สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (อังกฤษ: Lithuanian Soviet Socialist Republic; ลิทัวเนีย: Lietuvos Tarybų Socialistinė Respublika; รัสเซีย: Лито́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐแห่งนี้ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1940–1990
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย | |
---|---|
1940–1941 1944–1990/1991 | |
เพลงชาติ: ทาอูทิชคา กีเอสมิ (1944–1950, 1988–1991) เพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (1950–1988) | |
ที่ตั้งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียภายในสหภาพโซเวียต | |
เมืองหลวง | วิลนีอัส |
การปกครอง | ลัทธิสตาลิน รัฐพรรคการเมืองเดียว เผด็จการเบ็ดเสร็จ (1940–1953) รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (1953–1989) รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1989–1991) |
เลขาธิการคณะกรรมการกลาง | |
• 1944–1974 | Antanas Sniečkus |
• 1974–1987 | Petras Griškevičius |
• 1987–1988 | Ringaudas Songaila |
• 1988–1990 | Algirdas Brazauskas |
ประธานสภาสูงสุด | |
• 1990–1991 | Vytautas Landsbergis |
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่ 2 · สงครามเย็น |
16 มิถุนายน 1940 | |
• สถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต | 21 กรกฎาคม 1940 |
• ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตอย่างผิดกฎหมาย (ลิทัวเนียยังดำรงอยู่ต่อไป โดยนิตินัย) | 3 สิงหาคม 1940 |
1941 | |
• สหภาพโซเวียตยึดครองอีกครั้ง | 1944 |
1988 | |
11 มีนาคม 1990 | |
• สหภาพโซเวียตรับรอง | 6 กันยายน |
พื้นที่ | |
1989 | 65,200 ตารางกิโลเมตร (25,200 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 1989 | 3689779 |
รหัสโทรศัพท์ | 7 012 |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ลิทัวเนีย |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2)[1] ในอาณาบริเวณที่ก่อนหน้านั้นเคยเป็นสาธารณรัฐลิทัวเนียซึ่งเป็นรัฐเอกราช แต่ถูกกองทัพโซเวียตเข้ายึดครองตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ตามถ้อยคำในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามไว้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939
การรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมนีนาซีระหว่างปี ค.ศ. 1941–1944 ส่งผลให้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียถูกยุบเลิกไปโดยพฤตินัย ต่อมาเมื่อทหารเยอรมันถอนกำลังออกไปในช่วงปี ค.ศ. 1944–1945 สหภาพโซเวียตก็กลับมามีอำนาจครอบงำลิทัวเนียอีกครั้งและเป็นอยู่เช่นนั้นนานถึงห้าสิบปี อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกหลายชาติ (รวมทั้งสหรัฐอเมริกา) ยังคงรับรองว่าลิทัวเนียเป็นรัฐเอกราชและมีอธิปไตยโดยนิตินัยต่อไป โดยขึ้นกับกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีตัวแทนเป็นคณะทูตและกงสุลต่าง ๆ ที่ลิทัวเนียได้แต่งตั้งไว้ก่อนปี ค.ศ. 1940
ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียได้ประกาศอธิปไตยแห่งรัฐตลอดทั่วทั้งดินแดนของตนในช่วงที่มีการปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในสหภาพโซเวียต ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 สาธารณรัฐลิทัวเนีย (เปลี่ยนชื่อมาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย) ได้รับการสถาปนาขึ้นอีกครั้งด้วยรัฐบัญญัติว่าด้วยการคืนสถานะรัฐลิทัวเนียและได้รับการรับรองจากหลายประเทศในช่วงเวลาไม่นานก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตก็ประกาศรับรองเอกราชของลิทัวเนีย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Ronen, Yaël (2011). Transition from Illegal Regimes Under International Law. Cambridge University Press. p. 17. ISBN 978-0-521-19777-9.
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Hardt, John Pearce; Kaufman, Richard F. (1995). East-Central European Economies in Transition. M.E. Sharpe. ISBN 1-56324-612-0.
- Maddison, Angus (2006). The world economy. OECD Publishing. ISBN 92-64-02261-9.
- O'Connor, Kevin (2003). The history of the Baltic States. Greenwood Publishing Group. ISBN 0-313-32355-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลิทัวเนียภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต
- 1978 Constitution of the Lithuanian Soviet Socialist Republic
- Lithuania: An Encyclopedic Survey - a 1986 English-language Soviet work.