อรรชกา สีบุญเรือง
อรรชกา สีบุญเรือง (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2498) เป็นประธานกรรมการสถาบันอาหาร ประธานกรรมการในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์[1] ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ[2] กรรมการในคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[3]และอดีตประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย[4]
อรรชกา สีบุญเรือง | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ |
ถัดไป | สุวิทย์ เมษินทรีย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช |
ถัดไป | อุตตม สาวนายน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้อรรชกา สีบุญเรือง เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายประวิช และนางศศิธร สีบุญเรือง มีพี่น้อง 2 คน[5] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2520 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Sussex University ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2527 ตามลำดับ
การทำงาน
แก้อรรชกา สีบุญเรือง เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2520 ถึงปี พ.ศ. 2521 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2527 จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการลงทุน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโบายและแผน ระดับ 10 ชช) ในปี พ.ศ. 2547
ในปี พ.ศ. 2548 ดร.อรรชกา ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2551 เป็นรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2555 และเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปีถัดมา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งนับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว[6]
อรรชกา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[7] ในขณะเดียวกัน จึงได้ลาออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม[8]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[9]
อรรชกา ยังเป็นอาจารย์พิเศษคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/029/T_0020.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/128/21.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/193/22.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/200/10.PDF
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558[ลิงก์เสีย]
- ↑ “อรรชกา สีบุญเรือง” ขึ้นแท่นปลัดอุตสาหกรรมหญิงคนแรก[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
- ↑ ประวัติ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๑, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒๐๑, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
ก่อนหน้า | อรรชกา สีบุญเรือง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) |
สุวิทย์ เมษินทรีย์ | ||
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
อุตตม สาวนายน |