สมเด็จพระเจ้ารามราชา

สมเด็จพญารามเจ้า หรือ สมเด็จพระเจ้ารามราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา รัชกาลสุดท้ายของราชวงศ์อู่ทอง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1938 - 1952 เป็นระยะเวลา 14 ปี

สมเด็จพระเจ้ารามราชา
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 1938 - 1952 (14 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราเมศวร
ถัดไปสมเด็จพระอินทราชา
พระราชสมภพพ.ศ. 1899
สวรรคตพ.ศ. 1952 (53 พรรษา)
ราชวงศ์อู่ทอง
พระราชบิดาสมเด็จพระราเมศวร

พระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรและสมาชิกราชวงศ์อู่ทอง พระองค์สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาในปี 1938 พระองค์ครองราชย์จนถึงปี 1952 เมื่อพระอินทราชาผู้เป็นพระญาติจากราชวงศ์สุพรรณภูมิโค่นล้มพระองค์ด้วยการรัฐประหาร

พระราชประวัติ แก้

สมเด็จพญารามเจ้า มีพระนามเดิมว่าเจ้าพญาราม เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร ครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1938 ขณะมีพระชนมายุได้ประมาณ 21 พรรษา[1]

ในรัชสมัยของพระองค์ กรุงศรีอยุธยาเป็นปกติสุข มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรวรรดิต้าหมิงตั้งแต่ปี พ.ศ. 1940 ทำให้อยุธยาเริ่มรับอิทธิพลจากจีนทั้งทางค้า การเมือง วัฒนธรรม และกฎหมาย[2] ด้านความมั่นคงก็โปรดให้ยกทัพไปตีอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย แต่ไม่สำเร็จ

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 1952 สมเด็จพญารามเจ้าพิโรธเจ้าเสนาบดีถึงกับรับสั่งให้จับกุม แต่เจ้าเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฟากปท่าคูจาม แล้วกราบทูลเชิญสมเด็จพระอินทราชาผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี (สังคีติยวงศ์ระบุว่าเป็นพระเจ้าลุงของพระเจ้ารามราชา) ว่าจะยึดกรุงศรีอยุธยาถวาย เมื่อสมเด็จพระอินทราชาเสด็จถึง เจ้าเสนาบดีก็เข้าปล้นพระนครศรีอยุธยาได้ แล้วทูลเชิญสมเด็จพระอินทราชาขึ้นเสวยราชสมบัติ ส่วนสมเด็จพญารามเจ้าโปรดให้ไปกินเมืองปท่าคูจาม[3] แต่สังคีติยวงศ์ระบุว่าถูกสำเร็จโทษ[4]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ เยเรเมียส ฟาน ฟลีตฯ, หน้า 29
  2. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 61
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 393-4
  4. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 62
บรรณานุกรม

ดูเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้ารามราชา ถัดไป
สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1938)
   
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1938 - 1952)
  สมเด็จพระอินทราชา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 1952 - 1967)