สนธิสัญญาจันทรา

ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น (อังกฤษ: Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies)[3][4] ที่รู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาจันทรา (อังกฤษ: Moon Treaty) หรือ ความตกลงจันทรา (อังกฤษ: Moon Agreement) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้บรรดาเทห์ฟากฟ้าและวัตถุที่โคจรรอบเทห์ฟากฟ้า เป็นพื้นที่ในเขตอำนาจของประชาคมโลก ส่งผลให้กิจกรรมทั้งปวงในพื้นที่ดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญาจันทรา
ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น
วันลงนาม18 ธันวาคม ค.ศ. 1979
ที่ลงนามนิวยอร์ก สหรัฐ
วันมีผล11 กรกฎาคม ค.ศ. 1984
เงื่อนไขให้สัตยาบัน 5 ประเทศ
ผู้ลงนาม11[1]
ภาคี18[2][1] (ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022)
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สเปน, อาหรับ และจีน
Moon Treaty ที่ วิกิซอร์ซ

น่าเสียดายที่ความตกลงนี้ไม่ประสบผลสำเร็จดังคาดหมายกัน เนื่องเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐชาติที่ดำเนินหรือจะดำเนินการสำรวจอวกาศโดยมนุษย์ด้วยตนเองแม้แต่รัฐเดียว (รัฐเหล่านี้ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน) ทำให้ไม่มีความเกี่ยวข้องในกฎหมายระหว่างประเทศ[5] ข้อมูลเมื่อ มกราคม 2022 มีประเทศที่เป็นสมาชิกสนธิสัญญา 18 ประเทศ[1]

สาระสำคัญ แก้

สนธิสัญญานี้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจะต้องได้รับการใช้สอยเพื่อประโยชน์แห่งรัฐทั้งปวงและประชาคมโลก กับทั้งประกันความคุ้มครองดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจากการตกเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญานี้มีข้อกำหนดดังนี้

  • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการทหาร รวมถึงเพื่อการทดลองอาวุธหรือเพื่อเป็นฐานที่ตั้งทางการทหาร
  • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าโดยมิได้รับความยินยอมจากรัฐอื่นหรือโดยไม่ก่อประโยชน์แก่รัฐอื่น
  • การใช้เทห์ฟากฟ้า รวมถึงการค้นพบและการพัฒนาอันเนื่องจากการใช้ดังกล่าว ต้องแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบทุกกรณี
  • รัฐทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการวิจัยบนเทห์ฟากฟ้า
  • รัฐที่ได้มาซึ่งตัวอย่างของแร่หรือสสารอื่นจากเทห์วัตถุ ต้องพิจารณาแบ่งส่วนตัวอย่างนั้นเพื่อจัดไว้ให้รัฐอื่นหรือประชาคมทางวิทยาศาสตร์ที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อใช้ในงานวิจัยได้
  • ห้ามการยังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบนเทห์ฟากฟ้า และรัฐที่ดำเนินกิจกรรมบนนั้นต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษโดยอุบัติเหตุ
  • ห้ามรัฐใด ๆ อ้างอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งใดก็ดีบนเทห์ฟากฟ้า
  • ห้ามบุคคลหรือองค์กรใดมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันมีแหล่งกำเนิดนอกโลก เว้นแต่เป็นองค์กรระหว่างประเทศหรือระหว่างรัฐบาล
  • การสกัดเอาและนำพาไปซึ่งทรัพยากรจากเทห์ฟากฟ้า ให้กระทำได้โดยระบอบระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international regime)

สมาชิก แก้

 
ประเทศที่เป็นสมาชิกสนธิสัญญาจันทรา
  ให้สัตยาบัน
  ลงนาม
  ไม่ให้สัตยาบัน
ประเทศ[1][2] ลงนาม ยืนยัน วิธีการ
  อาร์มีเนีย 19 ม.ค. 2018 เข้าถึง
  ออสเตรเลีย 7 ก.ค. 1986 เข้าถึง
  ออสเตรีย 21 พฤษภาคม 1980 11 มิ.ย. 1984 ให้สัตยาบัน
  เบลเยียม 29 มิ.ย. 2004 เข้าถึง
  ชิลี 3 ม.ค. 1980 12 พ.ย. 1981 ให้สัตยาบัน
  คาซัคสถาน 11 ม.ค. 2001 เข้าถึง
  คูเวต 28 เม.ย. 2014 เข้าถึง
  เลบานอน 12 เม.ย. 2006 เข้าถึง
  เม็กซิโก 11 ต.ค. 1991 เข้าถึง
  โมร็อกโก 25 ก.ค. 1980 21 ม.ค. 1993 ให้สัตยาบัน
  เนเธอร์แลนด์ 27 ม.ค. 1981 17 ก.พ. 1983 ให้สัตยาบัน
  ปากีสถาน 27 ก.พ. 1986 เข้าถึง
  เปรู 23 มิ.ย. 1981 23 พ.ย. 2005 ให้สัตยาบัน
  ฟิลิปปินส์ 23 เม.ย. 1980 26 พฤษภาคม 1981 ให้สัตยาบัน
  ซาอุดีอาระเบีย 18 ก.ค. 2012 เข้าถึง
  ตุรกี 29 ก.พ. 2012[6] เข้าถึง
  อุรุกวัย 1 มิ.ย. 1981 9 พ.ย. 1981 ให้สัตยาบัน
  เวเนซุเอลา 3 พ.ย. 2016 เข้าถึง

ประเทศที่ลงนาม แก้

ประเทศ[1][2] ลงนาม
  ฝรั่งเศส 29 ม.ค. 1980
  กัวเตมาลา 20 พ.ย. 1980
  อินเดีย 18 ม.ค. 1982
  โรมาเนีย 17 เม.ย. 1980

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Agreement governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies". United Nations. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies". United Nations Office for Disarmament Affairs. สืบค้นเมื่อ 2013-05-16.
  3. Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies. - Resolution 34/68 Adopted by the General Assembly. 89th plenary meeting; 5 December 1979.
  4. Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies, Dec. 5, 1979, 1363 U.N.T.S. 3
  5. "Institutional Framework for the Province of all Mankind: Lessons from the International Seabed Authority for the Governance of Commercial Space Mining.] Jonathan Sydney Koch. "Institutional Framework for the Province of all Mankind: Lessons from the International Seabed Authority for the Governance of Commercial Space Mining." Astropolitics, 16:1, 1-27, 2008. doi:10.1080/14777622.2017.1381824
  6. "Reference: C.N.124.2012.TREATIES-2 (Depositary Notification)" (PDF). New York, NY: United Nations. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ Moon Treaty