วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561

ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์ซึ่งแสดงความสามารถของประเทศในการปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวไกลเกินภูมิภาคประชิดและแนะว่าขีดความสามารถอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกำลังพัฒนาในอัตราเร็วกว่าที่ประชาคมข่าวกรองสหรัฐเคยประเมินไว้เดิม[4][5][6] เหตุนี้ ร่วมกับการซ้อมรบร่วมสหรัฐ–เกาหลีใต้ที่จัดเป็นประจำในเดือนสิงหาคม 2560 เช่นเดียวกับการขู่ของสหรัฐ เพิ่มความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค[7]

วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งเกาหลี
วันที่8 เมษายน พ.ศ. 2560 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(1 ปี 2 เดือน 4 วัน)
สถานที่
ผล
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พื้นที่แนวจำกัดตอนเหนือกลายเป็นเขตสันติภาพทางทะเล
คู่ขัดแย้ง
 เกาหลีเหนือ

 เกาหลีใต้


ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เกาหลีเหนือ คิม จ็อง-อึน

เกาหลีใต้ มุน แจ-อิน


ลำดับเหตุการณ์ แก้

การเคลื่อนยูเอสเอส คาร์ล วินสัน แก้

 
กลุ่มจู่โจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน และเรือรบกองทัพเรือเกาหลีใต้กำลังซ้อมรบร่วมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560

ให้หลังการทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางจากท่าซินโพทางตะวันออกของประเทศสู่ทะเลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 หนึ่งเดือนหลังการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวสี่ลูกมุ่งหน้าสู่ทะเลญี่ปุ่น ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่าสหรัฐเตรียมพร้อมกระทำการฝ่ายเดียวเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือ[8][9] วันที่ 9 เมษายน กองทัพเรือสหรัฐประกาศว่ากำลังส่งกลุ่มโจมตีกองทัพเรือที่มีซูเปอร์แคริเออร์ ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน เป็นเรือนำ ไปมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แต่เนื่องจากคลับคล้ายว่ามีการสื่อสารผิดพลาดในรัฐบาลสหรัฐ การเคลื่อนทัพเรือจึงมีการเสนอว่ากำลังมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี[10][9][11][12] รัฐบาลสหรัฐย้อนรอยสารสนเทศนี้เมื่อไม่กี่วันก่อน[13][14]

วันที่ 17 เมษายน รองเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติกล่าวหาสหรัฐว่าเปลี่ยนคาบสมุทรเกาหลีเป็น "จุดร้อนใหญ่สุดของโลก" และรัฐบาลเกาหลีเหนือแถลง "ความพร้อมของตนในการประกาศสงครามต่อสหรัฐหากกำลังเกาหลีเหนือถูกโจมตี"[15] ความจริงในวันที่ 18 เมษายน คาร์ล วินสันและเรือนำทางอยู่ห่างจากเกาหลี 3,500 ไมล์โดยมีกำหนดซ้อมรบร่วมกับกองทัพเรือออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย[16][17][18] วันที่ 24 เมษายน เรือประจัญบานญี่ปุ่น อะชิงะระ และ ซะมิดะเระ เข้าร่วมกับยูเอสเอส คาร์ล วินสัน ในการฝึกซ้อมทางยุทธวิธีใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเกาหลีเหนือขู่ว่าจะจมเรือในการโจมตีคราวเดียว[19] เรือบรรทุกเครื่องบิน คาร์ล วินสัน อยู่ในทะเลจีนใต้ในปี 2558 และเริ่มลาดตระเวนรูทีนอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2560[20] ปลายเดือนเมษายน 2560 ทรัมป์กล่าวว่า "มีโอกาสที่เรา [สหรัฐ] อาจลงเอยด้วยความขัดแย้งใหญ่มาก ๆ กับเกาหลีเหนือ"[21]

วันที่ 24 เมษายน ประเทศเกาหลีเหนือจัดวันครบรอบ 85 ปีกองทัพประชาชนเกาหลีโดยสิ่งที่กล่าวว่า "การซ้อมรบใหญ่สุด" ในว็อนซัน[22] วันถัดมา มีรายงานว่าสหรัฐและเกาหลีใต้เริ่มติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD ในเคาน์ตีซองจูของเกาหลีใต้[23]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป 4 กรกฎาคม แก้

วันที่ 4 กรกฎาคมตามเวลาเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบที่มีประกาศครั้งแรกของขีปนาวุธข้ามทวีปฮวาซอง-14 ซึ่งกำหนดให้ตรงกับการเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐ การบินนี้มีพิสัยตามอ้าง 933 กิโลเมตรทางตะวันออกสู่ทะเลญี่ปุ่น (ทะเลเกาหลีตะวันออก) และแตะระดับความสูง 2,802 กิโลเมตรระหว่างการบิน 39 นาที[24][25] ผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลสหรัฐจัดการปล่อยขีปนาวุธครั้งนี้ว่าเป็นก้าวใหญ่ของรัฐบาลเกาหลีเหนือในการได้อาวุธหัวนิวเคลียร์ซึ่งสามารถโจมตีสหรัฐได้[26] ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าปัจจุบันตนเป็น "รัฐนิวเคลียร์เต็มตัวซึ่งครอบครองจรวดขีปนาวุธข้ามทวีปทรงพลังที่สุดซึ่งสามารถโจมตีส่วนใดของโลกก็ได้"[27][28]

กำลังสหรัฐในเกาหลีกล่าวในแถลงการณ์ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ว่า "กำลังพลกองทัพสหรัฐที่ 8 และกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีดำเนินการฝึกซ้อมร่วมเพื่อตอบโต้การกระทำบั่นทอนเสถียรภาพและไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม"[29] มีการปล่อยระบบขีปนาวุธยุทธวิธีฮย็อนมู-2บีของเกาหลีใต้และกองทัพบกสหรัฐระหว่างการฝึกซ้อมด้วย[30][31]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่น 29 สิงหาคม แก้

วันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเวลา 6:00 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่นเล็กน้อย ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธซึ่งบินข้ามเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขีปนาวุธนี้แตะระดับความสูง 550 กิโลเมตรและทำระยะทางทั้งหมดได้ประมาณ 2,700 กิโลเมตรก่อนตกในมหาสมุทรแปซิฟิก ขีปนาวุธนี้ไม่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยิงตก[32] ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ขีปนาวุธเกาหลีเหนือผ่านดินแดนญี่ปุ่นโดยสองครั้งก่อนหน้านี้ในปี 2541 และ 2552 ทว่า ทั้งสองครั้งก่อนหน้านี้เกาหลีเหนืออ้างว่ากำลังปล่อยดาวเทียม[33] ขีปนาวุธดังกล่าวทำให้เกิดการกระตุ้นระบบเตือนภัยเจ-อะเลิร์ตในโทโฮกุและฮกไกโด แนะนำให้ประชาชนหาที่หลบภัย[34][35] การปล่อยดังกล่าวกำหนดให้ตรงกับวันครบรอบปีที่ 107 ของสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น–เกาหลี และสำนักข่าวกลางเกาหลีกล่าวว่าเป็น "แผนกล้าหาญในการทำให้ชาวเกาะญี่ปุ่นผู้เหี้ยมโหดไม่รู้สึกในวันที่ 29 สิงหาคมนองเลือด"[36] กล่าวว่าขีปนาวุธที่ปล่อยมีแนววิถีราบกว่าที่เคยทดสอบก่อนหน้านี้ในปี 2560[37]

มีการเรียกประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวันนั้นเพื่ออภิปรายเหตุการณ์[38] ในถ้อยแถลงที่ทำเนียบขาวออกเพื่อสนองต่อการปล่อยขีปนาวุธ ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า "ทุกตัวเลือกเป็นไปได้" เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ[39]

การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 6: กันยายน 2560 แก้

วันที่ 3 กันยายน 3:31 น. UTC การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐรายงานว่าตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ในประเทศเกาหลีเหนือใกล้จุดทดสอบพุงกเย-รี[40] เมื่อพิจารณาความตื้นของแผ่นดินไหวและระยะที่ใกล้กับศูนย์ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์หลักของเกาหลีเหนือ ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่า เกาหลีเหนือได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 นับจากการจุดระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 2549[41] ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่า ตนทดสอบระเบิดไฮโดรเจนซึ่งสามารถติดตั้งบนขีปนาวุธข้ามทวีปได้[42] หน่วยงานเฝ้าสังเกตคลื่นแผ่นดินไหวอิสระ นอร์ซาร์ (NORSAR) ประเมินว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 120 กิโลตัน[43] ถ้อยแถลงของสำนักข่าวกลางเกาหลีวันที่ 3 กันยายนยังอ้างความสามารถของเกาหลีเหนือใน "การโจมตีอีเอ็มพีรุนแรงยิ่งยวด"[44]

วันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เจมส์ แมตทิสกล่าวในนามของทำเนียบขาว เตือนว่าจะมี "การตอบโต้ทางทหารขนานใหญ่" ่ต่อภัยคุกคามใด ๆ จากประเทศเกาหลีเหนือต่อสหรัฐ รวมทั้งกวม และพันธมิตร[45]

เช้าวันที่ 4 กันยายน ประเทศเกาหลีใต้ดำเนนิการฝึกซ้อมขีปนาวุธทิ้งตะวซึ่งเกี่ยวข้องกับขีปนาวุธทิ้งตัวฮย็อนมูและเครื่องบินเจ็ตขับไล่เอฟ-15เคของเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าเป็นการตอบสนองต่อการจุดระเบิดของเกาหลีเหนือ สำนักข่าวของรัฐ ยอนฮัพ กล่าวว่ากองทัพเกาหลีใต้ดำเนินการซ้อมรบกระสุนจริงซึ่งจำลองการโจมตีจุดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยโจมตี "เป้าหมายที่กำหนดในทะเลตะวันออก"[46][47]

วันเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมกันเพื่อภิปรายมาตรการเพิ่มเติมต่อเกาหลีเหนือ[48] ฉบับร่างที่รั่วไหลของข้อมติคณะมนตรีฯ ที่เกี่ยวข้องที่สหรัฐเตรียมกล่าวกันว่าจะเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรน้ำมันต่อเกาหลีเหนือ ห้ามการส่งออกสิ่งทอ และห้ามจ้างคนงานเกาหลีนอกประเทศตลอดจนการลงโทษเป็นการบุคคลต่อคิม จ็อง-อึน[49] แม้จีนและรัสเซียคัดค้าน แต่วันที่ 8 กันยายน สหรัฐขอการออกเสียงลงคะแนนของคณะมนตรีฯ ต่อข้อมติของสหรัฐ[50] ข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ 2375 ที่ผ่านเมื่อวันที่ 11 กันยายนเป็นคำขอของสหรัฐฉบับที่เบาลงมาก[51]

ฝ่ายจีนและรัสเซียเรียกร้องให้สงบทั้งสองฝ่าย คือ ยุติการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือและการซ้อมรบของสหรัฐและเกาหลีใต้ ขั้นต่อไปจะเป็นการเจรจา[52][51]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่น 15 กันยายน แก้

วันที่ 15 กันยายน 2560 มีการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางจากใกล้กรุงเปียงยางข้ามเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ก่อนตกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกห่างจากแหลมเอะริโมะประมาณ 2,000 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 7:16 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขีปนาวธนี้เดินทาง 3,700 กิโลเมตร มีจุดโคจรไกลสุด 770 กิโลเมตรระหว่างอยู่ในอากาศ 19 นาที เป็นขีปนาวุธพิสัยกลางของเกาหลีเหนือไกลสุดที่เดินทางเลยประเทศญี่ปุ่น[53]

การทดสอบขีปนาวุธ 28 พฤศจิกายน แก้

วันที่ 28 พฤศจิกายน ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวอีกลูก[54] ภาพถ่ายฮวาซอง-15 แสดงเครื่องยนต์เสริมกำลังของขีปนาวุธเป็นเครื่องยนต์ฮวาซอง-14 ผูกติดกันเป็นขั้นแรก ตามที่นักวิเคราะห์สามคนเห็นตรงกัน[55] กล่าวกันว่าขีปนาวุธบินถึงระดับความสูงเป็นสถิติ 2,800 ไมล์ และตกในทะเลญี่ปุ่นเข้าเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เป็นระยะทาง 600 ไมล์[56] การประเมินขั้นต้นของเพนตากอนแนะว่าเป็นขีปนาวุธข้ามทวีปเมื่อติดสินจากความสูง[56] กระทรวงกลาโหมของประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นก็สรุปว่าน่าจะมีการปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปและมันมีแนววิถีโค้ง[56]

อ้างอิง แก้

  1. "North Korea threatens Australia with nuclear strike over US allegiance". News.com.au. เมษายน 24, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 15, 2017. สืบค้นเมื่อ กันยายน 25, 2017.
  2. "Kim Jong Un vows to 'leave the past behind' after historic Singapore summit with Donald Trump". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-12.
  3. "North Korea threatens Australia with disaster if it continues to support US stance on Pyongyang". ABC News. ตุลาคม 15, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 17, 2017. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 17, 2017.
  4. Intelligence Agencies Say North Korean Missile Could Reach U.S. in a Year NYT, July 25, 2017.
  5. Warrick, Joby (August 8, 2017). "North Korea now making missile-ready nuclear weapons, U.S. analysts say". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ August 9, 2017.
  6. Three things to know about North Korea's missile tests: With advances in its long-range missile programme, here are three technical milestones and why they matter. Aljazeera, September 3, 2017.
  7. North Korea’s Potential Targets: Guam, South Korea and Japan NYT, August 9, 2017.
  8. Trump ready to 'solve' North Korea problem without China BBC, April 3, 2017.
  9. 9.0 9.1 "North Korea missiles: US warships deployed to Korean peninsula". BBC. April 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  10. Carl Vinson Strike Group Departs Singapore for Western Pacific เก็บถาวร 2017-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน navy.mil, Story Number: NNS170409-02 Release Date: April 9, 2017.
  11. Ryan Browne (April 8, 2017). "US aircraft carrier-led strike group headed toward Korean Peninsula". CNN. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  12. "U.S. armada heads to Korea". RT. April 13, 2017. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017. We are sending an armada. Very powerful," Trump told Fox. "We have submarines. Very powerful. Far more powerful than the aircraft carrier. That I can tell you.
  13. 'Armada' Trump claimed was deployed to North Korea actually heading to Australia The Independent, April 19, 2017.
  14. Landler, Mark (April 18, 2017). "Aircraft Carrier Wasn't Sailing to Deter North Korea, as U.S. Suggested". The New York Times.
  15. Edith M. Lederer (April 17, 2017). "North Korea says it's ready to react to any mode of war desired by the US". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  16. "Aircraft carrier 3500 miles from Korea". The New York Times. April 18, 2017. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  17. Cavas, Christopher P. (April 17, 2017). "Nothing to see here: US carrier still thousands of miles from Korea". Defense News. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  18. Acosta, Jim; Ryan Browne (April 18, 2017). "Official: White House, Pentagon miscommunicated on aircraft carrier's location". CNN. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  19. Junko, Ogura (April 24, 2014). "North Korea threatens to sink US aircraft carrier". CNN.
  20. "South China Sea: US carrier group begins 'routine' patrols". BBC. February 19, 2017. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  21. "Trump fears 'major, major conflict' with North Korea". BBC. April 28, 2017. สืบค้นเมื่อ April 28, 2017.
  22. North Korea marks anniversary with massive artillery drill CNN, April 26, 2017.
  23. Missile Defense System Takes Shape in South Korea as North Holds Drills NYT, April 25, 2017.
  24. "North Korea's Kim Jong Un says ICBM an Independence Day 'gift' to 'American b**tards': KCNA". The Straits Times. July 5, 2017. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
  25. "What is True and Not True About North Korea's Hwasong-14 ICBM: A Technical Evaluation". 38 North. July 10, 2017. As was noted at the time, the Hwasong-14 was launched on a very high angle "lofted" trajectory to avoid overflying Japan, ...
  26. US bombers fly over Korean Peninsula in response to N. Korea's ICBM test CNN, July 8, 2017.
  27. Trump warns North Korea of 'severe' options over missile test BBC, July 6, 2017.
  28. North Korea missile: US confirms long-range test BBC, July 5, 2017.
  29. ROK-US Alliance Demonstrates Precision Firing Capability USFK, July 4, 2017.
  30. U.S., South Korea stage show of force after North Korea ICBM test Reuters, July 5, 2017.
  31. US, ROK Conduct Precision-Strike Drill in Response to North Korean ICBM Launch: The U.S. Army and Republic of Korea military personnel test fired missiles in response to North Korea’s most recent ICBM test. The Diplomat, July 5, 2017.
  32. "Kim guided North Korean missile test". skynews.com.au. August 30, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ August 30, 2017.
  33. North Korea Fires Missile Over Japan, New York Times, CHOE SANG-HUN and DAVID E. SANGER, August 28, 2017
  34. Roberts, Rachel (August 28, 2017). "North Korea just launched a missile over Japan". The Independent. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
  35. "North Korea fires missile over Japan in 'unprecedented threat'". BBC News. August 29, 2017. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
  36. McCurry, Justin (August 30, 2017). "North Korea's Kim Jong-un says missile launch a prelude to 'containing Guam'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 30, 2017.
  37. Trump and Abe vow to increase pressure after North Korea fires missile over Japan The Guardian, August 29, 2017.
  38. Rosenfeld, Everett (August 28, 2017). "UN Security Council will meet Tuesday on North Korea missile launch". CNBC. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
  39. "Statement by President Donald J. Trump on North Korea". White House (Press release). August 28, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
  40. Jeffrey Lewis (13 Sep 2017) SAR image of Punggye-ri
  41. "North Korea nuclear test: Hydrogen bomb 'missile-ready'". BBC News. September 3, 2017. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
  42. Mason, Jeff; Michael Martina (September 3, 2017). "Trump says U.S. not 'putting up with' North Korea's actions". Reuters. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
  43. "Large nuclear test in North Korea on 3 September 2017". NORSAR. September 3, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-04. สืบค้นเมื่อ September 3, 2017.
  44. Kim Jong Un Gives Guidance to Nuclear Weaponization Korean Central News Agency, September 3, 2017.
  45. Mattis warns of 'massive military response' to NK nuclear threat CNN, September 3, 2017.
  46. South Korea Missile Exercise After North Korea Nuke Test: Yonhap: South Korea's military said the range to the simulated targets were equivalent to the North's Punggye-ri nuclear test site in its northeastern province. NDTV, September 4, 2017.
  47. S. Korea holds missile drill in response to North's nuclear test France 24/AFP, September 4, 2017.
  48. Security Council Condemns Underground Nuclear Test by Democratic People’s Republic of Korea, with Members Calling for Tougher Sanctions UN, September 4, 2017.
  49. North Korea: Trump doesn't rule out military strike but says it is 'not our first choice' after call with China The Independent, September 6, 2017.
  50. U.S. Demands UN Vote On North Korea Sanctions Despite Russian, Chinese Resistance Radio Free Europe/Radio Liberty, September 9, 2017.
  51. 51.0 51.1 Lederer, Edith M. (September 11, 2017). "UN approves watered-down new sanctions against North Korea". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2017. สืบค้นเมื่อ September 12, 2017.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  52. North Korea crisis: What will Russia do? BBC, September 9, 2017.
  53. South Korea: North Korea launched missile over Japan CNN Politics, September 14, 2017.
  54. Michael Elleman, North Korea’s Third ICBM Launch with payload graph
  55. Choe Sang-hun The New York Times (1 December 2017) "Photos hint at greater threat of new Korean missile" p.A11
  56. 56.0 56.1 56.2 http://reuters.com/article/amp/idUSKBN1DS2MB

อ่านเพิ่ม แก้