หนูผีป่า
ภาพวาดหนูเหม็น (Echinosorex gymnura)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Erinaceomorpha
วงศ์: Erinaceidae
วงศ์ย่อย: Galericinae
Pomel, 1848
สกุล
ชื่อพ้อง

หนูผีป่า หรือ หนูเหม็น เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับเฮดจ์ฮอก (Erinaceomorpha) ในวงศ์ Erinaceidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galericinae

เป็นวงศ์ที่แยกออกมาจากวงศ์ย่อยเฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ด้วยมีรูปร่างลักษณะที่ต่างกันหลายประการ

สัตว์ที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปแลคล้ายหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) มีส่วนหัวใหญ่ ปลายจมูกและจะงอยปากแหลมยาว มีฟันที่แหลมคมและมีขนาดใหญ่ คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของร่างกายทั้งหมด มีขนปกคลุมร่างกายทั้งหมด หางเรียวยาวไม่มีขน เพื่อควบคุมสมดุลของร่างกายและอุณหภูมิภายในร่างกาย มีความไวในประสาทการรับกลิ่นเป็นอย่างดีมาก

หนูผีป่า เป็นสัตว์ที่มีเอกลักษณ์ คือ มีกลิ่นเหม็นมากเหมือนกลิ่นแอมโมเนียโดยมีต่อมผลิตกลิ่น ปกติเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยหากินสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามพื้นดินเป็นหลัก เช่น แมลง เป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์ได้อย่างอื่นได้ด้วย เช่น สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก บางครั้งอาจกินผลไม้หรือเห็ดรา

พบกระจายพันธุ์แต่เฉพาะในป่าดิบของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่พบในเมือง เช่น อินโดจีน, สุมาตรา, จีนและคาบสมุทรมลายู

มีทั้งหมด 5 สกุล (ดูในตาราง) 8 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ หนูเหม็น (Echinosorex gymnura) หรือสาโท ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ด้วย [3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Dr Michael J Benton (2005). Vertebrate Palaeontology. Blackwell Publishing. p. 335. ISBN 0632056371. http://books.google.com/?id=P1LkOL1CijEC&pg=PA335&dq=Deinogalerix.
  2. "Galericinae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. b Hutterer, Rainer (16 November 2005). Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M.. ed. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 212–217. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=13600053 เก็บถาวร 2012-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. Gould, G.C. (1995). "Hedgehog phylogeny (Mammalia, Erinaceidae)—the reciprocal illumination of the quick and the dead". American Museum Novitates 3131: 1–45. hdl:2246/3665.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้