ภาษายิดดิช
ภาษายิดดิช (ยิดดิช: ייִדיש, יידיש หรือ אידיש, yidish หรือ idish, ออกเสียง [ˈ(j)ɪdɪʃ], แปลว่า ชาวยิว; ייִדיש-טײַטש, Yidish-Taytsh, แปลว่า ยิว-เยอรมัน)[8] เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกที่เป็นภาษาในอดีตของชาวยิวอัชเคนาซิ โดยมีต้นกำเนิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9[9] ที่ยุโรปกลาง ในชุมชนอัชเคนาซิช่วงเริ่มแรก ภาษานี้เป็นภาษาพื้นเมืองที่มีฐานจากภาษาเยอรมันสูงผสมกับองค์ประกอบหลายอย่างจากภาษาฮีบรู (โดยเฉพาะ Mishnaic) และบางส่วนจากภาษาแอราเมอิก สำเนียงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลจากภาษากลุ่มสลาวิก และคำศัพท์สืบต้นตอไปถึงอิทธิพลจากภาษากลุ่มโรมานซ์[10][11][12] ภาษายิดดิชใช้อักษรฮีบรู ใน ค.ศ. 2012[update] ทาง Center for Applied Linguistics ประมาณการว่ามีผู้พูดภาษานี้ทั่วโลกสูงสุด 11 ล้านคน (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) โดยมีจำนวนผู้พูดในสหรัฐและแคนาดาในเวลานั้นรวม 150,000 คน[13] ส่วนมหาวิทยาลัยรัตเกอส์ประมาณการว่ามีผู้พูดชาวอเมริกัน 250,000 คน อิสราเอล 250,000 คน และส่วนอื่นของโลก 100,000 คน (จากทั้งหมด 600,000 คน)[14]
ภาษายิดดิช | |
---|---|
ייִדיש, יידיש หรือ אידיש, yidish/idish | |
ออกเสียง | [ˈ(j)ɪdɪʃ] |
ประเทศที่มีการพูด | ยุโรปกลาง, ตะวันออก และตะวันตก |
ภูมิภาค | ยุโรป, อิสราเอล, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ภูมิภาคอื่นที่มีประชากรยิว[1] |
ชาติพันธุ์ | ชาวยิวอัชเคนาซิ |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (1.5 ล้านคน อ้างถึง1986–1991 + ครึ่งหนึ่งไม่ทราบวันที่)[1] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | อักษรฮีบรู (อักขรวิธีภาษายิดดิช) บางครั้งใช้อักษรละติน[4] |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | รัสเซีย |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | |
ผู้วางระเบียบ | ไม่มี YIVO โดยพฤตินัย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | yi |
ISO 639-2 | yid |
ISO 639-3 | yid – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: ydd – ยิดดิชตะวันออกyih – ยิดดิชตะวันตก |
Linguasphere | 52-ACB-g = 52-ACB-ga (ตะวันตก) + 52-ACB-gb (ตะวันออก); รวม 11 สำเนียง |
ก่อนเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ มีผู้พูดภาษายิดดิช 11–13 ล้านคนจากชาวยิว 17 ล้านคนทั่วโลก[15] จากชาวยิวที่ถูกฆ่าในฮอโลคอสต์ 6,000,000 คน 85% เป็นผู้พูดภาษายิดดิช[16] ทำให้ผู้ใช้ภาษานี้ลดลงอย่างมาก การกลืนกลายทางวัฒนธรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองและ aliyah การอพยพไปยังอิสราเอล ทำให้จำนวนผู้รอดชีวิตและผู้พูดภาษายิดดิชจากประเทศอื่น ๆ (เช่นในทวีปอเมริกา) ลดลงอีก อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้พูดภาษายิดดิชในชุมชน Hasidic ยังคงเพิ่มขึ้น
ประวัติ
แก้วัฒนธรรมอาสเกนาซีมีรากฐานในช่วง พ.ศ. 1500 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ชื่อนี้มาจาก Ashkenaz ชื่อของชาวยิวในยุคกลางในเขตที่ปัจจุบันอยุ่ในประเทศเยอรมัน ชนกลุ่มนี้เข้ากับชาวคริสต์ในเยอรมันไม่ได้สนิท ดินแดนนี้รวมถึงตอนเหนือของฝรั่งเศสไปจนถึงขอบเขตชาวยิวเชื้อสายสเปนที่กินพื้นที่เข้ามาถึงฝรั่งเศสตอนใต้ ต่อมาเขตนี้ได้ขยายออกไปทางตะวันออกด้วย
ภาษาแรกของชาวยิวในยุโรปคือภาษาอราเมอิก (Kast, 2004) ซึ่งเป็นภาษาของชาวยิวในปาเลสไตน์และเมโสโปเตเมีย ในสมัยโรมัน ชาวยิวในโรมและอิตาลีใต้ใช้ภาษากรีก ซึ่งต่อมาได้มีอิทธิพลต่อภาษายิดดิชด้วย ผู้พูดในอาสเกนาซีได้รับอิทธิพลจากภาษาเยอรมันจนถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาเยอรมัน
พุทธศตวรรษที่ 25
แก้ในช่วง พ.ศ. 2443 ภาษายิดดิชปรากฏชัดในฐานะของภาษาหลักในยุโรปตะวันออก มีการใช้ในวรรณคดีและภาพยนตร์มาก เป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของรัฐไบโลรัสเซียในโซเวียต การศึกษาของชาวยิวในหลายประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ใช้ภาษายิดดิชมากขึ้น (โดยเฉพาะในโปแลนด์) มีการตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ยิดดิช เมื่อ พ.ศ. 2468 และเป็นภาษากลางของชาวยิวในยุโรปตะวันออก ซึ่งปฏิเสธลัทธิไซออนิสต์ และต้องการรักษาวัฒนธรรมยิวไว้ในยุโรป ส่วนภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็นภาษาหลักของชาวยิวในขบวนการไซออนิสต์
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้พูดภาษายิดดิชราว 11 – 13 ล้านคน (Jacobs, 2005) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวลดจำนวนผู้พูดภาษายิดดิชลงไปมาก งานทางวิชาการและศาสนาที่ใช้ภาษายิดดิชถูกทำลาย ผู้พูดภาษายิดดิชรอดชีวิตเพียงราวล้านคน (ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา) และจากความเข้มงวดในการใช้ภาษาเดียวของขบวนการไซออนิสต์ทำให้ผู้พูดภาษายิดดิชลดจำนวนลง เหมือนที่ภาษายิดดิชตะวันตกเคยเป็นมาก่อน
หลักฐานการเขียน
แก้หลักฐานเก่าสุดเป็นหนังสือภาษาฮีบรูในพ.ศ. 1815 ซึ่งมีคำจากภาษาเยอรมันปนอยู่น้อย คำจากภาษาเยอรมันเริ่มเข้ามามากในช่วงพ.ศ. 1900 – 2000
การใช้ในทางโลก
แก้ภาษายิดดิชตะวันตกมีการใช้น้อยลงในช่วง พ.ศ. 2300 ซึ่งเนื่องมาจากการที่ผู้พูดภาษาเยอรมันมองว่าภาษายิดดิชเป็นภาษาที่ถูกบิดเบือน และจากการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งของภาษาฮีบรู ทำให้ภาษายิดดิชตะวันตกเหลือใช้แต่ในผู้ที่สนิทกันเท่านั้น ในทางตะวันออกที่ส่วนใหญ่ชาวยิวยังเป็นทาส ยิดดิชเป็นคำที่นักวิชาการใช้แสดงถึงความเป็นยิว ในช่วง พ.ศ. 2433 – 2453 จัดเป็นยุคทองของวรรณกรรมยิดดิช ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาของภาษาฮีบรูใหม่ เพื่อใช้เป็นภาษาพูดและคำบางคำมีอิทธิพลต่อภาษายิดดิช
ในปัจจุบัน ภาษายิดดิชเป็นภาษาของชนส่วนน้อยในมอลโดวา และสวีเดน แต่จำนวนผู้พูดยังมีรายงานที่แตกต่างกัน ข้อมูลล่าสุดเท่าที่หาได้คือ
- อิสราเอล 215,000 คน (6% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2529)
- สหรัฐ 178,945 คน (2.8% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2543) ในจำนวนนี้ อายุมากกว่า 65 ปีมี 72,885 คน และอายุต่ำกว่า 18 ปีมี 39,245 คน
- อดีตรัฐในสหภาพโซเวียต 29,998 คน (13% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2545)
- มอลโดวา 17,000 คน (26% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2532)
- ยูเครน 3,213 คน (3.1%ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
- เบลารุส 1,979 คน (7.1% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2542)
- ลัตเวีย 825 คน (7.9% ของชาวยิวทั้งหมด)
- ลิทัวเนีย570 คน (14.2% ของชาวยิวทั้งหมด)
- เอสโตเนีย 124 คน (5.8% ของชาวยิวทั้งหมด)
- แคนาดา 19,295 คน (5.5% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
- โรมาเนีย 951 คน (16.4% ของชาวยิวทั้งหมด)
ภาษายิดดิชมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในพุทธศตวรรษนี้ ผู้พูดในอิสราเอลจะยืมคำจากภาษาฮีบรู ส่วนผู้พูดในสหรัฐและอังกฤษจะยืมคำจากภาษาอังกฤษทำให้การสื่อสารระหว่างผู้พูดภาษายิดดิชที่อยู่คนละประเทศทำได้ยากขึ้น
ชุมชนทางศาสนา
แก้ชุมขนชาวฮาเรคิมใช้ภาษายิดดิชในพิธีกรรมทางศาสนา แม้ว่าจะพูดภาษาฮีบรูได้ และสนับสนุนให้บุตรหลานเรียนภาษายิดดิช มีการแปลคัมภีร์เป็นภาษายิดดิชด้วย
ตัวอย่าง
แก้นี่คือตัวอย่างภาษายิดดิชเทียบกับภาษาเยอรมันมาตรฐาน
ภาษา | ข้อความ |
---|---|
ไทย[17] | มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ |
ยิดดิช[18] | יעדער מענטש װערט געבױרן פֿרײַ און גלײַך אין כּבֿוד און רעכט. יעדער װערט באַשאָנקן מיט פֿאַרשטאַנד און געװיסן; יעדער זאָל זיך פֿירן מיט אַ צװײטן אין אַ געמיט פֿון ברודערשאַפֿט. |
ยิดดิช (ทับศัพท์)[18] | Yeder mentsh vert geboyrn fray un glaykh in koved un rekht. Yeder vert bashonkn mit farshtand un gevisn; yeder zol zikh firn mit a tsveytn in a gemit fun brudershaft. |
เยอรมัน[19] | Alle Menschen sind frei und gleich an Würde und Rechten geboren. Sie sind mit Vernunft und Gewissen begabt und sollen einander im Geist der Brüderlichkeit begegnen. |
เยอรมัน (ทับศัพท์จากศัพท์ยิดดิช) | Jeder Mensch wird geboren frei und gleich in Würde und Recht. Jeder wird beschenkt mit Verstand und Gewissen; jeder soll sich führen mit einem Zweiten in einem Gemüt von Brüderschaft. |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ภาษายิดดิช ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ยิดดิชตะวันออก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ยิดดิชตะวันตก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก) - ↑ Edited by Ekkehard König and Johan van der Auwera: The Germanic Languages. Routledge: London & New York, 1994, p. 388 (chapter 12 Yiddish)
- ↑ Sten Vikner: Oxford Studies in Comparative Syntax: Verb Movement and Expletive Subjects in the Germanic Languages. Oxford University Press: New York & Oxford, 1995, p. 7
- ↑ Matthias Mieses: Die Gesetze der Schriftgeschichte: Konfession und Schrift im Leben der Völker. 1919, p. 323.
Also cp. the following works, where certain works in Yiddish language with Latin script are mentioned:- Carmen Reichert: Poetische Selbstbilder: Deutsch-jüdische und Jiddische Lyrikanthologien 1900–1938. (Jüdische Religion, Geschichte und Kultur. Band 29). 2019, p. 223 (in chapter 4. 10 Ein radikaler Schritt:eine jiddische Anthologie in lateinischen Buchstaben)
- Illa Meisels: Erinnerung der Herzen. Wien: Czernin Verlag, 2004, p. 74: "Chaja Raismann, Nit in Golus un nit in der Heem, Amsterdam 1931, ein in lateinischen Buchstaben geschriebenes jiddisches Büchlein."
- Desanka Schwara: Humor und Toleranz. Ostjüdische Anekdoten als historische Quelle. 2001, p. 42
- Edited by Manfred Treml and Josef Kirmeier with assistance by Evamaria Brockhoff: Geschichte und Kultur der Juden in Bayern: Aufsätze. 1988, p. 522
- ↑ Moskowitz, Chavi (2013-06-02). "A Bisl Yiddish: A Yiddish home in Siberia?". The Jerusalem Post | JPost.com.
- ↑ Vitale, Alessandro (2015-12-31). "Ethnopolitics as Co-operation and Coexistence: The Case‑Study of the Jewish Autonomous Region in Siberia". Politeja. Ksiegarnia Akademicka Sp. z.o.o. 12 (8 (31/2)): 123–142. doi:10.12797/politeja.12.2015.31_2.09. ISSN 2391-6737. JSTOR 24919780.
- ↑ Working, Russell (1999-12-30). "Russia's Jewish homeland: a Stalinist experiment in social engineering lingers on". The Japan Times.
- ↑ Matras, Yaron. "Archive of Endangered and Smaller Languages: Yiddish". University of Manchester. humanities.manchester.ac.uk. Matres explains that with the emigration of Jews eastward into Slavic-speaking areas of Central Europe, from around the twelfth century onward, Yiddish "took on an independent development path", adding: "It was only in this context that Jews began to refer to their language as 'Yiddish' (= 'Jewish'), while earlier, it had been referred to as 'Yiddish-Taitsh' (='Judeo-German')."
- ↑ Jacobs, Neil G. (2005). Yiddish: a Linguistic Introduction. Cambridge University Press. p. 2. ISBN 0-521-77215-X.
- ↑ Baumgarten, Jean; Frakes, Jerold C. (June 1, 2005). Introduction to Old Yiddish literature. Oxford University Press. p. 72. ISBN 978-0-19-927633-2.
- ↑ "Development of Yiddish over the ages". jewishgen.org.
- ↑ Aram Yardumian, "A Tale of Two Hypotheses: Genetics and the Ethnogenesis of Ashkenazi Jewry". University of Pennsylvania. 2013.
- ↑ "Yiddish Language". Center for Applied Linguistics. 2012.
- ↑ "Yiddish FAQs". Rutgers University.
- ↑ Dovid Katz. "YIDDISH" (PDF). YIVO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2012. สืบค้นเมื่อ December 20, 2015.
- ↑ Solomon Birnbaum, Grammatik der jiddischen Sprache (4., erg. Aufl., Hamburg: Buske, 1984), p. 3.
- ↑ OHCHR. "OHCHR Thai". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
- ↑ 18.0 18.1 OHCHR. "OHCHR Yiddish". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
- ↑ OHCHR. "OHCHR German". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
บรรณานุกรม
แก้- Baumgarten, Jean (2005). Frakes, Jerold C. (บ.ก.). Introduction to Old Yiddish Literature. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-927633-1.
- Birnbaum, Solomon (2016) [1979]. Yiddish – A Survey and a Grammar (2nd ed.). Toronto.
- Dunphy, Graeme (2007). "The New Jewish Vernacular". ใน Reinhart, Max (บ.ก.). Camden House History of German Literature, Volume 4: Early Modern German Literature 1350–1700. pp. 74–79. ISBN 978-1-57113-247-5.
- Fishman, David E. (2005). The Rise of Modern Yiddish Culture. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press. ISBN 0-8229-4272-0.
- Fishman, Joshua A., บ.ก. (1981). Never Say Die: A Thousand Years of Yiddish in Jewish Life and Letters (ภาษายิดดิช และ อังกฤษ). The Hague: Mouton Publishers. ISBN 90-279-7978-2.
- Frakes, Jerold C (2004). Early Yiddish Texts 1100–1750. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-926614-X.
- Herzog, Marvin; และคณะ, บ.ก. (1992–2000). The Language and Culture Atlas of Ashkenazic Jewry. Tübingen: Max-Niemeyer-Verlag in collaboration with YIVO. ISBN 3-484-73013-7.
- Katz, Hirshe-Dovid (1992). Code of Yiddish spelling ratified in 1992 by the programmes in Yiddish language and literature at Bar Ilan University, Oxford University, Tel Aviv University, Vilnius University. Oxford: Oksforder Yiddish Press in cooperation with the Oxford Centre for Postgraduate Hebrew Studies. ISBN 1-897744-01-3.
- Katz, Dovid (1987). Grammar of the Yiddish Language. London: Duckworth. ISBN 0-7156-2162-9.
- Katz, Dovid (2007). Words on Fire: The Unfinished Story of Yiddish (2nd ed.). New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-03730-8.
- Kriwaczek, Paul (2005). Yiddish Civilization: The Rise and Fall of a Forgotten Nation. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-82941-6.
- Lansky, Aaron (2004). Outwitting History: How a Young Man Rescued a Million Books and Saved a Vanishing Civilisation. Chapel Hill: Algonquin Books. ISBN 1-56512-429-4.
- Liptzin, Sol (1972). A History of Yiddish Literature. Middle Village, New York: Jonathan David Publishers. ISBN 0-8246-0124-6.
- Margolis, Rebecca (2011). Basic Yiddish: A Grammar and Workbook. Routledge. ISBN 978-0-415-55522-7.
- Rosten, Leo (2000). Joys of Yiddish. Pocket. ISBN 0-7434-0651-6.
- Shandler, Jeffrey (2006). Adventures in Yiddishland: Postvernacular Language and Culture. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-24416-8.
- Shmeruk, Chone (1988). Prokim fun der Yidisher Literatur-Geshikhte [Chapters of Yiddish Literary History] (ภาษายิดดิช). Tel Aviv: Peretz.
- Shternshis, Anna (2006). Soviet and Kosher: Jewish Popular Culture in the Soviet Union, 1923–1939. Bloomington, IN: Indiana University Press.
- Stutchkoff, Nahum (1950). Oytser fun der Yidisher Shprakh [Thesaurus of the Yiddish language] (ภาษายิดดิช). New York.
- Weinreich, Uriel (1999). College Yiddish: An Introduction to the Yiddish language and to Jewish Life and Culture (ภาษายิดดิช และ อังกฤษ) (6th rev. ed.). New York: YIVO Institute for Jewish Research. ISBN 0-914512-26-9.
- Weinstein, Miriam (2001). Yiddish: A Nation of Words. New York: Ballantine Books. ISBN 0-345-44730-1.
- Wex, Michael (2005). Born to Kvetch: Yiddish Language and Culture in All Its Moods. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-30741-1.
- Witriol, Joseph (1974). Mumme Loohshen: An Anatomy of Yiddish. London.
อ่านเพิ่ม
แก้- YIVO Bleter, pub. YIVO Institute for Jewish Research, NYC, initial series from 1931, new series since 1991.
- Afn Shvel, pub. League for Yiddish, NYC, since 1940; אויפן שוועל, sample article אונדזער פרץ – Our Peretz
- Lebns-fragn, by-monthly for social issues, current affairs, and culture, Tel Aviv, since 1951; לעבנס-פראגן, current issue
- Yerusholaymer Almanakh, periodical collection of Yiddish literature and culture, Jerusalem, since 1973; ירושלימער אלמאנאך, new volume, contents and downloads
- Der Yiddisher Tam-Tam, pub. Maison de la Culture Yiddish, Paris, since 1994, also available in electronic format.
- Yidishe Heftn, pub. Le Cercle Bernard Lazare, Paris, since 1996, יידישע העפטן sample cover, subscription info.
- Gilgulim, naye shafungen, new literary magazine, Paris, since 2008; גילגולים, נייע שאפונגען