สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียน เป็นสโมสร ฟุตบอล ในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นใน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) โดยเคยร่วมแข่งขันใน ไทยลีก 1 ครั้ง และชนะเลิศ จตุรมิตร 7 ครั้ง
![]() | |||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ชงโคม่วงทอง | ||
ก่อตั้ง | 1997 | ||
สนาม | สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ (ความจุ:5,000) | ||
ประธาน | ![]() | ||
ผู้จัดการ | ![]() | ||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | ||
|
ประวัติสโมสรแก้ไข
ถ้วยพระราชทานแก้ไข
สโมสรฯ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดย ประกอบ พรหมบุตร อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน ในขณะนั้น ได้ปรึกษากับ ปานทอง สมุทรประภูติ นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ[1] โดยแบ่งแยกออกจากทีมโรงเรียน และบริหารเป็นระบบสโมสร โดยในช่วงแรก มี พ.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก เป็นผู้จัดการทีมตั้งแต่ก่อตั้ง ก่อนที่จะส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และในปีแรกที่เข้าแข่งขันสโมสรฯ ก็ สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้ ภายใต้การคุมทีมของ อ.ฤทธิ์ ชมน้อย พร้อมกับเลื่อนชั้นมาเล่น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี พ.ศ. 2541 ในปี พ.ศ. 2541 ทางสโมสรฯได้เปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร และทางสโมสรในชุดนี้ประกอบด้วย นักฟุตบอลที่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน และ ศิษย์ปัจจุบันมาร่วมทีม และก็ทำผลงานได้ดีโดยชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ได้สำเร็จพร้อมกับเลื่อนชั้นสู่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2542 ตามแผนการบันได 4 ขั้นของสโมสรฯ ในปีถัดมา สโมสรฯ ได้รับการจับตามองจากสื่อ มากขึ้น และในปีนั้น สโมสรประสบความสำเร็จในการคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์ให้ฟุตบอลไทย ด้วยการชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน 3 ปี 3 ถ้วยเป็นสโมสรแรกในประเทศอีกด้วย
ลีกอาชีพแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2543 สโมสรฯ ได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ดิวิชั่น 1 ในปีนั้นสโมสรฯ ทำผลงานได้น่าพอใจ แต่ด้วยที่ทำคะแนนพลาดไป หลายเกม ทำให้ได้แค่ รองชนะเลิศ โดยมี สโมสรพนักงานยาสูบ คว้าตำแหน่งชนะเลิศ โดยที่สโมสรฯ ต้องไปเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น/ตกชั้น กับ สโมสรสินธนา ซึ่งก็ไม่สามารถเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดได้ จากการแพ้ประตูรวม 3-2[2] ในปีถัดมา (พ.ศ. 2544) สโมสรฯ ได้เตรียมพร้อมการแข่งขันอย่างดี โดยได้งบประมาณเพื่อบริหารทีม ถึงเกือบ 5 ล้านบาทและยังได้เสริมทีมผู้ฝึกสอนโดยได้ ชาญวิทย์ ผลชีวิน และ ทองสุข สัมปหังสิต เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทีม โดยในปีนี้ สโมสร ทำผลงานได้ดี โดยชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2544/45 มาครอง พร้อมกับคว้าสิทธิ์ลงเล่นฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศอย่าง ไทยลีก ได้สำเร็จ และเป็นสถาบันการศึกษาแรกที่ได้เลื่อนชั้นมาเล่นในลีกสูงสุด
2545 - ปัจจุบันแก้ไข
สโมสรกรุงเทพคริสเตียน เริ่มต้นการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2545/46 ด้วยการพบกับ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน ซึ่งเป็นแชมป์เมื่อ ไทยลีก ฤดูกาลก่อน ซึ่งเป็นเกมลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสร แต่จุดอ่อนของทีมคือ สโมสรฯได้ประสบปัญหาในด้านงบประมาณ และ ประกอบกับกระแสฟุตบอลอาชีพในขณะนั้น ไม่ได้รับความนิยม ทำให้ผลงานของทีมกลับไม่ดีนัก โดยตกชั้นด้วยการมีเพียง 9 คะแนน จาก 18 นัด ตกชั้นในที่สุด อย่างไรก็ดีสโมสรมีจุดเด่นสำคัญ คือ ทีมสปิริต โดยการที่ทั้งสตาฟโค้ช นักเตะ และกองเชียร์มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด โดยมีสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเขาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว อีกทั้งเป็นทีมที่มีกองเชียร์คอยติดตามตลอดในการแข่งขันทุกนัดโดยที่ไม่ได้มีการนัดหมายมาก่อน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในวงการฟุตบอลไทยในขณะนั้น[3]
หลังการตกชั้นของสโมสร ผลงานของสโมสรไม่ดีจนต้องตกชั้นลงไปถึง ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2549 สโมสรได้ทำการเปลื่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็น สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อรองรับ การปรับตัวสู่ความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว[3] และต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างฟุตบอลลีก โดยการเพิ่ม ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาเพื่อรองรับ โดยสโมสรฯ เป็นหนึ่งใน 10 สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยสโมสร ใช้วิธีการระดมทุนโดยการขายของที่ระลึก ขายป้ายสปอนเซอร์ข้างสนาม ให้กับศิษย์เก่าและแฟนบอล
ร่วมมือกับบีอีซี เทโรแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2557 ทางสโมสรฯ ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับทาง สโมสรบีอีซี เทโรศาสน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น สโมสรฟุตบอล BCC-Tero เพื่อลงทำการแข่งขัน ฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพมหานคร และ ภาคกลาง โดยนักฟุตบอลส่วนใหญ่เป็นนักฟุตบอลของทาง ทีมเยาวชนของสโมสรบีอีซี เทโรศาสน ผสมกับนักฟุตบอลของโรงเรียน[4]
ชื่อและอัตลักษณ์ของสโมสรแก้ไข
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
อดีตผู้เล่นคนสำคัญแก้ไข
กองเชียร์กู๊ดบอยส์ (Goodboy's cheer)แก้ไข
Goodboys (กู๊ดบอยส์) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มกองเชียร์ฟุตบอลของทีมกรุงเทพคริสเตียน มีกำเนิดมาจากกองเชียร์กรุงเทพคริสเตียน (ชื่อเรียก "กองเชียร์คริสเตียน" ในขณะนั้น) เป็นการรวมตัวของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันหลายๆรุ่นที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ทุกคนมีใจรักในการเชียร์ฟุตบอล BCC เหมือนๆกัน ได้พบปะกันตามสนามกีฬาฟุตบอล ติดตามเชียร์ทั้งบอลสโมสรและบอลระดับนักเรียนมาอย่างยาวนาน ด้วยระบบการเชียร์ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเยาว์การร่วมกันร้องเพลงเชียร์อย่างเป็นหนึ่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับกองเชียร์คริสเตียน ซึ่งกองเชียร์คริสเตียนในขณะนั้นได้ขึ้นชื่อว่ามีลีลาการเชียร์ที่เอาจริงเอาจัง ดุดันทั้งการร้องเพลงเชียร์และการกระตุ้นนักเตะในสนาม จนบางครั้งด้วยความมุ่งมั่นที่มากเกินไปจึงอาจมีการกระทบกระทั่งกับคนอื่นไปบ้าง ทางแกนนำกองเชียร์จึงได้กลับมาทบทวนบทบาทของกองเชียร์คริสเตียน ว่าพวกเรามีจุดมุ่งหมายในการเชียร์เพื่อให้กำลังใจนักกีฬาในสนามให้เล่นอย่างสุภาพบุรุษและสง่างามเป็นหลัก จึงได้ก่อให้เกิดเป็นกลุ่มกองเชียร์กู๊ดบอยส์ขึ้นมาเมื่อปี 2549 ซึ่งมีแนวคิดของกลุ่มกองเชียร์จะร่วมเชียรร่วมร้องเพลงเชียร์กันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ชื่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และเป็นการให้กำลังใจนักกีฬาอย่างถูกต้อง
เกียรติประวัติแก้ไข
- ไทยลีกดิวิชัน 1: ชนะเลิศ: 2544/45
- ฟุตบอลนักเรียน สพก.(กรมพละเก่า) 18 ปี ก.: ชนะเลิศ: 2542, 2552
รองชนะเลิศ: 2553
สถิติและผลงานแก้ไข
ฟุตบอลสโมสรแก้ไข
ปี | ประธานสโมสร | ผู้จัดการทีม | ผู้ฝึกสอน | รายการ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน
(แต้ม) |
อันดับ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2566 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพ) |
|||||||||||
2562 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) |
5 | 1 | 1 | 3 | 5 | 12 | 4 | อันดับ 4 (รอบมินิลีก) | |||
2561 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพ) |
2 | 0 | 2 | 0 | 2 | 2 | 2 | อันดับ 4 (รอบคัดเลือก) | |||
2560 | ไทยลีก 4 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) |
30 | 12 | 9 | 9 | 49 | 36 | 45 | 4 | |||
2559 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | จักรราช โทนหงษา | ดิวิชั่น 2 | 20 | 6 | 4 | 10 | 18 | 33 | 22 | 8 |
2558 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | Bertrand Crasson | ดิวิชั่น 2 | 26 | 14 | 7 | 5 | 37 | 22 | 49 | 2 |
2557 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | Bertrand Crasson | ดิวิชั่น 2 | 26 | 15 | 8 | 3 | 35 | 15 | 53 | 5* |
2556 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 26 | 14 | 4 | 8 | 35 | 27 | 46 | 3 |
2555 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | รักพงษ์ แก้วแท้ | ดิวิชั่น 2 | 34 | 5 | 13 | 16 | 28 | 53 | 9 | 17 |
2554 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | หัสชัย ลีนะวัฒนา/ภาคภูมิ เกียรติศรีชาติ | สุวิทย์ หวัดแท่น/แบ เมียง โฮ | ดิวิชั่น 2 | 30 | 10 | 11 | 9 | 41 | 34 | 9 | |
2553 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | หัสชัย ลีนะวัฒนา | นพพร เอกศาสตรา | ดิวิชั่น 2 | 24 | 11 | 8 | 5 | 34 | 20 | 36 | 5 |
2552 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | วิรัช วงษ์สูง | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 18 | 7 | 3 | 8 | 24 | 25 | 22 | 5 |
2551 | กฤติเดช ชัยสิงหาญ | ฉัตรชัย ชุมนานนท์ | รักษ์พงษ์ แก้วแท้/ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 กลุ่ม B | 20 | 8 | 7 | 5 | 31 | 22 | 31 | 4 |
2550 | กฤติเดช ชัยสิงหาญ | ประสิทธิ์ อิทธิกำจร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 22 | 12 | 4 | 6 | 39 | 28 | 40 | 4 |
2549* | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | จิระยศ ภูมิจิตร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 20 | 6 | 8 | 6 | 24 | 29 | 26 | 6 |
2548 | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | จิรชัย เงินมีศรี | ฤทธิ์ ชมน้อย | ถ้วย ข | 3 | 1 | - | 2 | รอบแรก | |||
2547 | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 22 | 3 | 7 | 12 | 15 | 34 | 16 | 11 | |
2545/46 | พลเอก ม.ล.วิชัย ชยางกูร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ไทยลีก | 18 | 2 | 3 | 13 | 16 | 44 | 9 | 10 |
2544 | เรวัติ ฉ่ำเฉลิม | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 20 | 14 | 3 | 3 | 44 | 14 | ชนะเลิศ | |
2543 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 16 | 9 | 4 | 3 | 24 | 13 | รองชนะเลิศ | |
2542 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ถ้วย ข | 7 | 6 | - | 1 | 17 | 3 | ชนะเลิศ | |
2541 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ถ้วย ค | 7 | 7 | - | - | 10 | 3 | ชนะเลิศ | |
2540 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | ฤทธิ์ ชมน้อย | ถ้วย ง | 7 | 7 | - | - | 15 | 7 | ชนะเลิศ |
หมายเหตุ
- ปี 2561 ไม่ผ่านคลับไลเซนส์ ตกชั้นสู่ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
- ปี 2558 ลงแข่งในนาม บีซีซี-เทโร เอฟซี และได้รองแชมป์ โซนกรุงเทพฯ และภาคกลาง แต่ถูกทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยตัดสิทธิ์เนื่องจากส่งนักเตะลงเล่นผิดกฏข้อบังคับการแข่งขัน
- ปี 2549 ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้เพิ่ม ฟุตบอลดิวิชั่น 2 ขึ้นมาและทางสโมสรจึงได้เข้าร่วมเปลี่ยนจากถ้วย ข.ไปเป็นดิวิชั่น 2 อัตโนมัติ
จตุรมิตรสามัคคีแก้ไข
ครั้งที่ | ปี | ผู้อำนวยการโรงเรียน | หัวหน้าผู้ฝึกสอน | อันดับ |
---|---|---|---|---|
1 | พ.ศ. 2507 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ||
2 | พ.ศ. 2508 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) | |
5 | พ.ศ. 2513 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ชนะเลิศอันดับ 1 | |
8 | พ.ศ. 2521 | อ.อารีย์ เสมประสาท | อ.วิโรจน์ ภิญโภบริสุทธิ์ | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
9 | พ.ศ. 2524 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.ประเดิม ม่วงเกษม | รองชนะเลิศอันดับ 2 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
10 | พ.ศ. 2525 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
11 | พ.ศ. 2526 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
12 | พ.ศ. 2527 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
13 | พ.ศ. 2528 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
14 | พ.ศ. 2530 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
15 | พ.ศ. 2532 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.ภูษิต จันทร์จิเรศรัศมี | รองชนะเลิศอันดับ 3 |
16 | พ.ศ. 2534 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.เสนอ ไชยยงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 |
17 | พ.ศ. 2536 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.ธวัชชัย มิ่งมงคล | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
18 | พ.ศ. 2538 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.ภูษิต จันทร์จิเรศรัศมี | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
19 | พ.ศ. 2540 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.วิโรจน์ มูฮำหมัด | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) |
20 | พ.ศ. 2542 | อ.ประกอบ พรหมบุตร | อ.วิโรจน์ มูฮำหมัด | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) |
21 | พ.ศ. 2544 | ดร.จารีต องคะสุวรรณ | อ. ฤทธิ์ ชมน้อย | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(สวนกุหลาบ) |
22 | พ.ศ. 2546 | ดร.จารีต องคะสุวรรณ | อ. ณรงค์ ตราบดี | ชนะเลิศอันดับ 1 |
23 | พ.ศ. 2548 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ. ณรงค์ ตราบดี | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
24 | พ.ศ. 2550 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.จักราช โทนหงษา | รองชนะเลิศ |
25 | พ.ศ. 2552 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.จักราช โทนหงษา | ชนะเลิศอันดับ 1 |
26 | พ.ศ. 2555 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.ประจักษ์ เวียงสงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(สวนกุหลาบ) |
27 | พ.ศ. 2557 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.ประจักษ์ เวียงสงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
28 | พ.ศ. 2560 | อ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ | รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
29 | พ.ศ. 2562 | อ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ | รองชนะเลิศอันดับ 1 |
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.siamsport.co.th/Column/100212_100.html "บีซีซี" กรุงเทพคริสเตียน พร้อมทุกอณูขอทำเต็มที่เพื่อดิวิชั่น 1 - สยามกีฬา
- ↑ https://web.archive.org/web/20080921231705/http://www.fat.or.th/web/tpl2000.php การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก 2000 - สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
- ↑ 3.0 3.1 http://www.bccfootballclub.com/about_us/index.php เก็บถาวร 2017-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติสโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ↑ http://www.siamsport.co.th/Column/140130_107.html สโมสร BCC-TARO FC ย่ำ ด.2 อยู่ 10 ปี ฤดูกาลนี้เราจะก้าวสู่ยามาฮ่า ลีก วัน - สยามกีฬา
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไชต์อย่างเป็นทางการของ ฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียน เก็บถาวร 2014-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บบอร์ด ฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียน เก็บถาวร 2007-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- สมาคมศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่เฟซบุ๊ก
บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา |