สถานีราชปรารภ (อังกฤษ: Ratchaprarop Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับ ในเส้นทางสายซิตี้เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณสามแยกนิคมมักกะสัน ที่จุดตัดถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน และแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ราชปรารภ
A7

Ratchaprarop
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′17″N 100°32′35″E / 13.7548°N 100.5430°E / 13.7548; 100.5430พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′17″N 100°32′35″E / 13.7548°N 100.5430°E / 13.7548; 100.5430
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการเอเชีย เอรา วัน (AERA1)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีA7
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553; 13 ปีก่อน (2553-08-23)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีต่อไป
พญาไท
สถานีปลายทาง
สายซิตี้ มักกะสัน
มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณจุดตัดถนนราชปรารภ คร่อมเหนือสามแยกนิคมมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภและถนนนิคมมักกะสันเลียบทางรถไฟ) ห่างจากสี่แยกมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยาและถนนจตุรทิศ) มาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร และห่างจากสี่แยกประตูน้ำ (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนเพชรบุรีและถนนราชดำริ) มาทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร ในพื้นที่แขวงมักกะสัน และแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสถานีข้างเคียงตามแนวเส้นทางได้แก่สถานีพญาไท อยู่ห่างประมาณ 800 เมตร และสถานีมักกะสัน (อโศก) ห่างประมาณ 1,700 เมตร

สำหรับที่ตั้งของสถานีราชปรารภ เดิมเป็นป้ายหยุดรถราชปรารภในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก แต่ได้หยุดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จระหว่างนี้ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองยังสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟมักกะสันซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 400 เมตรเท่านั้น

แผนผังสถานี แก้

P
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ
ชานชาลา 2 สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
C
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
U2

- ทางออก, ทางเดินเชื่อมไปยังชั้นขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถยนต์

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอย ที่ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นสะพานคนข้าม, ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลาที่ชั้นบนสุด

ทางเข้า-ออก แก้

  • 1 ถนนราชปรารภ ฝั่งมุ่งหน้าแยกสามเหลี่ยมดินแดง
  • 2 ถนนราชปรารภ ฝั่งมุ่งหน้าแยกประตูน้ำ, ถนนนิคมมักกะสัน, โรงงานรถไฟมักกะสัน, ไอดีโอ เวิร์ฟ ราชปรารภ, กรมกิจการเด็กและเยาวชน, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายซิตี้
ชานชาลาที่ 1
A1 สุวรรณภูมิ จันทร์ - ศุกร์ 05:31 00:01
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:30 00:09
ชานชาลาที่ 2
A8 พญาไท จันทร์ - ศุกร์ 05:54 00:26
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:55 00:33

เหตุการณ์สำคัญ แก้

เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมได้ทำการยิงระเบิด M79 จำนวนสองนัดใส่ตัวสถานีราชปรารภ ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ตัวสถานีได้รับความเสียหายตรงบริเวณโดมหลังคาของสถานีเป็นรู จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข่าวลือว่ามีผู้ชุมนุมได้ขึ้นไปยิงระเบิด M79 อีก 1 นัดใส่ตัวรางรถไฟฟ้า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีความเสียหายต่อตัวรางรถไฟฟ้า มีเพียงหลังคาที่เสียหายเท่านั้น

กลางดึกวันที่ 14 ล่วงเข้าเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เกิดเหตุรถตู้พยายามวิ่งฝ่าด่านตรวจค้นของทหารที่ใต้สถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ก่อนข้ามทางรถไฟ ทำให้ทหารที่ประจำการบริเวณนั้นระดมยิงด้วยทั้งกระสุนยางและกระสุนจริงจนรถเสียหายและคนขับได้รับบาดเจ็บสาหัส และมีผู้ถูกลูกหลงเสียชีวิต 2 คน คือ นายพัน คำกองและเด็กชายคุณากร ศรีสุวรรณ ซึ่งทั้งคู่มีคำสั่งศาลชี้มูลการเสียชีวิตว่าเกิดจากการกระทำของทหาร[1]

รถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนราชปรารภ มุ่งหน้า แยก สามเหลี่ยมดินแดง รถขสมก. สาย 13 54 62 72 73 73ก 77 140 204 514 536 A3 รถเอกชน สาย 14 38 74 139 504

ถนนราชปรารภ มุ่งหน้า แยกประตูน้ำ รถขสมก. สาย 13 54 72 73 73ก 77 204 514 536 A3 รถเอกชน สาย 14 58 74 504 มินิบัส 11

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน แก้

โรงแรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. รวมรายชื่อผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 53 และความคืบหน้าทางคดี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.