สถานีมีนบุรี (อังกฤษ: Min Buri station; รหัส: PK30) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสีชมพู และเชื่อมต่อกับสายสีส้มในอนาคต ยกระดับบนซอยรามคำแหง 190/4 ถนนรามคำแหง ในพื้นที่เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

มีนบุรี
PK30

Min Buri
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรามคำแหง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°48′30″N 100°43′57″E / 13.80833°N 100.73250°E / 13.80833; 100.73250พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′30″N 100°43′57″E / 13.80833°N 100.73250°E / 13.80833; 100.73250
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (NBM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPK30
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (0 ปี)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ตลาดมีนบุรี สายสีชมพู สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
Map

ที่ตั้ง แก้

 
ภายนอกของสถานีมีนบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (ยังไม่เปิดให้บริการ ณ ปัจจุบัน)

สถานีตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณซอยรามคำแหง 190/4 ติดกับอาคารจอดแล้วจร สถานีมีนบุรี ในพื้นที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

สถานีมีนบุรีถือเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูช่วง Eastbound สถานีแห่งนี้เชื่อมเข้ากับศูนย์ซ่อมบำรุงทางทิศใต้ ซึ่งอยู่ภายในซอยรามคำแหง 190/4 โดยตรง โดยในอนาคตเมื่อมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายมีนบุรี-ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะวิ่งไปตามทางเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง ก่อนเบี่ยงออกไปยังถนนร่มเกล้าแทน โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างที่เอ็นบีเอ็มก่อสร้างเตรียมไว้ให้ภายในศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ

แผนผังของสถานี แก้

U2
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีชมพู สถานีปลายทาง, มุ่งหน้าเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
ชานชาลา 2 (ป้ายหน้ารถ: ศูนย์ราชการนนทบุรี) สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี (ตลาดมีนบุรี)
(ป้ายหน้ารถ: ทะเลสาบเมืองทองธานี) สายสีชมพู มุ่งหน้า ทะเลสาบเมืองทองธานี (ตลาดมีนบุรี)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
G
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, อาคารจอดแล้วจร, ป้ายรถประจำทาง, ถนนรามคำแหง

รายละเอียดของสถานี แก้

สีสัญลักษณ์ของสถานี แก้

ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นสถานียกระดับ มีความสูงจากชั้นขายบัตรโดยสารถึงชานชาลาเพียง 6 เมตร จำนวน 2 ชั้น เนื่องจากก่อนเข้าสถานีต้องลอดใต้ทางวิ่งของสายสีส้ม ชานชาลาเป็นชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform) ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

รถโดยสาร แก้

ถนนรามคำแหง แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
168 2
(กปด.22)
  อู่สวนสยาม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
168   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
168ก   อู่สวนสยาม หมู่บ้านบัวขาว รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการเฉพาะตอนเช้าวันละ 1 รอบ
143 2
(กปด.22)
แฮปปี้แลนด์ พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการเฉพาะเช้า 2 เที่ยว/เย็น 1 เที่ยว
514 2
(กปด.12)
  อู่มีนบุรี สีลม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
519 2
(กปด.32)
  อู่สวนสยาม สาธุประดิษฐ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
519 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ทางเข้า-ออก แก้

  • 1 อาคารจอดแล้วจรฝั่งเหนือ (มีสะพานเชื่อมไปยังชั้น 3 ของอาคารจอดแล้วจร; บันไดเลื่อนขึ้น, ลิฟต์), ถนนรามคำแหง
  • 2 อาคารจอดแล้วจรฝั่งใต้, ซอยรามคำแหง 190/4, ศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

  • ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า
  • บิ๊กซี ร่มเกล้า
  • ไทวัสดุ สุขาภิบาล 3
  • โลตัส สุขาภิบาล 3
  • เคหะรามคำแหง

อ้างอิง แก้