกในครรภ์ (รังไข่หรืออัณฑะ) ส่งผลให้เซลล์ตอบสนองตาม อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ตอนแรกมีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศหญิง โดยมี "รอยพับอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital fold)" คู่หนึ่งและท่อปัสสาวะอยู่ด้านหลังส่วนที่ยื่นออกมาตรงกลาง หากทารกมีอัณฑะ และหากอัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และหากเซลล์ของอวัยวะเพศตอบรับต่อเทสโทสเตอโรน รอยพับจะขยายตัวและเชื่อมต่อกันในเส้นผ่ากลางกลายเป็นถุงอัณฑะ ส่วนที่ยื่นออกมาขยายใหญ่ข้นและตั้งตรงกลายเป็นองคชาต ส่วนขยายอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะด้านในโตขึ้นห่อรอบองคชาต และเชื่อมต่อกันตรงเส้นกลางเป็นท่อปัสสาวะ

แต่ละส่วนของอวัยวะเพศในเพศหนึ่งมีคู่เหมือนกำเนิดเดียวกันในอีกเพศ ขั้นตอนทั้งหมดของการแยกเพศรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ เช่น รูปแบบของขนหัวหน่าวและขนบนใบหน้า รวมถึงหน้าอกของผู้หญิงในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังเริ่มมีความแตกต่างในโครงสร้างสมอง ทว่าอาจไม่ได้กำหนดพฤติกรรม

ภาวะเพศกำกวมเป็นพัฒนาการของอวัยวะเพศที่อยู่ระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เมื่อทารกเกิดมา ผู้ปกครองต้องทำการตัดสินใจว่าจะปรับแต่งอวัยวะเพศหรือไม่, จัดให้เด็กเป็นเพศหญิงหรือชาย หรือปล่อยอวัยวะเพศไว้อย่างนั้น ผู้ปกครองบางคนอาจให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจ หากพวกเขาตัดสินใจที่จะปรับแต่งอวัยวะเพศ พวกเขามีโอกาส 50% ที่จะเลือกตรงกับเอกลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ของเด็ก หากพวกเขาเลือกผิดเพศ เด็กอาจแสดงอาการอยากแปลงเพศ และอาจทำให้เด็กมีชีวิตที่ยากลำบากจนกว่าจะแก้ปัญหา[8]

ด้วยความแตกต่างระหว่างโครงสร้างและการใช้งานของอวัยวะเพศทำให้เป็นระบบอวัยวะที่พัฒนาเร็วกว่าระบบอื่น[9] ดังนั้นในสัตว์ต่าง ๆ จึงมีรูปแบบและการใช้งานของอวัยวะเพศที่หลากหลาย

อ้างอิง

แก้
  1. "Mosses and Ferns". Biology.clc.uc.edu. 16 มีนาคม 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2012.
  2. "Flowering Plant Reproduction". Emc.maricopa.edu. 2010-05-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
  3. Eberhard, W.G., 1985. Sexual Selection and Animal Genitalia. Harvard University Press
  4. Marvalee H. Wake (15 September 1992). Hyman's Comparative Vertebrate Anatomy. University of Chicago Press. p. 583. ISBN 978-0-226-87013-7. สืบค้นเมื่อ 6 May 2013.
  5. Sexual Intimacy in Marriage William Cutrer
  6. Daphne's Dance: True Tales in the Evolution of Woman's Sexual Awareness Brigitta Olsen
  7. Unpopular Privacy: What Must We Hide? retrieved 9 February 2012
  8. Fausto Sterling, Anne (2000). Sexing The Body. New York: New York. pp. 44–77.
  9. Schilthuizen, M. 2014. Nature's Nether Regions: What the Sex Lives of Bugs, Birds, and Beasts Tell Us About Evolution, Biodiversity, and Ourselves. Penguin USA

อ่านเพิ่ม

แก้