วิชัย ตันศิริ
วิชัย ตันศิริ เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (กิตติมศักดิ์)
วิชัย ตันศิริ | |
---|---|
ไฟล์:วิชัย ตันศิริ.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | พยงค์ ตันศิริ |
ประวัติ
แก้วิชัย ตันศิริ หรือ ดร.วิชัย ตันศิริ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ที่ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายเจียง กับนางสำเภา ตันศิริ[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาเอก (Political Science) จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา
วิชัย ตันศิริ สมรสกับรองศาสตราจารย์ พยงค์ ตันศิริ[3]
การทำงาน
แก้ดร.วิชัย ตันศิริ เคยเป็นอาจารย์คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในวงการประวัติศาสตร์ และวงการการศึกษา อาทิ รองผู้แทนถาวรประจำองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และตำแหน่งทางราชการในกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ รองอธิบดีกรมวิชาการ รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน เลขาธิการ ก.ค. และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
วิชัย ตันศิริ เป็นนักการศึกษาที่มีผลงานแต่งหนังสือจำนวนมาก อาทิ หนังสือการพัฒนาการเมืองที่ยั่งยืน[4] หนังสือวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย[5] หนังสือเส้นทางเกียรติยศ จากราชการสู่ถนนการเมือง[6]
งานการเมือง
แก้หลังเกษียณอายุ ดร.วิชัย เข้าสู่งานการเมืองโดยการเข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (2) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 37 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง หลังจากนั้น ดร.วิชัย ก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก แต่ยังคงรับหน้าที่เป็นกรรมการที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ รศ.พยงค์ ตันศิริ ภรรยาของนายวิชัย ตันศิริ ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (กิตติมศักดิ์)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-22.
- ↑ วิชัย ตันศิริ, วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
- ↑ วิชัย ตันศิริ. เส้นทางเกียรติยศ จากราชการสู่ถนนการเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๖, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔