ระบบป้องกันภัยเขตระดับความสูงขาลง

(เปลี่ยนทางจาก THAAD)

ระบบป้องกันภัยเขตระดับความสูงขาลง (อังกฤษ: Terminal High Altitude Area Defense) หรือ THAAD เป็นระบบต่อต้านขีปนาวุธของกองทัพบกสหรัฐที่ถูกออกแบบมาเพื่อสกัดขีปนาวุธพิสัยสั้น, พิสัยกลาง และพิสัยปานกลาง ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงตกสู่เป้าหมาย (terminal phase) การสกัดทำด้วยพลังงานจลน์เพื่อกระทบและทำลายขีปนาวุธ[2] THAAD ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากกองทัพสหรัฐถูกโจมตีโดยจรวดสกั๊ดของกองทัพอิรักระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในค.ศ. 1991[3] เนื่องจากตัวมิสไซล์สกัดภัยไม่ได้ติดตั้งหัวรบ จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดเมื่อกระทบกับขีปนาวุธที่มีหัวรบระเบิดหรือหัวรบนิวเคลียร์

ระบบป้องกันภัยเขตระดับความสูงขาลง
(Terminal High Altitude Area Defense)
ระบบป้องกันภัยเขตระดับความสูงขาลงกำลังยิงระหว่างการซ้อมรบใน ค.ศ. 2013
ระบบ THAAD กำลังยิงระหว่างการซ้อมรบในปี 2013
ชนิดระบบมิสไซล์ต่อต้านขีปนาวุธ
แหล่งกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บทบาท
ประจำการค.ศ. 2008–ปัจจุบัน
ผู้ใช้งานกองทัพสหรัฐ
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบค.ศ. 1987
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด มาร์ติน
ช่วงการผลิตค.ศ. 2008–ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิตหลายหน่วย
ข้อมูลจำเพาะ
มวล900 กก.[1]
ความยาว6.17 ม.[1]
เส้นผ่าศูนย์กลาง34 ซม.[1]

แต่เดิมแล้ว THAAD เป็นโครงการของกองทัพบกสหรัฐ แต่ต่อมาได้อยู่ภายใต้การจัดการของสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ กองทัพเรือสหรัฐมีโครงการที่คล้ายกันชื่อว่าระบบป้องกันขีปนาวุธอีจิส ซึ่งเดิมมีไว้ติดตั้งบนเรือรบ แต่ต่อมาก็มีการพัฒนาระบบภาคพื้นดินขึ้นมาเช่นกัน THAAD เดิมมีกำหนดประจำการในปี 2012 แต่เริ่มใช้งานครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2008[4] และประจำการอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ตุรกีและเกาหลีใต้

THAAD ถูกผลิตและติดตั้งโดยล็อกฮีด มาร์ติน และมีผู้รับจ้างช่วงได้แก่เรย์เธียน, โบอิง, แอโรเจ็ท, ร็อคเกตไดน์, ฮันนีเวลล์, บีเออี ซิสเต็มส์, ออชคอชดีเฟนซ์, มิลตันแคท และโอลิเวอร์แคปิตัลคอนซอร์เทียม[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "THAAD". astronautix.com. สืบค้นเมื่อ 7 March 2017.
  2. "Development of a Hit-to-Kill Guidance Algorithm for Kinetic Energy Weapons, 1988" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  3. "Naver Dictionary: THAAD", Naver Dictionary
  4. "Pentagon To Accelerate THAAD Deployment" เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jeremy Singer, Space News, 4 September 2006
  5. "With an Eye on Pyongyang, U.S. Sending Missile Defenses to Guam". The Wall Street Journal, 3 April 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้