สงครามโก้นบอง–หงสาวดี
สงครามโก้นบอง–หงสาวดี (พม่า: ကုန်းဘောင်-ဟံသာဝတီ စစ်; อังกฤษ: Konbaung–Hanthawaddy War) เป็นสงครามที่สู้กันระหว่างราชอาณาจักรโก้นบองและราชอาณาจักรหงสาวดีใหม่ในพม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1752 ถึง 1757 เป็นสงครามชุดสุดท้ายในระหว่างโก้นบองอันเป็นกลุ่มผู้ใช้ภาษาพม่าซึ่งอยู่ทางเหนือกับหงสาวดีอันเป็นกลุ่มผู้ใช้ภาษามอญซึ่งอยู่ทางใต้ จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของมอญซึ่งเคยครองภาคใต้มาหลายร้อยปี[4][5]
สงครามโก้นบอง–หงสาวดี | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามของอาณาจักรโก้นบอง | |||||||
![]() การรุกรานพม่าตอนล่างของฝ่ายโก้นบองช่วง ค.ศ. 1755–57 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() |
ราชอาณาจักรหงสาวดีใหม่![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
พญาทะละ อุปราชแห่งพะโค Talaban Toungoo Ngwegunhmu ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
~5000 (ค.ศ. 1752) 20,000[1] (ค.ศ. 1753) 30,000+ (ค.ศ. 1754–57)[2] |
10,000 (ค.ศ. 1752)[3] ~7,000 (ค.ศ. 1753) 20,000 (ค.ศ. 1754–57) | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ แต่คงมากกว่าหงสาวดี | ไม่ทราบ |
สงครามนี้เริ่มในเดือนเมษายน ค.ศ. 1752 ในสภาพขบวนการอิสระต่อต้านอำนาจกองทัพหงสาวดีที่เพิ่งยึดอำนาจจากราชอาณาจักรตองอู การต่อต้านดังกล่าวมีผู้นำคือพระเจ้าอลองพญาผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรโก้นบอง พระองค์สามารถเอาชัยในพื้นที่พม่าตอนบนได้ทั้งหมดเมื่อสิ้น ค.ศ. 1753 หงสาวดีจากภาคใต้จึงรุกรานกลับอย่างเต็มรูปแบบใน ค.ศ. 1754 แต่ไม่สำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามก็มีลักษณะทางชาติพันธุ์มากขึ้น เพราะเป็นการสู้กันของพม่าจากทางเหนือกับมอญจากทางใต้ กองทัพโก้นบองเข้าสู่พม่าตอนล่างในเดือนมกราคม ค.ศ. 1755 ยึดดินดอนสามเหลี่ยมอิรวดีและเมืองดะโกนเป็นผลสำเร็จในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น เมืองท่าสิเรียมที่อยู่ในความพิทักษ์ของกลุ่มฝรั่งเศสยื้อสงครามออกไปอีก 14 เดือน แต่ถูกตีแตกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1756 ทำให้ฝรั่งเศสยุติบทบาทในสงครามครั้งนี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1757 ฝ่ายโก้นบองยึดพะโคเมืองหลวงของหงสาวดีไว้ได้ ราชอาณาจักรหงสาวดีที่ตั้งมาได้ 16 ปีจึงล่มสลายลง กองกำลังมอญแห่งหงสาวดีถอยไปตั้งตัวในคาบสมุทรตะนาวศรีอยู่หลายปีโดยได้ความช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยา แต่พม่าแห่งโก้นบองยึดคาบสมุทรดังกล่าวคืนจากกรุงศรีอยุธยาและขับไล่มอญออกไปได้ใน ค.ศ. 1765
เมื่อสิ้นสงคราม กลุ่มชาติพันธุ์พม่าจากทางเหนือเข้าตั้งรกรากในคาบสมุทรตะนาวศรี และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การกลืนและสมรสกันระหว่างชาติพันธุ์ทำให้มอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อยไปในที่สุด[4]
อ้างอิง แก้
บรรณานุกรม แก้
- Letwe Nawrahta and Twinthin Taikwun (c. 1770). Hla Thamein (บ.ก.). Alaungpaya Ayedawbon (ภาษาพม่า) (1961 ed.). Ministry of Culture, Union of Burma.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.