ปลาหัวงอน
ปลาหัวงอน | |
---|---|
ภาพวาดของปลาหัวตะกั่วทองคำ (A. lineatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cyprinodontiformes |
วงศ์: | Aplocheilidae |
สกุล: | Aplocheilus McClelland, 1839 |
ชนิดต้นแบบ | |
Aplocheilus chrysostigmus McClelland, 1839 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาหัวงอน หรือ ปลาหัวตะกั่ว (อังกฤษ: Panchax) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aplocheilus (/แอ็พ-โล-โคล-อัส/; มาจากภาษากรีก "Aploe" หมายถึง "เดี่ยว" และ "cheilos" หมายถึง "ริมฝีปาก")
จัดอยู่ในวงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีลักษณะสำคัญคือ ปากยืดหดได้ มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลาง ฐานของครีบอกอยู่ต่ำกว่าระดับกึ่งกลางลำตัว ครีบหางมนกลม
เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วในทุกแหล่งน้ำอย่างกว้างขวางในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซุนดา มีขนาดทั่วไปไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าและสีสันสวยงามและหลากหลายกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ไว้กับไม้น้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-14 วัน
การที่มีถิ่นการแพร่ขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีการสันนิษฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นด้วยมนุษย์ซึ่งได้เลี้ยงปลาสกุลนี้เป็นปลาสวยงามอยู่แล้ว อีกทั้งไข่ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทนร้อน และทนแห้งได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาคิลลี่ฟิช (สามารถส่งไปในซองจดหมายได้ด้วย) จึงประมาณกันว่าการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนั้นเกิดจากการ่มีไข่ปลาติดไปกับการขนส่งต้นข้าว หรือพืชน้ำต่าง ๆ[2]
แต่ตัวผู้มีอุปนิสัยก้าวร้าว มักชอบกัดกันเองคล้ายกับปลากัดหรือปลาเข็ม ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน ซึ่งคนไทยในสมัยโบราณมักจะจับมากัดกันเพื่อการพนัน[3]
ชนิด
แก้- Aplocheilus blockii (Arnold, 1911)
- Aplocheilus dayi (Steindachner, 1892)
- Aplocheilus kirchmayeri Berkenkamp & Etzel, 1986
- Aplocheilus lineatus (Valenciennes, 1846)
- Aplocheilus panchax (Hamilton, 1822) เป็นชนิดที่พบได้เพียงชนิดเดียวในประเทศไทย
- Aplocheilus parvus (Sundara Raj, 1916)
- Aplocheilus werneri Meinken, 1966 [4]
อ้างอิง
แก้- ↑ McClelland, J. (1839) Indian Cyprinidae. Asiatic Researches. 19 (pt 2): 217-471, Pls. 37-61.
- ↑ Genus Aplocheilus โดย Jens Kühne. คอลัมน์ Mini Atlas, หน้า 34-35. นิตยสาร Aquarium Biz: ปีที่ 2 ฉบับที่ 26 พฤศจิกายน 2012
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8 หน้า 106-107
- ↑ "Aplocheilus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.