รัฐบาลสกอต (อังกฤษ: Scottish Government) เป็นรัฐบาลของประเทศสกอตแลนด์ เกิดขึ้นหลังจากการกระจายอำนาจจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1999[2] แรกเริ่มใช้ชื่อว่า คณะบริหารสกอต (อังกฤษ: Scottish Executive) รัฐบาลสกอตประกอบด้วย คณะรัฐมนตรีสกอต โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐสภาสกอต ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 โดยมีมุขมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้เลือกแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีสกอตโดยความเห็นชอบของรัฐสภาสกอต[3] การออกกฎหมายของรัฐบาลจำเป็นตั้งผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา โดยรัฐสภาสกอตมีหน้าที่ออกกฎหมายต่างๆ ทั้งหมดที่ยกเว้นกฎหมายที่สงวนไว้แก่รัฐสภาสหราชอาณาจักร

รัฐบาลสกอต
อังกฤษ: Scottish Government
แกลิกสกอต: Riaghaltas na h-Alba
สกอต: Scots Govrenment
ภาพรวม
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 (1999-07-01)
ประเทศสกอตแลนด์
ผู้นำมุขมนตรี
แต่งตั้งโดยรัฐสภา ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
หน่วยงานหลักคณะรัฐมนตรีสกอต
รับผิดชอบต่อรัฐสภาสกอต
งบประมาณประจำปี£40.3 พันล้าน (ค.ศ. 2018–19)[1]
สำนักงานใหญ่ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์
2 ถนนรีเจนท์
เอดินบะระ
EH1 3DG
เว็บไซต์www.gov.scot

รัฐมนตรีถูกแต่งตั้งโดยมุขมนตรีด้วยความเห็นชอบจากรัฐสภาสกอต และพระมหากษัตริย์ผ่านสมาชิกรัฐสภา พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการเอาไว้ ในการปกครองปัจจุบันเรียกว่า เสนาบดีในคณะรัฐมนตรี (Cabinet Secretary) และรัฐมนตรี (Minister) นอกจากนี้ยังมี 2 เจ้าพนักงานกฎหมาย คือ อัยการในสมเด็จฯ (อัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) และ นิติกรสูงสุดสำหรับสกอตแลนด์ (รองอัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) รัฐมนตรีสกอต และข้าราชการพลเรือนที่ทำงานให้กับรัฐลาลสกอตเรียกรวมกันอย่างเป็นทางการว่าคณะปกครองสกอต

ประวัติ แก้

ในปีค.ศ. 1885 นโยบายภายในที่เกี่ยวกับสกอตแลนด์ถูกนำไปอยู้ภายใต้สำนักสกอตติช กระทรวงหนึ่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักรโดยมีเสนาบดีสกอตแลนด์เป็นผู้บังคับบัญชา ต่อมาตำแหน่งนี้จะกลายไปเป็นเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์

หลังจากการลงประชามติว่าด้วยการปกครองตนเองในปีค.ศ. 1997 บทบาทหน้าที่หลายอย่างของเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์ถูกโยกย้ายไปให้รัฐมนตรีสกอตต่าง ๆ ที่ขึ้นตรงกับรัฐสภาปกครองตนเองของสกอตแลนด์

คณะบริหารสกอตที่ 1 ถูกตั้งโดยมุขมนตรีดอนัลด์ ดีวาร์ โดยเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรคแรงงานสกอต และพรรคเสรีประชาธิปไตยสกอต ในช่วงนี้ตำแหน่งรัฐมนตรีถูกแบ่งเป็น รัฐมนตรี (Minister) และรองรัฐมนตรี (Deputy Minister) รัฐบาลผสมแรงงาน-เสรีประชาธิปไตยคงอยู่ต่อไปภายใต้มุขมนตรี เฮนรี่ แมคลีช และแจ็ก แมคคอนเนลล์ หลังจากการเลือกตั้งรัฐสภาสกอตแลนด์ปี ค.ศ. 2007 อเล็กซ์ แซลมอนด์สามารถตั้งรัฐบาลพรรคชาติสกอตได้ รัฐบาลนี้คงอยู่ต่อมาหลังจากการลาออกของเขาในปีค.ศ. 2014 และการแต่งตั้งอดีตรองมุขมนตรีของเขา นิโคลา สเตอร์เจียนเป็นมุขมนตรี

ตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 คณะบริหารสกอตได้ใช้ชื่อ รัฐบาลสกอต การเปลี่ยนชื่อจะถูกรับรองทางกฎหมายในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 2012 ในปีค.ศ. 2001 อดีตมุขมนตรีเฮนรี่ แมคลีช ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อดังนั้น แต่ได้รับการต่อต้านบางส่วน[4]

ในขณะเดียวกับที่รัฐบาลสกอตเริ่มใช้ชื่อใหม่ ก็ได้มีการใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่ มันเข้ามาแทนที่ตราที่มีตราแผ่นดินที่ใช้ในสกอตแลนด์ โดยแทนที่ด้วยธงชาติสกอตแลนด์[5]

รัฐมนตรีสกอต แก้

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 แห่งสกอตแลนด์
2023-ปัจจุบัน
 
คณะรัฐมนตรีของฮัมซา ยูซาฟ ที่ด้านหน้าทำเนียบบิวต์ ในปี 2023
วันแต่งตั้ง29 มีนาคม ค.ศ. 2023
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐชาลส์ที่ 3
มุขมนตรีฮัมซา ยูซาฟ
สมัยของมุขมนตรี2023-ปัจจุบัน
รองมุขมนตรีโชนา โรบินสัน
จำนวนรัฐมนตรี27
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด27
พรรคร่วมรัฐบาล
  •   พรรคชาติสกอต
  •   พรรคกรีนสกอต (สิงหาคม ค.ศ. 2021-ปัจจุบัน)
สถานะในสภานิติบัญญัติเสียงข้างมาก
ด้วยความร่วมมือ และข้อตกลงให้ความไว้วางใจ และผ่านงบประมาณ ระหว่างพรรคชาติสกอต และพรรคกรีน
71 / 129 (55%)
ประวัติ
วาระสภานิติบัญญัติรัฐสภาสกอตแลนด์ ชุดที่ 6
ก่อนหน้ารัฐบาลสเตอร์เจียนที่ 2

รัฐบาลสกอตถูกนำโดยมุขมนตรีสกอตแลนด์ และมีรัฐมนตรีสกอต และเจ้าพนักงานกฎหมาย

รัฐสภาสกอต เสนอชื่อสมาชิกคนหนึ่งเพื่อที่จะถูกแต่งตั้งเป็นมุขมนตรีโดยพระมหากษัตริย์[6] มุขมนตรีแต่งตั้งรัฐมนตรีตำแหน่งต่าง ๆ รัฐมนตรีที่มีตำแหน่งอาวุโสจะเรียกว่า เสนาบดีในคณะรัฐมนตรี โดยเสนาบดีเหล่านี้จะรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรี ร่วมกับมุขมนตรี ส่วนเจ้าพนักงานกฎหมายสกอต อัยการในสมเด็จฯ (อัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) และ นิติกรสูงสุดสำหรับสกอตแลนด์ (รองอัยการสูงสุดแห่งสกอตแลนด์) สามารถแต่งตั้งผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาสกอตมาดำรงตำแหน่งนี้ได้ แต่ทว่าตำแหน่งนี้จะต้องได้รับความยินยอม และการตรวจสอบโดยรัฐสภาสกอต นอกจากนี้เจ้าพนักงานกฎหมายยังสามารถแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์จากการเสนอชื่อของมุขมนตรี[6]

คณะรัฐมนตรี แก้

คณะรัฐมนตรีสกอตมีหน้าที่ประสานงานด้านนโยบายภายในรัฐบาลสกอต โดยมีเสนาบดีประจำคณะรัฐมนตรีร่วมงานด้วย คณะรัฐมนตรีมีสำนักงานอยู่ที่ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์ ในระหว่างที่รัฐสภาสกอตอยู่ในสมัยประชุม คณะรัฐมนตรีจะประชุมกันทุกสัปดาห์[7] โดยปกติแล้วการประชุมคณะรัฐมนตรีจะเกิดขึ้นในบ่ายวันอังคารที่ทำเนียบบิวต์ จวนของมุขมนตรีสกอตแลนด์[8] สมาชิกคณะรัฐมนตรีสกอตจะได้กล่องส่งสาส์นสีน้ำเงิน (Despatch Box) สำหรับใช้ในราชการจนหมดวาระ[9]

ในปัจจุบันมีคณะอนุกรรมาธิการ 2 คณะในคณะรัฐมนตรี[10]

สมาชิกคณะรัฐบาลสกอตในปัจจุบันมีดังนี้

เสนาบดีในคณะรัฐมนตรี[11]
ตำแหน่ง รายนาม รูป
มุขมนตรี The Rt Hon. ฮัมซา ยูซาฟ MSP  
รองมุขมนตรี โชนา โรบินสัน MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับการคลัง
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจ งาน และ พลังงาน นีล เกรย์ MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับสาธารณสุข และสังคมสงเคราะห์ ไมเคิล แมธธีสัน MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับการศึกษา และความเชี่ยวชาญ เจนนี กริลรูธ MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และคมนาคม ไมรี แมคอาแลน MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับยุติธรรม และทหารผ่านศึก แองเจลลา คอนสแทนซ์ MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐบาลสำหรับความยุติธรรมในสังคม เชอร์ลีย์-แอนน์ ซอมเมอร์วิลล์ MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับกิจการชนบท และหมู่เกาะ ไมรี เกาเจียน MSP  
เสนาบดีในคณะรัฐมนตรีสำหรับรัฐธรรมนูญ กิจการภายนอก และวัฒนธรรม The Rt Hon. แองกัส รอเบิร์ทสัน MSP  

รัฐมนตรีช่วยว่าการ แก้

รัฐมนตรีช่วยว่าการสกอต ดำรงตำแหน่ง "รัฐมนตรี" (Minister) ถูกแต่งตั้งเข้าไปในรัฐบาลสกอตเช่นเดียวกับเสนาบดีในคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการแต่ละคนจะมีเสนาบดีในคณะรัฐมนตรีคอยควบคุมอยู่อย่างละคน

รัฐมนตรีช่วยว่าการในปัจจุบัน[12] มีดังนี้

รัฐมนตรีช่วยว่าการ[13]
ตำแหน่ง รายนาม รูป พรรค
รัฐมนตรีสำหรับนโยบายยาเสพติด แองเจลา คอนสแตนส์ MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับกิจการรัฐสภา จอร์จ อดัม MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม การจ้างงาน และการทำงานที่เป็นธรรม ริชาร์ด ลอกเฮด MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว และวิสาหกิจ ไอวาน แมคคี MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับการคลังสาธารณะ การวางแผน และความมั่งคั่งชุมชน ทอม อาร์เทอร์ MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับสาธารณสุข สุขภาพสตรี และกีฬา มารี ทอดด์ MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับสวัสดิภาพทางจิต และสังคมสงเคราะห์ เควิน สจวร์ต MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับเด็ก และผู้เยาว์ แคลร์ ฮอฮีย์ MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับอุดมศึกษา และการศึกษาขั้นสูง การจ้างงานคนอายุน้อย และการฝึกอบรม เจมี เฮ็ปเบิร์น MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และการปฏิรูปที่ดิน ไมรี แมคอัลลัน MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับคมนาคม เจนนี กิลรูท MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับความปลอดภัยชุมชน แอช เดนแฮม MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับความเท่าเทียม และผู้สูงอายุ คริสตีนา แมคเคลวี MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับประกันสังคม และการปกครองส่วนท้องถิ่น เบน แมคเฟอร์สัน MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับวัฒนธรรม ยุโรป และการพัฒนาระหว่างประเทศ นีล เกรย์ MSP   ชาติ
รัฐมนตรีสำหรับอาคารคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การเดินทางแบบใช้พลังงาน และสิทธิผู้เช่า แพตทริก ฮาร์วีย์ MSP   กรีน
รัฐมนตรีสำหรับฝีมือสีเขียว เศรษฐกิจหมุนเวียน และความหลากหลายทางชีวภาพ ลอร์นา สเลเตอร์ MSP   กรีน

เจ้าพนักงานกฎหมาย แก้

เจ้าพนักงานกฎหมายในปัจจุบันมีดังนี้

เจ้าพนักงานกฎหมาย
ตำแหน่ง รายนาม รูป
อัยการในสมเด็จฯ The Rt Hon. โดโรที เบน KC  
นิติกรสูงสุดสำหรับสกอตแลนด์ รูท ชาร์เทริส KC  

หน้าที่ แก้

หน้าที่ของรัฐมนตรีสกอตคือทำตามหน้าที่โดยคร่าวของรัฐสภาสกอตตามพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 และกฎหมายสหราชอาณาจักรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างที่กฎหมายก่อนการปกครองตนเองมอบอำนาจให้รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรปฏิบัติหน้าที่บางประการ กฎหมายหลังการปกครองตนเองได้มอบอำนาจส่วนใหญ่ให้กับรัฐสภาสกอต

พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 อนุญาตให้รัฐมนตรีสกอตสามารถใช้อำนาจของรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในเรื่องที่ถูกสงวนไว้กับรัฐสภาสหราชอาณาจักร และพ.ร.บ. นี้ก็ยังมอบอำนาจให้รัฐมนตรีสกอตสามารถมอบอำนาจกลับคืนให้กับรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร หรือ "การตกลงระหว่างหน่วยงาน" ใดโดยเฉพาะ การกระจายอำนาจในการปกครองเช่นนี้หมายความว่าอำนาจของรัฐมนตรีสกอต และรัฐสภาสกอตไม่เหมือนกัน [14]

เรื่องที่สงวนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภาสหราชอาณาจักรที่เด่นชัดมีดังนี้[15]

แต่ก็เหลือเรื่องสำคัญที่ถูกกระจายอำนาจมาภายใต้พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 หลายเรื่องดังนี้[16]

และพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 2012 และ ค.ศ. 2016 ได้กระจายอำนาจเพิ่มเติม ได้แก่[17]

สมาชิกรัฐบาลสกอตมีอำนาจค่อนข้างมากในเรื่องกฎหมายในสกอตแลนด์ ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาสกอตส่วนมากมาจากการเสนอของสมาชิกฝ่ายรัฐบาล[18]

รัฐบาลสกอต แก้

นอกจากรัฐมนตรีสกอตแล้ว รัฐบาลสกอตได้รับความสนับสนุนของข้าราชการจากสำนักงานราชการพลเรือน พวกเขาเรียกดวยรวมได้ว่าคณะปกครองสกอตในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 จากรายงานในปี ค.ศ. 2012 มีข้าราชพลเรือน 16,000 คนทำงานในหน่วยงานที่สำคัญของรัฐบาลสกอต [19]

สำนักงานราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่สงวนไว้ให้แก่รัฐสภาสหราชอาณาจักรที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (แทนที่จะถูกกระจายมาให้รัฐบาลสกอต) ข้าราชการพลเรือนของรัฐบาลสกอตทำงานภายใต้ข้อยังคับของสำนักงานราชการพลเรือนในสมเด็จฯ แต่ทำงานให้กับคณะปกครองของท้องที่ที่ปกครองตนเองแทนรัฐบาลสหราชอาณาจักร [20]

เสนาบดีถาวร แก้

เสนาบดีถาวรคือข้าราชการพลเรีอนที่อาวุโสที่สุดในสกอตแลนด์ เขามีหน้าที่นำคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของคณะปกครอง รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานมุขมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง และเป็นผู้รักษาภาระความรับผิดเพื่อให้เงิน และทรัพยากรของรัฐบาลถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้อง[21] เสนาบดีถาวรคนปัจจุบันคือ จอห์น-พอล มาร์กส์ ซึ่งเข้ามาแทนที่ เลสลีย์ เอวานส์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022[22]

เสนาบดีถาวรเป็นสมาชิกของสำนักงานราชการพลเรือนสหราชอาณาจักร ดังนั้นเขาจึงมีส่วนร่วมในกลุ่มบริหารเสนาบดีถาวรทั่วสหราชอาณาจักรภายใต้เสนาบดีคณะรัฐมนตรี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่คล้ายกันให้กับรัฐบาลสหราชอาณาจักร [23]

กระทรวง แก้

รัฐบาลสกอตถูกแบ่งเป็น 49 กรมที่มีหน้าที่นำนโยบายรัฐบายมาปฏิบัติในแต่ละด้าน แต่ต่างจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตรงที่รัฐมนตรีอาวุโสไม่ได้มีหน้าที่บริหารหน่วยงานของรัฐบาล และไม่ได้มีบทบาทโดยตรงต่อการดำเนินงานของแต่ละกระทรวง

กรมทั้ง 49 กรมจะถูกแบ่งเป็น "กระทรวง" (Directorates General) 7 สำนักงาน โดยแต่ละสำนักงานจะบริหารโดนข้าราชการพลเรือนอาวุโสสำนักงานละ 1 คน โดยมีตำแหน่ง "อธิบดีสูงสุด" (Director-General) ณ พฤษภาคม ค.ศ. 2021 มีกรมสูงสุด 7 กรมดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของกระทรวงเหล่านี้[24]

สำนักราชเลขาธิการและอัยการ เป็นอัยการอิสระของสกอตแลนด์ และเป็นหน่วยงานระดับรัฐมนตรีในรัฐบาลสกอต โดยมีผู้บริหารเป็นอัยการในสมเด็จฯซึ่งมีหน้าที่สั่งฟ้องร้องในคดี ร่วมกับอัยการแพ่ง (Procurator fiscal) ภายใต้กฎหมายสกอต

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ แก้

คณะกรรมการยุทธศาสตร์รัฐบาลสกอต ประกอบไปด้วยเสนาบดีถาวร อธิบดีสูงสุดทั้ง 7 คน ที่ปรึกษาหลัก 2 คน (ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเศรษฐกิจอย่างละคน) และอธิบดีที่ไม่ได้บริหาร 4 คน คณะกรรมการนี้มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลผ่านเสนาบดีถาวร และเป็นองค์กรบริหารข้าราชการพลเรือนสกอตแลนด์ [25]

สำนักงานบริหาร แก้

เพื่อที่จะทำงานได้ประสิทธิผล รัฐมนตรีสกอตได้ตั้งสำนักงานบริหารไว้ 9 สำนักงาน เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ หรือเป็นหน่วยงานที่ตั้งเป็นเอกเทศเพื่อที่จะทำงานในแต่ละส่วน เช่น กรมราชทัณฑ์สกอต คมนาคมสกอตแลนด์ สำนักงานบริหารมีข้าราชการเป็นพนักงาน

มีหน่วยงานที่ไม่สังกัดรัฐมนตรี 2 หน่วยงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะปกครองสกอต และจึงเป็นส่วนหนึ่งของคณะปกครองตนเอง แต่สังกัดรัฐสภาโดยตรงแทนที่จะผ่านรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานทะเบียนสามัญสำหรับสกอตแลนด์ และสำนักงานควบคุมกิจการมูลนิธิสกอตแลนด์

ทบวงการเมือง แก้

รัฐบาลสกอตยังรับผิดชอบทบวงการเมืองที่ไม่สังกัดกระทรวงอยู่จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงทบวงการเมืองบริหารที่ไม่สังกัดกระทรวง (เช่น วิสาหกิจสกอต) ทบวงการเมืองที่ปรึกษาที่ไม่สังกัดกระทรวง (เช่น คณะกรรมการกฎหมายสกอต) ศาล (เช่น องค์คณะผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก) และรัฐวิสาหกิจ (เช่น การประปาสกอตแลนด์) หน่วยงานเหล่านี้มีข้าราชการสามัญเป็นพนักงาน (Public servant) ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน (Civil servant)

รัฐบาลสกอตยังรับผิดชอบทบวงการเมืองอื่น ๆ ที่ไม่ถูกจำแนกเป็นทบวงการเมืองที่ไม่สังกัดกระทรวง เช่น คณะกรรมการเอนเอชเอส กรรมการเยี่ยมเรือนจำ หรือผู้ตรวจการตำรวจสูงสุดในสมเด็จฯ สำหรับสกอตแลนด์

ที่ทำการ แก้

อาคารสำนักงานใหญ่ของรัฐบาลสกอตอยู่ที่ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งอยู่บนคัลตันฮิลล์ในเอดินบะระ กรมบางกรมมีสำนักงานอยู่ที่วิคตอเรียคีย์ และทำเนียบซอตันในเอดินบะระ และแอตแลนติกคีย์ในกลาสโกว์ สำนักงานใหญ่ของสำนักราชเลขาธิการและอัยการ และของอัยการในสมเด็จฯ ตั้งอยู่ที่ถนนเชมเบอร์ในเอดินบะระกลาง

มีอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งที่ถูกใช้งานโดยรัฐบาลสกอต ทั้งคณะกรรมการการคลังสกอต และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสกอตก็มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในทำเนียบผู้ว่าการเก่า ข้าง ๆ ทำเนียบเซนต์แอนดรูว์บนถนนรีเจนต์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วเอดินบะระกลาง รวมไปถึงทำเนียบบิวต์จวนของมุขมนตรีที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสชาร์ลอตต์

รัฐมนตรี และข้าราชการที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใช้ทำเนียบสกอตแลนด์ที่วิคตอเรียเอมแบงก์เมนต์ในลอนดอนหากจำเป็น ทำเนียบโดเวอร์ที่ไวต์ฮอลล์ในปัจจุบันถูกใช้โดยสำนักงานสกอต และรัฐมนตรีสกอตไม่ได้เข้าใช้แล้ว[26]

รัฐบาลสกอตยังมีสำนักงานย่อย และสำนักงานเฉพาะทางอยู่ทั่วสกอตแลนด์ เช่นสำนักงานการชำระเงิน และบริการชนบท[27]

สำนักงานนอกประเทศ แก้

รัฐบาลสกอตมีสำนักงานตัวแทนสหภาพยุโรปตั้งอยู่ที่บรัสเซลส์ ในเบลเยียม [28] รัฐบาลสกอตยังมีสำนักงานตั้งอยู่ภายในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในวอชิงตัน ดี.ซี. และในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในเบอร์ลิน และมีตัวแทนที่ได้รับการรับรองในสถานเอกอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในปักกิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. "Budget (Scotland) Act 2018". The National Archives. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2018. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  2. Jeffery, Charlie (2009). The Scottish Parliament 1999-2009: The First Decade. Luath Press. ISBN 1906817219.
  3. "The First Minister of Scotland". The Scottish Government. 8 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  4. Britten, Nick (10 January 2001). "Fury at bid to rename Scottish Executive". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013. Henry McLeish, the First Minister, threatened to set himself on a collision course with Tony Blair by wanting to rename the Executive the Scottish Government. The proposal caused an immediate split in Labour ranks and left McLeish facing allegations of arrogance and over-ambition. Scotland Office minister Brian Wilson said that the First Minister should think carefully about using the term "government". He said: "Maybe they should take time to look at how other countries with two tiers of government handle this. Nobody in Germany has any difficulty distinguishing between the government and the devolved administrations."
  5. "Annual Report and Accounts: 2009–10" (PDF). Accountant in Bankruptcy. 4 August 2010. p. 61. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  6. 6.0 6.1 "Appointment and Role". firstminister.gov.scot. Office of the First Minister of Scotland. 5 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 January 2016.
  7. "Guide to Collective Decision Making". Scottish Government. 12 November 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 17 August 2014.
  8. "Lord Advocate excluded from new Cabinet". The Scotsman. 22 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  9. "Despatch boxes used by Scottish Government Ministers, cost and number: FOI release – gov.scot". www.gov.scot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  10. "Current Cabinet Sub-Committees". The Scottish Government. 13 December 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  11. "New Cabinet unveiled". www.gov.scot (ภาษาอังกฤษ).
  12. "New Scottish Cabinet – gov.scot". www.gov.scot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2021. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021.
  13. "New Cabinet appointed". Scottish Government News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  14. "Devolution Guidance Note 11 – Ministerial Accountability after Devolutio" (PDF). assets.publishing.service.gov.uk. November 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
  15. "Devolution settlement: Scotland". UK Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2018.
  16. "What is Devolution?". Scottish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2017. สืบค้นเมื่อ 29 August 2018.
  17. "What the Scottish Government does". Scottish Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2019. สืบค้นเมื่อ 8 August 2019.
  18. "How the Scottish Parliament Works". gov.scot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  19. Peterkin, Tom (5 June 2013). "Independent Scotland civil service '£700m a year'". The Scotsman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  20. "Answers to Frequently Asked Questions". The Scottish Government. 26 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  21. "Government structure – gov.scot". www.gov.scot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2020. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
  22. "New Permanent Secretary - gov.scot". Scottish Government. 18 November 2021. สืบค้นเมื่อ 17 October 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Permanent Secretary". The Scottish Government. 1 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
  24. "Directorates". The Scottish Government. 23 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2021. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  25. "Strategic Board". The Scottish Government. 29 May 2013. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  26. "Dover House base for Scottish Secretary and Advocate General" (Press release). The Scottish Government. 8 March 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.
  27. "Rural Payments – Contact Us". The Scottish Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  28. "Scotland in the EU". The Scottish Government. 24 September 2012. สืบค้นเมื่อ 23 October 2013.