ศาสตราจารย์กิตติคุณ อมรา พงศาพิชญ์ (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้แทนกลุ่มและจัดทำบัญชีรายชื่อ สมัชชาแห่งชาติ[1] คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการสรรหาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และคณะกรรมการวิชาการ/คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการในหลายมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์กิตติคุณ อมรา พงศาพิชญ์ เป็นนักวิชาการไทยที่มีผลงานวิชาการมากมายทั้งไทยและต่างประเทศในด้านรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา

อมรา พงศาพิชญ์
อมรา ใน พ.ศ. 2551
ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าเสน่ห์ จามริก
ถัดไปวัส ติงสมิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อมรา ภูมิรัตน

3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ อมรา พงศาพิชญ์ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ จบการศึกษาสาขามานุษยวิทยา ระดับปริญญาตรี B.A.(Anthropology) จาก University of California, Davis รัฐ California (พ.ศ. 2510) ศึกษาระดับปริญญาโท (พ.ศ. 2512) และเอก (พ.ศ. 2517) ทางด้าน Anthropology จาก University of Washington, Seattle หลังจากจบการศึกษาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี พ.ศ. 2529-2535 และ 2540-2545) จนเกษียณอายุในตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มีตำแหน่งทางวิชาการ เป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 และยังคงสอนหนังสือและดำรงตำแหน่ง ผอ.ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2552 ผลการประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากผู้สมัครเข้ารับการสรรหา จำนวน 133 คน อาจารย์อมราได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ในรายชื่อ 7 คนดังที่ได้คัดเลือกในเบื้องต้นเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากนั้นจึงจะมีการนำรายชื่อส่งให้วุฒิสภาในวันที่ 9 เม.ย. 2552 เพื่อไปตรวจสอบประวัติและให้การเห็นชอบ หลังจากวุฒิสภาเห็นชอบแล้วทางคณะกรรมการฯก็จะประชุมกันเองเพื่อเลือกประธานฯ เมื่อได้ประธานฯแล้ว วุฒิสภาจะนำเสนอขึ้นทูลเกล้าฯในคราวเดียวกัน ทั้งบุคคลที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธานฯ และกรรมการฯ ต่อไป[2]

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ที่ประชุมวุฒิสภา มี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ลงคะแนนด้วยวิธีลับ เห็นชอบให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จำนวน 7 คน เป็น กสม. ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ได้รับคะแนนเห็นชอบสูงสุด 131 เสียง (ไม่มีผู้ไม่เห็นชอบ) และไม่ลงคะแนน 6 เสียง [3] เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2552 ได้มีการประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผลของมติที่ประชุมได้เลือก ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ เป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งวุฒิสภาจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป [4] [5]

ผลงาน

แก้

ผลงานทางวิชาการที่สำคัญ คือ หนังสือวัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา และหนังสือความหลากหลายทางวัฒนธรรม : กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การพัฒนาสตรีและเยาวชน ขบวนการประชาสังคม และขบวนการประชาธิปไตย เป็นต้น

ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ มีผลงานสิ่งตีพิมพ์ในระดับนานาชาติหลายรายการ ได้แก่ [6]

  1. Recent Trends in International Migration in Asia (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific, Asian Population Studies Series No. 137) by Amara Pongsapich (Pamphlet - 1995)
  2. Defining the Nonprofit Sector: Thailand by Amara Pongsapich, Lester M. Salamon, and Helmut K. Anheier (Paperback - Aug 1993)
  3. The development of the concept of land ownership and its consequences in Thung Kula Ronghai area by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1983)
  4. Institutional and Human Resources Development in the Chonburi Region by Amara Pongsapich et al (Paperback - 1979)
  5. Occasional papers on women in Thailand (Publication) by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1988)
  6. Philanthropy, NGO activities, and corporate funding in Thailand by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1994)
  7. Thailand nonprofit sector and social development by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1997)
  8. The urban poor in Bangkok: A review of recent studies and a strategy for action : IYSH-1987 by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1986)
  9. Village Khon Kaen: Social and economic conditions of a rural population in North eastern Thailand by Amara Pongsapich (Unknown Binding - 1976) - Import

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สนช.ตั้งคณะทำงานคัดสรร กมธ.ข่าวการเมือง ไทยรัฐ 11 พ.ย. 49 - 04:00
  2. ผลเลือก7คนดังนั่งเก้าอี้กก.สิทธิ"วันชัย"ได้เข้าป้ายข่าวเดลินิวส์ วันที่ 9 เมษายน 2552
  3. เปิดคะแนน-ปูมหลัง 7กรรมการสิทธิฯชุดใหม่มติชนรายวัน วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11375
  4. ข่าวเด่นสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  5. ตลอดการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน เกิดข้อครหาเคลือบแคลงใจสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่การวางตนซึ่งหลายครั้งการทำหน้าที่แสดงให้ประชาชนเห็นถึงการเลือกข้างเลือกฝ่ายทางการเมือง จึงออกมาเป็นการทำงานสนองพรรคการเมืองมากกว่าสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งละเลยหน้าที่กรรมการสิทธิฯ จนประชาชนมอบฉายาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดนี้ว่า คณะกรรมการสิทธิดัดจริตชนแห่งชาติ
  6. ผลการค้นหา จากเว็บไซต์ร้านหนังสือ Amazon
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓