ศรีภูมิ ศุขเนตร
ศรีภูมิ ศุขเนตร เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชรัฐโมนาโกประจำกรุงเทพมหานคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และอดีตอธิบดีกรมการบินพาณิชย์
ศรีภูมิ ศุขเนตร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2475 |
คู่สมรส | ม.ร.ว.วรรณาภรณ์ ศุขเนตร |
ประวัติ
แก้ศรีภูมิ ศุขเนตร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง มหาวิทยาลัยปารีส ระดับปริญญาโท ดิโพลม่าเทียบปริญญาโท โดย กพ. สถาบันไปรษณีย์โทรคมนาคมขั้นสูงแห่งชาติ และโรงเรียนการปกครองแห่งชาติปารีส และได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ระดับปริญญาเอก จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งจบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[1]
ศรีภูมิ ศุขเนตร สมรสกับหม่อมราชวงศ์วรรณาภรณ์ ศุขเนตร มีบุตร 3 คน คือ สันธาน ศิรเวท และศิรนันท์ ศุขเนตร[2]
การทำงาน
แก้ศรีภูมิ ศุขเนตร เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมการบินพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ ปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (มนตรี พงษ์พานิช) ได้ลงนามในสัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับใน กทม. และการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ รฟท. หรือ โครงการโฮปเวลล์ และนายศรีภูมิ ได้ร่วมลงนามในฐานะพยาน[3] ต่อมาถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] โดยคณะรัฐประหาร (คณะ รสช.) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534
ศรีภูมิ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และยังเคยเป็นประธานบริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2516[5] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2517[6] จนถึงปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2531[7] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการโทรคมนาคม จนถึงวันที่มีการรัฐประหารเมื่อ กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.
ศรีภูมิ เคยเป็นนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2542 รวม 4 สมัย
ศรีภูมิ ศุขเนตร เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ของราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย และเป็นประธานคณะกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งประเทศไทย[8] อยู่ 15 ปี จากปี พ.ศ.2546 ถึงปี พ.ศ. 2561
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2547 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3 กอม็องเดอร์[14]
ประสบการณ์การทำงาน
แก้ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมคนแรกของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย
ศรีภูมิ เป็นประธานคนแรกของสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย
ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมคนแรกของสมาคมนักเรียนเก่าฝรั่งเศส
ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าภาคพื้นยุโรปในพระบรมราชูปถัมภ์
ศรีภูมิ เป็นกรรมการบริหารรุ่นก่อตั้งของ International Satellite Organization (INTELSAT) ณ กรุงวอชิงตันดีซี
ศรีภูมิ เป็นกรรมการบริหารของบริษัทดาวเทียม IRADIUM ซึ่งจดทะเบียน ณ มลรัฐ Delaware, U.S.A.
ศรีภูมิ เป็นประธานคนแรกของสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) HCAT ซึ่งจดทะเบียนสมาคมเมื่อ พ.ศ. 2554
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติย่อกรรมการอาชีพในทำเนียบ IOD[ลิงก์เสีย]
- ↑ เว็บไซต์ข่าวแนวหน้า
- ↑ 'อาคม' ข้องใจ! ผู้บริหารคมนาคมร่วมเซ็นสัญญาโฮปเวลล์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (พลตรี กมล ทัพพะรังสี, นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายอนันต์ อนันตกูล)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (พลโท สพรั่ง นุตสถิตย์ พลเอก อัธยา แผ้วพาลชน นายบรรจง ชูสกุลชาติ นายชาตรี โสภณพนิช นายศรีภูมิ ศุขเนตร)
- ↑ กงสุลกิตติมศักดิ์...ดีกรีใหม่มหาเศรษฐีเมืองไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๐, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘๙, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์