สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสโชติมา วงศ์วิทยานันท์

ประวัติ

แก้

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายจั๊ว และนางเล็ก แซ่เตียว มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สมรสกับนางโชติมา มีบุตร 2 คน

งานการเมือง

แก้

อดีตเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านปางมะค่า และกำนันตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกำแพงเพชรเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 จนกระทั่งถึง การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2550 นายสุรสิทธิ์สมัครเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน และลงเลือกตั้งแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 7 ไม่ได้รับการเลือกตั้งในคราวแรก แต่ได้รับเลือกขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[2]

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายสุรสิทธิ์ย้ายไปลงในระบบเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพ่ายให้กับนายปรีชา มุสิกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ประจำนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตามลำดับ [3]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  3. การเลือกตั้งจังหวัดกำแพงเพชร[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้