ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์

(เปลี่ยนทางจาก Reichskommissariat Ostland)

พิกัดภูมิศาสตร์: 56°N 26°E / 56°N 26°E / 56; 26

นาซีเยอรมนีได้ก่อตั้ง ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในอ็อสท์ลันท์ (เยอรมัน: Reichskommissariat Ostland, RKO) ในปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นระบอบการปกครองโดยพลเรือนในดินแดนยึดครองในรัฐบอลติก(เอสโตเนีย, ลัตเวีย, และ ลิทัวเนีย), ส่วนหนึ่งของทางตะวันออกเฉียงเหนือของโปแลนด์และทางตะวันตกของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มันยังได้เป็นที่รู้จักกันในตอนแรกว่า ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในบัลเทินลันท์ (Reichskommissariat Baltenland)("แผ่นดินบอลติก") [1][2] องค์กรทางการเมืองสำหรับดินแดนนี้ – ภายหลังในช่วงเวลาแรกของการปกครองโดยทหารก่อนที่จะก่อตั้งขึ้นมา – เป็นการปกครองโดยพลเรือนเยอรมัน ซึ่งอยู่ในนามภายใต้อำนาจของกระทรวงไรชส์สำหรับดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง (เยอรมัน: Reichsministerium für die besetzten Ostgebiete) ภายใต้การนำโดยนักทฤษฏีนาซี อัลเฟรด โรเซินแบร์ก แต่อันที่จริงแล้วถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่นาซี ฮินริค โลห์เซอ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการไรช์(Reichskommissar)

ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในอ็อสท์ลันท์

1941–1945
Reichskommissariat Ostland ในปี ค.ศ. 1942
Reichskommissariat Ostland ในปี ค.ศ. 1942
สถานะไรชส์ค็อมมิสซารีอาท แห่งเยอรมนี
เมืองหลวงรีกา
ภาษาทั่วไปภาษาเยอรมัน (ทางการ)
ภาษาเบลารุส
ภาษาเอสโตเนีย
ภาษาลัตเวีย
ภาษาลิทัวเนีย
ภาษาโปแลนด์
การปกครองการบริหารโดยพลเรือน
Reichskommissar 
• 1941-1944
ฮินริค โลห์เซอ
• 1944-1945
เอริค ค็อค
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2
• กฤษฎีกาฟือเรอร์
25 กรกฎาคม 1941
• การยอมแพ้อย่างเป็นทางการใน Courland Pocket
8 พฤษภาคม 1945
สกุลเงินReichskreditkaschenscheine
(โดยพฤตินัย)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เอสโตเนีย
 ลัตเวีย
 ลิทัวเนีย
 เบลารุส
 รัสเซีย

วัตถุประสงค์หลักทางการเมืองของเยอรมนีสำหรับไรชส์ค็อมมิสซารีอาท ตามที่ได้ถูกกำหนดไว้โดยกระทรวงให้อยู่ในกรอบนโยบายชาติสังคมนิยมสำหรับตะวันออกที่จัดตั้งโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ รวมทั้งการทำลายล้างให้หมดสิ้นไปต่อประชากรชาวยิวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเลเบินส์เราม์ การตั้งถิ่นฐานสำหรับเชื้อเยอรมันพร้อมด้วยการขับไล่ประชากรพื้นเมืองและการถอดเป็นอักษรเยอรมันจากส่วนที่เหลือของประชากร นโยบายเหล่านี้ไม่ได้ใช้แค่เพียงไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในอ็อสท์ลันท์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงดินแดนอื่นๆในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมันยึดครอง ซึ่งผ่านมาด้วยการใช้หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน เอและเบ พร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของกองกำลังหนุนท้องถิ่นในการสังหารชาวยิวกว่าหนึ่งล้านคนใน"ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในอ็อสท์ลันท์"[3] นโยบายการถอดเป็นอักษรเยอรมัน, ได้สร้างขึ้นบนรากฐานของเกเนอราลพลานอ็อสท์ หลังจากนั้นก็จะดำเนินที่ผ่านมาด้วยหนึ่งในกฏษฏีกาพิเศษและแนะนำหลักการสำหรับแผนการตั้งถิ่นฐานทั่วไปสำหรับอ็อสท์ลันท์[4]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 และ 1944 กองทัพแดงได้ทยอยๆยึดกลับคืนบนดินแดนส่วนใหญ่ในการรุกเยอรมนีของพวกเขา แต่กองทัพแวร์มัคท์ได้ถูกโอบล้อมในคูร์แลนด์พ็อกเกต เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในยุโรปและความพ่ายแพ้ของเยอรมันในปี ค.ศ. 1945 ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทได้ถูกยุบลง

อ็อสท์ลันท์นั้นไม่ควรจะสับสนด้วยคำว่า โอเบอร์ อ็อส (Ober Ost) ซึ่งมีบทบาทที่คล้ายกันกับอำนาจยึดครองสำหรับดินแดนบอลติกโดยจักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

อ้างอิง แก้

  1. David Gaunt, Jonathan C. Friedman (2010). Reichskommissariat Ostland. The Routledge History of the Holocaust. Taylor & Francis. pp. 210–212. ISBN 1136870601. สืบค้นเมื่อ 20 February 2015.
  2. Alex J. Kay (2006). "Guidelines for Special Fields (13 March 1941)". Exploitation, Resettlement, Mass Murder: Political And Economic Planning for German Occupation Policy in the Soviet Union, 1940-1941. Berghahn Books. pp. 70–71. ISBN 1845451864. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  3. Pohl, Reinhard (November 1998). "Reichskommissariat Ostland: Schleswig-Holsteins Kolonie" [Reichskommissariat Ostland: Schleswig-Holstein's Colony] (PDF). Gegenwind. Gegenwind-Sonderheft: Schleswig-Holstein und die Verbrechen der Wehrmacht (ภาษาเยอรมัน). Gegenwind, Enough is Enough, and anderes lernen/Heinrich-Böll-Stiftung Schleswig-Holstein. pp. 10–12. สืบค้นเมื่อ 2014-03-27. Vom Einmarsch im Juni 1941 bis Ende Januar 1942, der Niederlage vor Moskau, töteten die deutschen Truppen im "Ostland" etwa 330.000 Juden, 8359 "Kommunisten", 1044 "Partisanen" und 1644 "Geisteskranke". [...] Die erste Tötungswelle hatten ungefähr 670.000 Juden überlebt, dazu kamen im Winter 1941/42 noch 50.000 deportierte Juden aus dem Reichsgebiet, die in die Ghettos von Minsk und Riga kamen. [...] Anfang 1943 begann die zweite große Tötungswelle, der mindestens 570.000 Jüdinnen und Juden zum Opfer fielen. [...] Die letzten 100.000 Juden kamen in Konzentrationslager in Kauen, Riga-Kaiserwald, Klooga und Vaivara, sie wurden 1944 beim Heranrücken der Roten Armee liquidiert.
  4. Czesław Madajczyk (Hrsg.): Vom Generalplan Ost zum Generalsiedlungsplan. Saur, München 1994, S. XI.
  • Arnold Toynbee, Veronica Toynbee, et al., Hitler's Europe (Spanish: La Europa de Hitler, Ed Vergara, Barcelona, 1958), Section VI: "Occupied lands and Satellite Countries in East Europe", Chapter II: "Ostland", p. 253-259 and footnotes.
  • (เยอรมัน) Ostland - Verwaltungskarte. Herg. vom Reichskommissar f. d. Ostland, Abt. II Raum. Stand der Grenzen vom 1. Nov. 1942 (map)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้