การทัพมาลายา

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการมาลายา)

การทัพมาลายา เป็นชุดเหตุการณ์การรบระหว่างกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในบริติชมาลายา (มาลายาของบริเตน) นับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ถึงวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การรบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการรบทางบกระหว่างหน่วยรบต่างๆ ของเครือจักรภพอังกฤษและกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น สำหรับสหราชอาณาจักร อินเดีย ออสเตรเลีย และสหพันธรัฐมาลายาแล้ว ยุทธการครั้งนี้นับได้ว่าเป็นหายนะ

การทัพมาลายา
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
ในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพญี่ปุ่นรุกเข้ายึดเมืองกัวลาลัมเปอร์
วันที่8 ธันวาคม 1941 -- 31 มกราคม 1942
สถานที่
ผล

ฝ่ายญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม

กองบัญชาการมาลายา:
อินเดีย กองพลน้อยอินเดียที่ 3
ออสเตรเลีย กองพลที่ 8
มาเลเซีย กรมทหารมาลายา

สหราชอาณาจักร กองพลน้อยทหารราบที่ 53

กองทัพที่ 25:
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทหารรักษาพระองค์ญี่ปุ่น
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองพลที่ 5
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองพลที่ 18
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองพลบินที่ 3
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองเรือเล็กบรรทุกอากาศยานที่ 22

ไทย กองทัพบกไทย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหราชอาณาจักร อาเธอร์ เพอร์ซิวาล
สหราชอาณาจักร ลูอิส ฮีธ
สหราชอาณาจักร เฮนรี กอร์ดอน เบนเน็ตต์

สหราชอาณาจักร เมอร์ตัน เบควิธ-สมิธ

จักรวรรดิญี่ปุ่น โทโมยูกิ ยามาชิตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทะคุมะ นิชิมุระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทะคุโร มะสึอิ
จักรวรรดิญี่ปุ่น เร็นยะ มุตะงุจิ

ไทย แปลก พิบูลสงคราม
กำลัง
กำลังพล 140,000 คน [1]
อากาศยาน 158 ลำ
กำลังพล 70,000 คน
อากาศยาน 568 ลำ
รถถัง 200 คัน
ความสูญเสีย
ตาย 5,500 คน
บาดเจ็บ 5,000 คน
ตกเป็นเชลย 40,000 คน[2]
ตาย 1,793 คน
บาดเจ็บ 3,378 คน[3]

ยุทธการนี้เป็นที่จดจำจากการใช้ทหารราบจักรยาน (bicycle infantry) ซึ่งช่วยให้กองกำลังสามารถขนย้ายยุทธปัจจัยและเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วในภูมิประเทศที่เป็นป่าทึบ กรมทหารช่างหลวงของอังกฤษ (Royal Engineers) ได้ทำลายสะพานนับร้อยแห่งด้วยระเบิดระหว่างการล่าถอย ซึ่งช่วยให้สามารถถ่วงเวลาการรุกของกองทัพญี่ปุ่นได้เล็กน้อย เมื่อญี่ปุ่นสามารถยึดสิงคโปร์ได้สำเร็จนั้น ปรากฏว่าสหราชอาณาจักรสูญเสียกำลังรบ 9,600 นาย[4]

ภูมิหลัง

แก้

ในระหว่างช่วงสงคราม ยุทธศาสตร์การทหารของกองทัพสหราชอาณาจักรในภูมิภาคตะวันออกไกลอยู่ในสภาพย่ำแย่เนื่องจากขาดทั้งความระมัดระวังและเงินทุน แผนการของรัฐบาลสหราชอาณาจักรในกรณีที่เกิดความเป็นศัตรูใดๆ ก็ตามนั้น พึ่งพากับการประจำการของกองเรือรบที่เข้มแข็งในฐานทัพเรือสิงคโปร์เป็นหลัก เพื่อป้องกันทั้งการยึดครองของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคตะวันออกไกลและเส้นทางเดินเรือสู่ออสเตรเลีย การดำรงอยู่ของทัพเรือที่เข้มแข็งเช่นนี้ถูกถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งการขัดขวางบัรรดาผู้รุกรานที่อาจเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1940 พลโทไลโอเนล บอนด์ (Lionel Bond) ผู้บัญชาการกองทัพมลายา ได้ยอมรับว่าการป้องกันสิงค์โปร์อย่างได้ผลนั้นจำเป็นต้องอาศัยการปัองกันจากทั่วทั้งคาบสมุทร และฐานทัพเรือเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงที่จะขัดขวางการบุกของญี่ปุ่นได้[5] ยุทธศาสตร์การป้องกันของสหราชอาณาจักรจึงขึ้นอยู่กับสมมติฐานสองประการ อย่างแรกคือจะต้องมีการเตือนภัยแต่เนิ่นๆ ในเวลาที่เพียงพอที่จะให้มีการระดมกำลังเสริมของกองทัพสหราชอาณาจักรได้ อย่างที่สองคือทางสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดการโจมตีขึ้น แต่เมื่อถึงปลาย ค.ศ. 1941 ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสมมติฐานทั้งสองประการนี้ไม่มีทางที่จะเป็นจริงได้[5]

ในช่วงที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 การจัดสรรกำลังพลและทรัพยากรได้เน้นความสำคัญไปที่เมืองแม่ของสหราชอาณาจักรและตะวันออกกลางในระดับสูงยิ่ง ความต้องการกำลังอากาศยานจำนวน 300-500 ของกองทัพอากาศมลายาไม่เคยได้รับการตอบสนอง เมื่อกองทัพญี่ปุ่นทำการบุก ฝ่ายญี่ปุ่นมีกำลังรบเป็นรถถังจำนวน 200 กว่าคัน ประกอบด้วยรถถัง "ไทป์ 95 ฮะ-โงะ", "ไทป์ 97 ชิ-ฮะ", "ไทป์ 89 อิ-โงะ" และ "ไทป์ 97 เตะ-เกะ"[6] ส่วนกำลังรบของฝ่ายวงไพบูลย์ร่วมของสหราชอาณาจักร (Commonwealth) ประกอบด้วยรถหุ้มเกราะ แลนเชสเตอร์ 6x4 (Lanchester 6x4 Armoured Car), รถหุ้มเกราะ มาร์มอน-เฮอร์ริงตัน (Marmon-Herrington Armoured Car), Universal Carrier และรถถังเบา MK-VI (Light Tank Mk VI) อีกเพียงจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เพียงพอจะใช้ในการทำสงครามยานเกราะ (armoured warfare) ได้[7] กองทัพสหราชอาณาจักรมีแผนที่จะชิงทำการบุกภาคใต้ของประเทศไทยก่อนฝ่ายญี่ปุ่นภายใต้ชื่อปฏิบัติการมาทาดอร์ เพื่อยับยั้งการยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่น แต่ได้ระงับการดำเนินแผนการไป[ต้องการอ้างอิง]

การรุกของฝ่ายอักษะ

แก้


สงครามทางอากาศ

แก้

รุกคืบลงใต้สู่คาบสมุทรมลายา

แก้

การป้องกันเมืองยะโฮร์

แก้

ถอนทัพจากสิงคโปร์

แก้
 
สะพานข้ามทางน้ำในสิงคโปร์ถูกระเบิดทิ้งหลังจากการถอนทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร

รายชือยุทธการ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Frank Owen (2001). The Fall of Singapore. England: Penguin Books. ISBN 0-14-139133-2.
  2. Altogether Allied forces lost 7,500 killed, 10,000 wounded and about 120,000 captured for the entire Malayan Campaign
  3. Smith, Colin (2006). Singapore Burning. Penguin Books. p. 547. ISBN 0-141-01036-3.
  4. Nicholas Rowe, Alistair Irwin (21 September 2009). "Generals At War". Generals At War. Singapore. 60 นาที. National Geographic Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-26. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  5. 5.0 5.1 Bayly/Harper, p. 107
  6. Bayly/Harper, p. 110
  7. Klemen, L. "100th Indian Indp. Light Tank Squadron, Malaya 1942". The Netherlands East Indies 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-26.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้