สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4

สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี (อังกฤษ: Queen Pōmare IV of Tahiti) หรือพระนามอย่างเป็นทางการ ไอมาตา โปมาเรที่ 4 วาฮีเน โอ ปูนูอาเตราอีตูอา (อังกฤษ: Aimata Pōmare IV Vahine-o-Punuateraʻitua) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2410 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชอาณาจักรตาฮีตี

สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4

สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตี
ครองราชย์11 มกราคม พ.ศ. 2360 - 17 กันยายน พ.ศ. 2410
รัชสมัย50 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าโปมาเรที่ 3 แห่งตาฮีตี
รัชกาลถัดไปพระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตี
ประสูติ28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2356
สวรรคต17 กันยายน พ.ศ. 2410 (พระชนมพรรษา 64 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าตาโปอาที่ 2 แห่งบอราบอรา
อารีอีฟาไอเต
พระราชบุตรอารีอีอาอูเอ
โปมาเรที่ 5
เตรีอีมาเอวารูอาที่ 2
ตามาโตอาที่ 5
เตรีอีตาปูนูอี โปมาเร
เตรีอีตูอา ตูอาวีลา โปมาเร
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี
พระนามเต็ม
ไอมาตา โปมาเรที่ 4 วาฮีเน โอ ปูนูอาเตราอีตูอา
พระปรมาภิไธย
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี
ราชวงศ์ราชวงศ์โปมาเร
พระบรมราชชนกพระเจ้าโปมาเรที่ 2 แห่งตาฮีตี
พระบรมราชชนนีสมเด็จพระราชินีเตริโตโอเตไร เตเรโมเอโมเอ
ลายพระอภิไธย
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี

ครอบครัว แก้

สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าโปมาเรที่ 2 แห่งตาฮีตี กับ เตริโตโอเตไร เตเรโมเอโมเอ พระอัยกาของพระองค์คือพระเจ้าโปมาเรที่ 1 แห่งตาฮีตี พระองค์ทรงครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตี หลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์สวรรคต ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 14 พรรษา

พระราชประวัติ แก้

ในปีพ.ศ. 2386 ฝรั่งเศสได้ประกาศว่าเกาะตาฮีตีอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส และได้แต่งตั้งผู้ว่าการที่ปาเปเอเต สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรพยายามอย่างไร้ผลที่จะส่งสารถึงกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเพื่อขอให้อังกฤษแทรกแซงการครอบครองตาฮีตีของฝรั่งเศส และเนรเทศพระองค์เองไปยังราอีอาเตอาเพื่อเป็นการประท้วง[1] ผลที่ตามมาคือสงครามฝรั่งเศส-ตาฮีตี ซึ่งกินเวลาจากปีพ.ศ. 2386 ถึง พ.ศ. 2390 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกอาณาจักรในหมู่เกาะโซไซตี ชาวตาฮีตีต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็สูญเสียไม่น้อย แม้ว่าอังกฤษไม่เคยช่วยชาวตาฮีตี แต่อังกฤษก็ประณามการกระทำของฝรั่งเศสและเกือบจะสงครามระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในภูมิภาคแปซิฟิก ความขัดแย้งเหล่านี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของกองกำลังตาฮีตีที่ป้อมเฟาเตาอา แม้ว่าฝรั่งเศสจะได้รับชัยชนะ แต่พวกเขาก็ไม่สามารถที่จะยึดเกาะเนื่องจากแรงกดดันทางการทูตจากบริเตนใหญ่ ซึ่งประโยชน์ที่บริเตนใหญ่จะได้รับคือ คำสั่งจะได้ข้อยุติสงครามคือการที่พันธมิตรของพระราชินีในฮูอาฮีเน ราอีอาเตอา และบอราบอรา จะได้รับอนุญาตให้รักษาความเป็นอิสระ[2][3][4]

ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 ก็ยอมอ่อนข้อและปกครองภายใต้ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2380 จนถึง พ.ศ. 2410 สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2410 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังที่สุสานพระราชวงศ์โปมาเร พระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตี พระราชโอรสจึงครองราชย์ต่อจากพระองค์ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2413

อภิเษกสมรสและรัชทายาท แก้

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2365 สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรทรงอภิเษกสมรสกับว่าที่กษัตริย์ตาโปอาที่ 2 แห่งตาฮาอาและบอราบอรา การอภิเษกสมรสครั้งนี้จบลงด้วยการหย่าร้าง

ต่อมาพระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2375 กับเตนานีอา อารีอีฟาไอเต (10 มกราคม พ.ศ. 2363 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2416) [5][6] โดยพระสวามีพระองค์ที่สอง มีพระราชย์โอรสธิดาได้แก่

  1. พระราชโอรส (1833 สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์)[6]
  2. เฮนรี โปมาเร (สิงหาคม 1835 สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์)[6][7]
  3. อารีอีอาอูเอ (12 สิงหาคม 1838 - 10 พฤษภาคม 1856) มกุฎราชกุมารแห่งตาฮีตี[5][6]
  4. โปมาเรที่ 5 (3 พฤศจิกายน 1839 - 12 มิถุนายน 1891) ต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตาฮีตีพระองค์ต่อมา[5][6]
  5. เตรีอีมาเอวารูอาที่ 2 (23 พฤษภาคม 1841 - 12 กุมภาพันธ์ 1873) ต่อมาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งบอราบอรา[5][6]
  6. ตามาโตอาที่ 5 (23 กันยายน 1842 - 30 กันยายน 1881) ต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ราอีอาเตอา[5][6]
  7. วิกตอเรีย โปมาเร วาฮีเน (1844 – มิถุนายน 1845)[6]
  8. เตรีอีตาปูนูอี โปมาเร (30 มีนาคม 1846 - 18 กันยายน 1888), Ariʻi of Afaʻahiti[5][6]
  9. เตรีอีตูอา ตูอาวีลา โปมาเร (17 ธันวาคม 1847 - 9 เมษายน 1875), Ariʻirahi of Hitiaʻa, called the "Prince de Joinville"[5][6]
  10. เตวาฮิตูอา โปมาเร (1850 สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์)[8][6][6]

ตัวโมตู แก้

กลุ่มเกาะตัวโมตูไม่เคยถูกฝรั่งเศสผนวกเข้าไปส่วนหนึ่งของตน พวกเขาเพียงครอบครองโดยไม่ได้ประกาศอำนาจอธิปไตย ดั้งนั้นจึงถือว่าชอบธรรมทางกฎหมายที่หมู่เกาะแห่งนี้จะเป็นทรัพย์สินที่ถูกต้องของราชวงศ์โปมาเรและผู้ใดก็ตามที่อยู่อาศัยบนเกาะ แต่ฝรั่งเศสไม่ประกาศโดยปกติพวกเขามีอำนาจควบคุมโดย "ชอบธรรม" บนหมู่เกาะส่วนใหญ่ของตาฮีตีและดินแดนอื่นของราชย์วงศ์

เนื่องจากฝรั่งเศสไม่เคยครองครองหมู่เกาะตัวโมตูในทางนิตินัย ทำให้ไม่สามารถล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มี ดังนั้นสถาบันจึงยังคงอยู่ในการดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ฝรั่งเศสมีอำนาจเพียงพฤตินัยเหนือตัวโมตู

กรณีดังกล่าวที่คล้ายกันสามารถพบได้ทั่วโลกและแปซิฟิก นิวซีแลนด์ ที่บ่งบอกว่าคนพื้นเมืองในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ไม่เคยถูกผนวกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและที่เนื่องจากมีการละเมิดสนธิสัญญา(ซึ่งพระมหากษัตริย์ยินยอม) ทำให้อาจจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายในการเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอื่น

พระนาม แก้

  • 28 กุมภาพันธ์ 1813 – พฤศจิกายน 1815: เจ้าหญิงไอมาตา โปมาเร
  • พฤศจิกายน 1815 – 7 ธันวาคม 1821: เจ้าหญิงไอมาตาแห่งตาฮีตี
  • 7 ธันวาคม 1821 – 11 มกราคม 1827: มกุฎราชกุมารีแห่งตาฮีตี
  • 11 มกราคม 1827 – 17 กันยายน 1877: สมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตี

อ้างอิง แก้

  1. Patricia O'Brien “Think of Me as a Woman: Queen Pomare of Tahiti and Anglo- French Imperial Contest in the 1840s Pacific”, Gender and History, Vol. 18 No. 1 April 2006: 108–129doi:10.1111/j.1468-0424.2006.00417.x
  2. Matt K. Matsuda (2005). "Society Islands: Tahitian Archives". Empire of Love: Histories of France and the Pacific. Oxford University Press. pp. 91–112. ISBN 0-19-516294-3.
  3. A. W. Ward, G. P. Gooch. The Cambridge History of British Foreign Policy. CUP Archive. pp. 182–185.
  4. La guerre franco-tahitienne (1844–1846). Histoire de l'Assemblée de la Polynésie française
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Teuira Henry, John Muggridge Orsmond (1928). Ancient Tahiti. Vol. 48. Bernice Pauahi Bishop Museum. pp. 249–250.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 Christopher Buyers Page 4. "Tahiti: The Pomare Dynasty Genealogy". Royal Ark web site. สืบค้นเมื่อ 15 January 2012.
  7. Pritchard 1983, p. 225.
  8. "The Polynesian". The Polynesian. April 16, 1859. สืบค้นเมื่อ June 30, 2013.

อ่านเพิ่มเติม แก้

การสืบทอด แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 ถัดไป
พระเจ้าโปมาเรที่ 3    
ราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรตาฮีตี
(พ.ศ. 2370 – 2420)
  พระเจ้าโปมาเรที่ 5