ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อดีตประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในขณะนั้น หรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน อดีตผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 8 ธันวาคม ค.ศ. 1947 (73 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์ |
องค์การ | มหาวิทยาลัยมหิดล |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตประธานกรรมการบริหาร SIPA อดีต CIO และรองอธิการบดีฯ ม.มหิดล |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ เคยได้รับพระราชทานเหรียญทอง และรางวัลทุนภูมิพล สำหรับการสอบได้คะแนนรวมเป็นที่ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2513 และเคยได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2514 [1]
หลังจากสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (จากภาควิชาคอมพิวเตอร์) ในปี 2546 นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิก ออกแบบ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT และระบบสารสนเทศที่สำคัญมากมายให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ระบบเครือข่ายสื่อสาร MUC-Net (MU Campus Network)[2], Intra-phone[3], ระบบ eMeeting, และ IPTV[4] เป็นต้น
ผลงานที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักคือ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ฉบับแรกของโลก หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retrieval)[5] ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2532 และรางวัล Distinguished Service Award จาก University of California, Berkeley สหรัฐอเมริกา ปี 2536 และอีกหนึ่งผลงานก็คือ "Intra-Phone ม.มหิดล" ได้รับรางวัลเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐดีเด่น: รางวัลชนะเลิศสาขานวัตกรรมไอทีดีเด่น ประจำปี 2545 จากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
ประวัติการศึกษาแก้ไข
- พ.ศ. 2513 - ปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2515 - ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า Purdue University สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
- พ.ศ. 2519 - ปริญญาเอก สาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) Purdue University สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
ประวัติการทำงานแก้ไข
ด้านวิชาการและบริหารแก้ไข
- พ.ศ. 2523 - เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโครงการศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าโครงการ
- พ.ศ. 2529 - รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2530-2542 - ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2532 - เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2532-2540 - หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2533 - รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2541-2550 - ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542-2550 - รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2546 - จัดตั้งโครงการ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะ ICT ม.มหิดล ในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2547 - รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล [6]
- พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน - ที่ปรึกษาอาวุโส คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล [7]
- พ.ศ. 2553-2557 - ประธานคณะกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA[8]
- พ.ศ. 2555 - ศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล [9]
- พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [10]
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆแก้ไข
- อดีตคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- อดีตคณะที่ปรึกษากำกับและบริหารโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)[11][12] และเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN)[13] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- อดีตอุปนายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- อดีตที่ปรึกษาเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand)
- อดีตที่ปรึกษาวารสารคอมพิวเตอร์ทางวิชาการ ของสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับดูแลการปรับบทบาทกรมบัญชีกลาง
- อดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
- อดีตกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคม หอการค้าไทย
- อดีตอนุกรรมการกำกับดูแลการจัดทำแผนแม่บทระบบสารสนเทศ ของทบวงมหาวิทยาลัย
- อดีตกรรมการในคณะกรรมการบริหารงานคอมพิวเตอร์ กรุงเทพมหานคร
- อดีตกรรมการในคณะอนุกรรมการโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม สาขาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการและอดีตคณะกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย คณะกรรมาธิการสาธารณสุข [14][15]
- ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- รองประธานคณะกรรมการของการจัดแข่งขันรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ (IT Princess Award) [16]
เกียรติคุณและรางวัลแก้ไข
- พ.ศ. 2508 - ได้ที่ 1 ในการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2511-2513 - ได้ทุนเรียนดีของพระเจริญวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2513 - ได้รับพระราชทานเหรียญทอง และรางวัลทุนภูมิพล สำหรับการสอบได้คะแนนรวมเป็นที่ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514-2519 - ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา[17]
- พ.ศ. 2516-2519 - ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก National Science Foundation สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2532 - รางวัลดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล ในผลงาน “พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์"
- พ.ศ. 2532 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2536 - รางวัล Distinguished Service Award จาก University of California, Berkeley ในผลงาน Electronic Pali Canon หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retreival)
- พ.ศ. 2540 - รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภท สมาคม องค์การ มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2545 - ผลงาน "Intra-Phone" มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐดีเด่น: รางวัลชนะเลิศสาขานวัตกรรมไอทีดีเด่น และผลงาน "โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานมหาวิทยาลัย (ระบบ MU-ADMIN-IS)" ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาบริหารองค์กรดีเด่น จากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ [18]
- พ.ศ. 2553 - รางวัลดีเด่นสาขาการแต่งตำราของมหาวิทยาลัยมหิดล ในหนังสือที่มีชื่อว่า "ระบบการจัดเก็บและการสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ (Information Storage and Retrieval System)" ซึ่งถือเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์เป็นภาษาไทย [19][20]
ผลงานหนังสือแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์
- ↑ MUC-Net
- ↑ Intra-phone
- ↑ IPTV @Mahidol
- ↑ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ หรือ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retrieval)
- ↑ ทำเนียบผู้บริหาร หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ ทำเนียบคณะกรรมการบริหาร SIPA
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ ธ.ค.๒๕๕๗ เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
- ↑ รายงานการประชุมสภา ม.มหิดลครั้งที่ 499
- ↑ e-Government
- ↑ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
- ↑ [http://www.ryt9.com/s/prg/82161 Government Information Network (GIN)
- ↑ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย
- ↑ รายนามอดีตคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย
- ↑ คณะกรรมการรางวัลเจ้าฟ้าไอที
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์
- ↑ บุคลากรและหน่วยงานดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2545
- ↑ รายชื่อนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/รางวัลและผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2553 มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ สุดยอดอาจารย์มหิดล
- ↑ ศูนย์หนังสือจุฬา
- ↑ ศูนย์หนังสือจุฬา