ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง

ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง (ญี่ปุ่น: 幽☆遊☆白書 魔強統一戦; อักษรโรมัน: Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen)[1] เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 1994 ที่พัฒนาโดยเทรเชอร์ และเผยแพร่โดยเซกาสำหรับระบบเมกาไดรฟ์ ซึ่งอิงจากซีรีส์มังงะคนเก่งฟ้าประทานโดยโยชิฮิโระ โทงาชิ ซึ่งเนื้อเรื่องดำเนินตามตัวเอก อุราเมชิ ยูสึเกะ ที่ได้รับมอบหมายจากจ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณด้วยการไขคดีสไตล์นักสืบที่เกี่ยวข้องกับทั้งมนุษย์และปีศาจที่คุกคามโลกที่มีชีวิต เรื่องราวเริ่มให้ความสำคัญกับศึกศิลปะการต่อสู้อย่างมากในขณะที่มันดำเนินไป

ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง
ผู้พัฒนาเทรเชอร์
ผู้จัดจำหน่าย
กำกับเท็ตสึฮิโกะ คิกูจิ
โปรแกรมเมอร์
ศิลปิน
แต่งเพลง
  • ซาโตชิ มูราตะ
  • คัตสึฮิโกะ ซูซูกิ
  • อากิ ฮาตะ
  • โนริโอะ ฮันซาวะ
ชุดยูยูฮาคุโช
เครื่องเล่นเมกาไดรฟ์
วางจำหน่าย
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เกมนี้มีตัวละครที่สามารถเล่นได้ 11 ตัวจากมังงะ และมีรูปแบบการเล่นเป็นการต่อสู้แบบ 2 มิติดั้งเดิม คู่ชิงในแต่ละยกพยายามทำลายพลังชีวิตของกันและกัน โดยใช้การโจมตีระยะสั้นและระยะไกล รวมถึงคอมโบพิเศษ นอกจากนี้ยังรวมกลไกอื่น ๆ เช่น การให้ผู้เล่นสูงสุดสี่คนทำการแข่งขันพร้อมกัน และปล่อยให้นักสู้สลับกันระหว่างระนาบแนวนอนในฉากหน้าและฉากหลัง เกมมีตัวเลือกสำหรับผู้เล่นหลายคนซึ่งรวมถึงแมตช์แบทเทิลรอยัล, แท็กทีม และโหมดทัวร์นาเมนต์

ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งได้รับการสร้างขึ้นตอนจุดสูงสุดของเกมต่อสู้ระดับโลกสำหรับคอนโซลภายในบ้านในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งนำโดยเกมที่ได้รับความนิยมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II หลังจากบริษัทเปิดตัวในระบบนี้กับกันสตาร์ฮีโรส์ เทรเชอร์ก็เริ่มพัฒนามาเคียวโทอิซึเซ็งในฐานะหนึ่งในสี่เกมของเมก้าไดรฟ์ที่ได้รับการเผยแพร่โดยเซกา ไม่เหมือนกับชื่อเกมอื่น ๆ ที่เหลือ มาเคียวโทอิซึเซ็งไม่เคยได้รับการเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือหรือยุโรป ซึ่งเกมที่วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการที่อื่นอยู่ในประเทศบราซิลผ่านทางเตกตอยใน ค.ศ. 1999 โดยมีชื่อว่ายูยูฮาคุโช: ซันเซตไฟเตอส์ แม้จะมีจำนวนจำกัด แต่เกมดังกล่าวได้รับการประเมินโดยสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษหลายฉบับ และได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากนักวิจารณ์เป็นส่วนใหญ่ รูปบบการเล่นและตัวเลือกผู้เล่นสี่คนได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์หลายคน ซึ่งหลายคนมองว่าเกมนี้เป็นเกมต่อสู้ที่ดีที่สุดในยุค 16 บิต แม้ว่าจะถูกติเตียนเรื่องกราฟิกและเสียงก็ตาม

รูปแบบการเล่น แก้

 
นักสู้สี่คนเข้าร่วมการแข่งขันบนระนาบแนวนอนสองเส้นที่แยกจากกัน ส่วนพลังชีวิตและพลังวิญญาณของตัวละครจะแสดงที่ด้านบนของหน้าจอ

ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นเกมต่อสู้ที่สร้างจากซีรีส์มังงะเรื่องราวเหนือธรรมชาติ คนเก่งฟ้าประทาน ซึ่งเขียนและวาดโดยโยชิฮิโระ โทงาชิ มังงะเรื่องนี้เดินเรื่องตามตัวเอกวัยรุ่น อุราเมชิ ยูสึเกะ ที่สละชีวิตเพื่อช่วยเด็กและได้รับการคืนชีพโดยจ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณเพื่อไขคดีสไตล์นักสืบที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และปีศาจที่คุกคามโลกที่มีชีวิต[2] เนื้อเรื่องเน้นหนักไปที่ศิลปะการต่อสู้ในขณะที่ดำเนินไป ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งให้ผู้เล่นเลือกหนึ่งใน 11 ตัวละครหลักจากมังงะ เกมนี้ไม่มีโหมดเนื้อเรื่อง, ไม่ดัดแปลง หรือผูกเข้ากับเนื้อเรื่องของเนื้อหาแหล่งที่มา และมีลักษณะไม่กี่อย่างจากนักพากย์ที่สนับสนุน[3] เกมดังกล่าวใช้แม่แบบเกมต่อสู้ที่ได้รับความนิยมจากซีรีส์สตรีทไฟเตอร์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการแข่งแต่ละนัดคือเพื่อให้ผู้เล่นหนึ่งคนหรือผู้เล่นหลายคนกำจัดคู่ต่อสู้โดยการลดมาตรวัดพลังชีวิตโดยใช้การโจมตีระยะสั้นและระยะไกลต่าง ๆ บรรดานักสู้จะเคลื่อนที่ในแนวนอนบนสนามรบ 2 มิติ และสามารถกระโดดจากพื้นเพื่อเข้าหาหรือข้ามคู่ต่อสู้ได้ การแข่งแบบตัวต่อตัวสามารถกระทำได้ แต่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งอนุญาตให้มีตัวละครได้ถึงสี่ตัวในการต่อสู้พร้อมกันในนัดเดียว การดำเนินการที่เพิ่มเข้ามานี้เสริมด้วยการรวมเลเยอร์ที่สองในแต่ละสเตจ เช่นเดียวกับซีรีส์กาโรเด็นเซ็ตสึ ผู้เล่นสามารถกระโดดไปยังระนาบแนวนอนที่แยกในฉากหลัง[2][4][5][6][7] ส่วนการแข่งขันนั้นไม่จำกัดเวลา[2]

เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามหลายคนสามารถเผชิญหน้าได้ทั้งด้านหน้าหรือด้านหลังผู้เล่น การกดแป้นควบคุมทิศทางถอยหลังจะทำให้ตัวละครหันหน้าไปในทิศตรงกันข้ามจากเดิม แทนที่จะถอยหนีหรือบล็อกการโจมตีของศัตรู ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเข้ากันได้กับทั้งเกมแพดแบบสามปุ่มและหกปุ่มของเมกาไดรฟ์ ปุ่ม "A", "B" และ "C" ของคอนโทรลเลอร์แบบสามปุ่มสามารถจับคู่กับการโจมตีแบบเบา, การโจมตีหนัก และการป้องกันได้ ในขณะที่การเคลื่อนไหวอย่างการพุ่งไปข้างหน้า, การพุ่งถอยหลัง และการผลัดเปลี่ยนระนาบทำได้โดยใช้การผสมผสานพื้นฐาน ของแป้นทิศทางและปุ่ม ส่วนอินพุต "X", "Y" และ "Z" เพิ่มเติมบนคอนโทรลเลอร์แบบหกปุ่มช่วยให้สามารถจับคู่การทำงานทั้งหกเหล่านี้กับปุ่มแต่ละปุ่มได้[7][8] ตัวละครทุกตัวสามารถใช้คอมโบ และการโจมตีพิเศษเฉพาะตัวที่อาจทำได้บนพื้นดินหรือในอากาศ ซึ่งบางส่วนสามารถชาร์จสำหรับความเสียหายที่มากกว่า[6] เนื่องจากตัวควบคุมสามปุ่มเป็นแบบมาตรฐานและการกดปุ่มถอยหลังจะเปลี่ยนทิศทางของตัวละคร การทำคอมโบจึงค่อนข้างง่ายในการดำเนินการ[3][7] ส่วนความสามารถบางอย่างต้องการ "พลังงานวิญญาณ" ที่แสดงด้วยมาตรวัดที่สองภายใต้พลังชีวิตของนักสู้ และสามารถเติมได้โดยกดปุ่มโจมตีค้างไว้ การจู่โจมแบบชาร์จสามารถยกเลิกและจัดเก็บไว้ชั่วคราวได้โดยการกดถอยหลังบนแป้นทิศทาง แล้วปล่อยออกทันทีที่ระดับความแรงนั้นในครั้งต่อไปที่ผู้เล่นใช้[7] เกมดังกล่าวมีโหมดต่าง ๆ จำนวนมากที่ประกอบด้วยการต่อสู้แบบผู้เล่นเดี่ยวสำหรับการแมตช์แบบตัวต่อตัวที่ต่อเนื่องกัน, โหมดฝึกฝนที่ไม่มีที่สิ้นสุด และตัวเลือกแบบหลายผู้เล่นยังแบ่งออกเป็นแบตเทิลรอยัลที่มีผู้เข้าร่วมสี่คน และแมตช์แท็กทีมกับทีมตรงข้ามสองคน[8] นอกจากนี้ สามารถเลือกโหมดทัวร์นาเมนต์แบบคร่อมซึ่งผู้เล่นแต่ละคน, ทีมผู้เล่น และคอมพิวเตอร์สามารถต่อสู้ได้จนถึงการแข่งชิงแชมป์รอบสุดท้าย ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์สูงสุดสี่คนสามารถเข้าร่วมในโหมดหลายผู้เล่น โดยใช้อุปกรณ์มัลติแทปทีมเพลเยอร์ของเซกา[2][7]

การพัฒนาและการตลาด แก้

ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็งได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเทรเชอร์ และผลิตร่วมกับโยชิฮิโระ โทงาชิ ผู้เขียนคนเก่งฟ้าประทาน, ชูเอชะผู้พิมพ์มังงะ, บริษัทสตูดิโอปิเอโรของอนิเมะฉบับดัดแปลง และฟูจิเทเลวิชันผู้ออกอากาศทางโทรทัศน์ ตลาดเครื่องเล่นวิดีโอเกมบ้านในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อยู่ท่ามกลางความคลั่งไคล้เกมต่อสู้เนื่องจากเกมยอดนิยมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II[2][3][7] ตลอดจนความนิยมพร้อมกันของคนเก่งฟ้าประทานในประเทศญี่ปุ่นทำให้เกมประเภทนี้ปรากฏบนแพลตฟอร์มเกมในบ้านและอุปกรณ์พกพาหลายแห่ง โดยหลังจากการเปิดตัวของบริษัทเทรเชอร์ในระบบเมกาไดรฟ์กับกันสตาร์ฮีโรส์นั้น เกมภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นหนึ่งในสี่เกมที่บริษัทพัฒนาพร้อมกันสำหรับระบบดังกล่าวโดยมีบริษัทเซกาเป็นผู้เผยแพร่[9][10] ทั้งนี้ เกมภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นเกมต่อสู้เกมแรกของบริษัทเทรเชอร์ และเป็นเกมที่สองที่สร้างจากทรัพย์สินที่ได้รับลิขสิทธิ์ หลังจากแมคโดนัลส์เทรเชอร์แลนด์แอดเวนเจอร์[11]

บริษัทเทรเชอร์เดิมสร้างภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งในฐานะเกมต้นฉบับชื่อแอ็กเซียน ก่อนจะแปลงเป็นชื่อยูยูฮาคุโช[12][13] โครงการนี้อำนวยการสร้างโดยเท็ตสึฮิโกะ คิกูจิ และดูแลโดยผู้ก่อตั้งบริษัทเทรเชอร์ รวมถึงมาซาโตะ มาเองาวะ ผู้เป็นประธาน จากข้อมูลของคิกูจิ เกมแอ็กเซียนถือกำเนิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1993 เมื่อบริษัทสังเกตเห็นว่าขาดเกมการต่อสู้เฉพาะตัวของเมกาไดรฟ์ที่ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม การผลิตหยุดชะงักลงเมื่อเกมที่มีโลกและแนวคิดคล้ายกันถูกกำหนดให้เอาชนะแอ็กเซียนออกสู่ตลาด แผนการของบริษัทเทรเชอร์สำหรับเกมของพวกเขาได้รับการพิจารณาใหม่หลายครั้งก่อนที่จะประสานงานลิขสิทธิ์คนเก่งฟ้าประทาน ซึ่งคิกูจิเชื่อว่าจะทำยอดขายได้ดี[12] มาเองาวะกล่าวว่ากลไกการควบคุมและรูปแบบการเล่นรวมถึงด่านหลายระนาบนั้นได้รับการสร้างขึ้นแล้วสำหรับเกมแอ็กเซียนก่อนที่กระบวนการที่ยากลำบากในการปรับปรุงเกมใหม่ด้วยเนื้อหาของคนเก่งฟ้าประทาน[14] โดยบริษัทเซกามอบหมายให้โยอิจิ ชิโมซาโตะ สนับสนุนการผลิตเกมนี้หลังจากที่เขาเข้าร่วมแผนกวิจัยผู้บริโภคภายนอกของบริษัทใน ค.ศ. 1993[15] แม้ว่าผู้พัฒนาจะดูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเซกา แต่มาเองาวะก็อ้างว่าการสื่อสารของผู้จัดจำหน่ายไม่ดี และไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทเทรเชอร์ในระหว่างการสร้างเกม[16]

ทีมงานของบริษัทเทรเชอร์ประกอบด้วยคิกูจิในฐานะผู้กำกับและนักออกแบบกราฟิกหลัก; ศิลปินกราฟิกคือมาโกโตะ โองิโนะ และฮิโรชิ อิอูจิ; โปรแกรมเมอร์คือมาซากิ อุเกียว และมิตสึรุ ไยดะ รวมถึงซาวด์เอฟเฟกต์นำและผู้แต่งเพลงคือซาโตชิ มูราตะ ซึ่งคิกูจิรู้สึกขอบคุณผู้สร้างแอนิเมชันของเกมที่ใช้ภาพสะท้อนสไปรต์ของตัวละคร แต่บอกเป็นนัยว่าการไม่คำนึงถึงจำนวนหน่วยความจำที่พวกเขาต้องการทำให้เกิดปัญหา[12] ส่วนอุเกียวพบว่ามันเป็นเรื่องท้าทายที่สุดที่จะเขียนโปรแกรมให้มีตัวละครสี่ตัวพร้อมกันบนหน้าจอ และทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนทิศทางที่พวกเขาเผชิญได้อย่างอิสระ[12] นอกจากคัตสึฮิโกะ ซูซูกิ, อากิ ฮาตะ และโนริโอะ ฮันซาวะ แล้ว มูราตะยังแต่งเพลงต้นฉบับสำหรับเกมนี้ ในขณะเดียวกันก็จัดเตรียมเพลงโฮโฮเอมิโนะบากูดังและอันบาลานซ์นะคิสโอะชิเตะจากอนิเมะคนเก่งฟ้าประทานเช่นกัน[12][17] อนึ่ง ธีมหลักของเกมนี้คือ "โทเกไนโฮโน" (溶けない炎, เปลวไฟที่ไม่ละลาย) เขียนและเรียบเรียงโดยฮาตะ ซึ่งเป็นผู้บรรเลงเพลงในเวอร์ชันร้องสำหรับซีดีซาวด์แทร็กอย่างเป็นทางการ รวมถึงหนึ่งในอัลบัมของเธอเองในเวลาต่อมา[18] เกมดังกล่าวยังมีตัวอย่างเสียงตัวละครดิจิทัลจำนวนมากที่แสดงถึงเสียงพากย์อนิเมะเช่นกัน[19][20] โดยคิกูจิพอใจกับคุณภาพของเสียงพูดของเกมนี้แม้ว่าเมกาไดรฟ์จะมีความสามารถในการสังเคราะห์เสียงได้ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับซูเปอร์แฟมิคอมซึ่งเป็นคู่แข่งหลักของเครื่องเล่นดังกล่าวก็ตาม[12]

ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1994[21] เวอร์ชันเมกาไดรฟ์ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่นน้อยกว่าในต่างประเทศ และเนื่องจากบริษัทเทรเชอร์รักษาผลกำไรด้วยการจัดส่งผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อย เกมดังกล่าวจึงมีเพียงไม่กี่หน่วยที่จำหน่ายปลีก[3][7] ซึ่งมาเองาวะผู้ร่วมก่อตั้งได้ยืนยันว่าเทรเชอร์ได้พัฒนาเกมโดยคำนึงถึงตลาดต่างประเทศอยู่เสมอ[16] แม้จะมีปัจจัยเหล่านี้ แต่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งก็ไม่เคยได้รับการแปลอย่างเป็นทางการในทวีปอเมริกาเหนือหรือยุโรป ซึ่งอาจเป็นเพราะแฟรนไชส์คนเก่งฟ้าประทานไม่เป็นที่รู้จักในภูมิภาคเหล่านั้นในช่วงอายุของเมกาไดรฟ์[2][4][7] และยังคงเป็นเกมเมกาไดรฟ์ของบริษัทเทรเชอร์ที่ไม่มีการเปิดตัวในดินแดนเหล่านี้[22] อย่างไรก็ตาม เกมดังกล่าวได้รับอนุญาตโดยบริษัทเตกตอย ซึ่งแปลเป็นภาษาโปรตุเกส และวางจำหน่ายในประเทศบราซิลใน ค.ศ. 1999 ในชื่อยูยูฮาคุโช: ซันเซตไฟเตอส์[19][23] โดยอนิเมะพากย์ภาษาโปรตุเกสโดยเรจีมาเชทชี[23] ได้เริ่มออกอากาศในทวีปอเมริกาใต้แล้ว ในขณะที่เมกาไดรฟ์ยังคงรักษาสถานะที่แข็งแกร่งในประเทศบราซิลตลอดทศวรรษส่วนใหญ่เนื่องมาจากความร่วมมือในการจัดจำหน่ายระหว่างเตกตอยและเซกา[24][25] ซึ่งนอกเหนือจากข้อความแล้ว ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งทั้งสองเวอร์ชันเกือบจะเหมือนกันหมด ทั้งนี้ การแปลภาษาโปรตุเกสขึ้นชื่อในเรื่องที่ตรงตามตัวอักษรมากเกินไป จนไม่สามารถเข้าใจได้ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนชื่อตัวละครหลายตัว[7][19] เช่นเดียวกับฉบับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีการจัดส่งสำเนาน้อยมาก[2][19] และไม่พบการเผยแพร่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งซ้ำในรูปแบบดิจิทัลมานานกว่าสองทศวรรษหลังจากเปิดตัวครั้งแรก ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาลิขสิทธิ์[7][26][27] หลังจากความสำเร็จของนินเท็นโดคลาสสิกมินิ: แฟมิลีคอมพิวเตอร์ และนินเท็นโดคลาสสิกมินิ: ซูเปอร์แฟมิคอม ของบริษัทนินเท็นโดใน ค.ศ. 2016 และ 2017 ตามลำดับ มาเองาวะได้แสดงความสนใจให้เซกาเปิดตัวเมกาไดรฟ์เวอร์ชันเฉพาะงานที่คล้ายกัน[16] ในที่สุด เมกาไดรฟ์มินิก็ได้วางจำหน่ายทั่วโลกใน ค.ศ. 2019 และภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งก็รวมอยู่ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น[28]

อ้างอิง แก้

  1. 幽☆遊☆白書 魔強統一戦
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Retro Gamer staff (August 2009). "Import Only: Yu Yu Hakusho Sunset Fighters". Retro Gamer. No. 66. Imagine Publishing. pp. 46–7. ISSN 1742-3155.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Ciolek, Todd (October 29, 2008). "Field of Fire - The X Button". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ November 22, 2018.
  4. 4.0 4.1 Miller, Patrick (February 11, 2016). "17 mold-breaking fighting games that all developers should study". Gamasutra. UBM plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2018. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  5. Des Barres, Nick (October 1994). "Japan Now". GameFan. Vol. 2 no. 10. DieHard Gamers Club. p. 166. ISSN 1092-7212.
  6. 6.0 6.1 Stratton, Tom (November 1999). "Retro Archives: Yu Yu Hakusho". Gamer's Republic. Vol. 2 no. 6. Millennium Publications. p. 98. ISSN 1520-5169.
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 Kulata, Kurt (May 2, 2008). "Yu Yu Hakusho: Makyou Touitsusen". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2018. สืบค้นเมื่อ November 20, 2018.
  8. 8.0 8.1 Electronic Gaming Monthly staff (December 1994). "International Outlook". Electronic Gaming Monthly. Vol. 7 no. 12. Ziff Davis. pp. 110–3. ISSN 1058-918X.
  9. Gantayat, Anoop (March 6, 2006). "Maegawa Talks Gunstar". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
  10. Sega staff. "名作アルバム -『ガンスターヒーローズ』- P4" [Class Album - Gunstar Heroes - Part 4] (ภาษาญี่ปุ่น). Sega. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2015. สืบค้นเมื่อ November 11, 2018.
  11. Retro Gamer staff (July 2011). "From The Archives: Treasure". Retro Gamer. No. 91. Imagine Publishing. pp. 68–75. ISSN 1742-3155.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Etsuko Shimada (July 1994). "Special Report: 幽☆遊☆白書". Beep! MegaDrive (ภาษาญี่ปุ่น). No. 58. SoftBank Creative. pp. 35–36. OCLC 852214170. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2022.
  13. Kikuchi Tetsuhiko (December 29, 1996). はんの個人誌 落描帳総集編 (壱~参) [Han's Personal Magazine Doodle Book Omnibus (1~3)] (ภาษาญี่ปุ่น). Self-published doujinshi. pp. 1–130.
  14. Famitsu staff (November 15, 2018). "メガドライブ生誕30周年記念特集!" [Special feature on the 30th anniversary of the birth of Mega Drive!]. Weekly Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 1561. Gzbrain. OCLC 852442485.
  15. Sega staff (March 17, 2005). "Sega Voice Vol. 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Sega. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2016. สืบค้นเมื่อ November 11, 2018.
  16. 16.0 16.1 16.2 McFerrin, Damien (October 31, 2017). "Treasure's Masato Maegawa Wants Sega To Make A Mega Drive Mini". Nintendo Life. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
  17. "幽遊白書 魔強統一戦 サウンドトラック" [Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen Soundtrack] (ภาษาญี่ปุ่น). Treasure. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2018. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
  18. Hata Aki (December 21, 2007). "隷属快美の娘達~BEST SONGS II~ / 畑 亜貴" [Reizoku Kaibi no Musumetachi ~BEST SONGS II~ / Aki Hata] (ภาษาญี่ปุ่น). Aki Hata. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2018. สืบค้นเมื่อ November 17, 2018.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Tectoy staff (February 9, 2017). "Yuyu Hakusho para Mega Drive – O jogo que só saiu no Japão e no Brasil!" [Yu Yu Hakusho for Mega Drive – The game that only came out in Japan and Brazil!] (ภาษาโปรตุเกส). Tectoy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
  20. Beep! MegaDrive staff (September 1994). "Treasure Factory Deluxe: Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen". Beep! MegaDrive (ภาษาญี่ปุ่น). SB Creative. pp. 48–9. OCLC 852214170.
  21. Famitsu staff (October 7, 1994). "New Games Cross Review 新作ゲームクロスレビュー". Weekly Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 303. ASCII Corporation. p. 40. OCLC 852442485. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ December 1, 2018.
  22. Retro Gamer staff (February 2013). "Sega Mega Drive: Collector's Guide". Retro Gamer. No. 112. Imagine Publishing. p. 74. ISSN 1742-3155.
  23. 23.0 23.1 Ação Games staff (August 1999). "Notas: Novo game em português" [Notes: New game in Portuguese]. Ação Games (ภาษาโปรตุเกส). No. 142. Editora Abril. p. 12. ISSN 0104-1630.
  24. JBox staff (June 16, 2007). "Yu Yu Hakusho" (ภาษาโปรตุเกส). JBox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
  25. Retro Gamer staff (November 2006). "Company Profile: Tec Toy". Retro Gamer. No. 30. Imagine Publishing. p. 50. ISSN 1742-3155.
  26. Kennedy, Sam (January 4, 2007). "Treasure Talks 360, Wii, and PS3". 1Up.com. IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2007. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
  27. Fletcher, JC (November 7, 2007). "IMPORTSHOCK! More Sega imports on the way". Engadget. Weblogs, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2018. สืบค้นเมื่อ November 24, 2018.
  28. Cabrera, David (September 29, 2019). "The Japanese Sega Genesis Mini: How American players are missing out". Polygon. Vox Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ August 21, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้