ยูกิโอะ ฮาโตยามะ
ยูกิโอะ ฮาโตยามะ (ญี่ปุ่น: 鳩山 友紀夫, ชื่อเกิด 鳩山 由紀夫; โรมาจิ: Hatoyama Yukio; 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 — ) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) ใน ค.ศ. 2009 ถึง 2010 ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นสมัยใหม่[1] ปัจจุบัน ฮาโตยามะเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคเคียววะ พรรคการเมืองขนาดเล็กที่เขาก่อตั้งหลังประกาศกลับมาเล่นการเมืองใน ค.ศ. 2020[2]
ยูกิโอะ ฮาโตยามะ | |
---|---|
鳩山 友紀夫 | |
ภาพถ่ายทางการใน ค.ศ. 2007 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน ค.ศ. 2009 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 | |
กษัตริย์ | อากิฮิโตะ |
รอง | นาโอโตะ คัง |
ก่อนหน้า | ทาโร อาโซ |
ถัดไป | นาโอโตะ คัง |
หัวหน้าพรรคเคียววะ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 | |
รอง | โนบูฮิโกะ ชูโตะ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 2010 | |
ก่อนหน้า | อิจิโร โอซาวะ |
ถัดไป | นาโอโตะ คัง |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน ค.ศ. 1999 – 10 ธันวาคม ค.ศ. 2002 | |
ก่อนหน้า | นาโอโตะ คัง |
ถัดไป | นาโอโตะ คัง |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดฮกไกโด | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน ค.ศ. 1986 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 2012 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาเขตเลิอกตั้ง |
ถัดไป | มานาบุ โฮริอิ |
เขตเลือกตั้ง | เขตที่ 9 |
คะแนนเสียง | 122,345 (40.2%) (2009) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เขตบุงเกียว โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
พรรคการเมือง | พรรคเคียววะ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2020) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | LDP (ก่อน ค.ศ. 1993) NPS (1993–1996) DPJ(96) (1996–1998) DPJ(98) (1998–2012) อิสระ (2012–2020) |
คู่สมรส | มิยูกิ ฮาโตยามะ (สมรส 1975) |
บุตร | 1 |
บุพการี | อิอิจิโร ฮาโตยามะ ยาซูโกะ ฮาโตยามะ |
ความสัมพันธ์ | ตระกูลฮาโตยามะ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยโตเกียว (BE) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (PhD) |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ตอนแรกฮาโตยามะได้รับเลือกในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ ค.ศ. 1986 โดยเป็นประธานพรรค DPJ พรรคฝ่ายค้านหลักในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 จากนั้นเขานำพรรคชนะเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2009 โดยเอาชนะพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ที่มีอำนาจมายาวนานกว่าทศวรรษ เขาเป็นตัวแทนสมาชิก สส. จากจังหวัดฮกไกโด เขต 9 ใน ค.ศ. 1986 ถึง 2012
ฮาโตยามะประกาศเกษียณตนเองจากการเมืองใน ค.ศ. 2012[2] นับจากนั้น เขาสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์พร้อมทัศนคติทางการเมืองที่เปิดเผยจำนวนาก เช่นในทวิตเตอร์ กระนั้น ฮาโตยามะสร้างประเด็นพิพาทในตอนที่เดินทางไปไครเมียใน ค.ศ. 2015 และอ้างว่าการผนวกของสหพันธรัฐรัสเซียเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกล่าวเท็จว่ายูเครนและเนโทจะยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ใส่รัสเซียใน ค.ศ. 2023[3][4] ต่อมาใน ค.ศ. 2020 ฮาโตยามะก่อตั้งพรรคเคียววะและประกาศความตั้งใจที่จะกลับเข้าวงการการเมืองญี่ปุ่นอีกครั้ง[2]
ชีวิตช่วงต้นและครอบครัว
แก้ฮาโตยามะมาจากตระกูลนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับตระกูลเคนเนดีของสหรัฐ[5]
ฮาโตยามะเป็นนักการเมืองรุ่นที่ 4 ถือกำเนิดในเขตบุงเกียว โตเกียว โดยคาซูโอะ ฮาโตยามะ ทวดฝ่ายพ่อ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรของสภานิติบัญญัติแห่งชาติญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1896 ถึง 1897 ในช่วงยุคเมจิ[6] ต่อมาคาซูโอะดำรงตำแหน่งประธานมหาวิทยาลัยวาเซดะ[6] อิจิโร ฮาโตยามะ ปู่ของเขา เป็นนักการเมืองคนสำคัญที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเป็นผู้ก่อตั้งกับประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยคนแรกใน ค.ศ. 1956 ตอนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต ซึ่งเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้[6]
ฮาโตยามะเป็นบุตรของอิอิจิโร ฮาโตยามะ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น ส่วนยาซูโกะ ฮาโตยามะ มารดาของเขา เป็นบุตรีของโชจิโร อิชิบาชิ ผู้ก่อตั้งบริดจสโตนและทายาทมรดกอันสำคัญ[5] การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของยูกิโอะและน้องชาย ได้รับการสนับสนุนจากมารดา[6] คูนิโอะ ฮาโตยามะ น้องชายของเขา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารภายใต้นายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซ จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009
ฮาโตยามะจบการศึกษาในระดับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียวใน ค.ศ. 1969 และได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใน ค.ศ. 1976[7] เขากับมิยูกิ ฮาโตยามะ ภรรยาของเขาขณะศึกษาที่สแตนฟอร์ด (มิยูกิตอนนั้นทำงานในภัตตาคารญี่ปุ่น)[6] ทั้งคู่แต่งงานใน ค.ศ. 1975 หลังมิยูกิหย่ากับอดีตสามี[5] คิอิจิโร (紀一郎) บุตรของทั้งสอง จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นนักวิจัยวิศวกรรมเยี่ยมชมที่มหาวิทยาลัยมอสโก[6]
อาชีพการเมือง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 2009–2010)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลาออก
แก้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ฮาโตยามะประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนการประชุมพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น โดยอ้างถึงการผิดสัญญาหาเสียงเรื่องการปิดฐานทัพสหรัฐบนเกาะโอกินาวะ ก่อนหน้านั้นในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ฮาโตยามะทำข้อตกลงกับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ[8][9][10][11][12] ให้คงฐานไว้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เนื่องด้วยความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นหลังจากเรือของกองทัพเรือเกาหลีใต้อัปปางลง โดยมีการกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของเกาหลีเหนือ[13] แต่ข้อตกลงนี้ไม่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น
คณะรัฐมนตรี
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Hayashi, Yuka. "Japanese Prime Minister Yukio Hatoyama Resigns; Search for New Leader Begins". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "鳩山元首相「共和党」の結党を準備 現職議員の参加は…:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-12-16.
- ↑ "Ex-prime minister Hatoyama defends referendum in Crimea as constitutional". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2015-03-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-16.
- ↑ 鳩山由紀夫氏、誤情報拡散を謝罪 ウクライナ巡り「核戦争で人類が滅びてしまいかねない」とツイートも「撤回する」
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Suzuki, Miwa (24 August 2009). "Japan's first lady hopeful an outgoing TV lifestyle guru". France 24. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2010. สืบค้นเมื่อ 31 August 2009.; Hayashi, Yuka. "Japan's Hatoyama Sustains Family Political Tradition," Wall Street Journal (WSJ). 1 August 2009.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Takahashi, Kosuke. "Japan on the brink of a new era", Asia Times, 29 August 2009.
- ↑ "Yukio Hatoyama". The Democratic Party of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2007.
- ↑ Hayashi, Yuka (2 June 2010). "Japanese Prime Minister Yukio Hatoyama Resigns; Search for New Leader Begins". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
- ↑ "MCAS Futenma to remain on Okinawa". Marine Corps Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2012.
- ↑ "Hatoyama, Obama to talk on Futenma Air Base: report". Reuters. 25 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
- ↑ The Yomiuri Shimbun. "'Obama nod' prompted Fukushima dismissal". Yomiuri Shimbun. Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
- ↑ "Obama, Hatoyama Satisfied With US Airbase Relocation – White House". The Wall Street Journal. 27 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
- ↑ Associated, The (23 May 2010). "Japan's Leader Concedes To U.S. On Okinawa Base". NPR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
บรรณานุกรม
แก้- Itoh, Mayumi (2003). The Hatoyama Dynasty: Japanese Political Leadership through the Generations. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 1-403-96331-2, ISBN 978-1-403-96331-4. OCLC 248918078.
- Hofmann, Reto (2019). "The conservative imaginary: moral re-armament and the internationalism of the Japanese right, 1945–1962". Japan Forum. 33 (1): 77–102. doi:10.1080/09555803.2019.1646785. ISSN 0955-5803. S2CID 202261053.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- บัญชีทวิตเตอร์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Yuai Youth Association Official website: "Yuai" for Understanding; Origin of Yuai idea (ในภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น) – a Yuai (Fraternity) association: Yukio Hatoyama is the chairperson. (broken link)
- Hatoyama, Yukio (26 August 2009). "A New Path for Japan". The New York Times. Opinion. Outlines his party's philosophy of tempering the excesses of market capitalism and of moving towards regional integration and collective security in Asia.
- Harden, Blaine (1 September 2009). "A Political Blue Blood on His Own Path". The Washington Post.
- Martin, Alex (14 July 2009). "HATOYAMAS: For Hatoyamas, politics is considered birthright". The Japan Times. FYI (weekly column).