มาริโอปาร์ตี 7 (ญี่ปุ่น: マリオパーティ7; อังกฤษ: Mario Party 7) เป็นวิดีโอเกมปาร์ตีที่พัฒนาโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์ และเผยแพร่โดยบริษัทนินเท็นโดสำหรับเกมคิวบ์ โดยเป็นภาคหลักที่เจ็ดในซีรีส์มาริโอปาร์ตี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005, ในทวีปยุโรปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 และในประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 เกมนี้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ต่อพ่วงไมโครโฟนที่นำมาใช้ในมาริโอปาร์ตี 6 และมีตัวละครสิบสองตัว รวมทั้งตัวละครที่ปลดล็อกได้ใหม่สองตัว ได้แก่ บิรโด และดรายโบนส์ ส่วนกุปปะคิดถูกละเว้นให้เป็นตัวละครที่สามารถเล่นได้ หลังจากเล่นได้ในสองภาคก่อนหน้านี้

มาริโอปาร์ตี 7
งานศิลปะกล่องเวอร์ชันอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาฮัดสันซอฟต์
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับชูอิจิโร นิชิยะ
อำนวยการผลิตฮิโรชิ ซาโต
แต่งเพลงฮิโรโนบุ ยาฮาตะ
ชินยะ โอโตเงะ
ชุดมาริโอปาร์ตี
เครื่องเล่นเกมคิวบ์
วางจำหน่าย
แนวปาร์ตี
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ทั้งนี้ มาริโอปาร์ตี 7 เป็นเกมที่สี่และเป็นเกมสุดท้ายในซีรีส์ที่วางจำหน่ายสำหรับเกมคิวบ์ แล้วตามมาด้วยมาริโอปาร์ตี 8 สำหรับเครื่องวีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007

รูปแบบการเล่น แก้

 
เกมดังกล่าวมีมินิเกมแปดผู้เล่น โดยแปดคนสามารถแข่งขันกันในสี่ทีม ทีมละสองคน ส่วนมินิเกมในภาพคือ "กรินแอนด์บาร์อิต"

เป้าหมายของมาริโอปาร์ตี 7 คือการรวบรวมดาว ทว่าแต่ละกระดานต้องการในวิธีที่ต่างกัน นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกของซีรีส์ใน ค.ศ. 1998 ผู้เล่นแปดคนสามารถเข้าร่วมปาร์ตีครูซ หรือเดอลุกซ์ครูซ (ผู้เล่น 8 คนเทียบเท่ากับมินิเกมครูซ) ผู้เล่นจะได้รับการแบ่งออกเป็นสองทีมและต้องใช้คอนโทรลเลอร์ร่วมกัน โดยผู้เล่นคนแรกจะใช้ปุ่มแอล และคอนโทรลสติกในมินิเกม ในขณะที่ผู้เล่นคนที่สองใช้ปุ่มอาร์ และซี-สติก

แม้ว่าโหมดสำหรับผู้เล่นเดี่ยวจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับซีรีส์มาริโอปาร์ตี แต่ภาคนี้แตกต่างจากหกภาคก่อนอย่างมาก ผู้เล่นคนหนึ่งแข่งขันกับอีกคนหนึ่ง (ไม่ว่าจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์หรือเล่นโดยมนุษย์) โดยพยายามบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้บนแผนที่กระดานก่อนที่อีกคนจะทำได้ ภารกิจมีตั้งแต่การรวบรวมดาวตามจำนวนที่กำหนดไปจนถึงการมีจำนวนเหรียญที่กำหนดไว้ในช่องว่าง สามารถเซฟช่องตัวละครต่าง ๆ ที่มีวลีต่างกันได้ถึงสิบช่อง เมื่อผู้เล่นเสร็จครบทั้งหกกระดานแล้ว พวกเขาจะได้รับการเพิ่มไปยังส่วนการจัดอันดับ ซึ่งจะแสดงผู้เล่นที่ใช้เทิร์นน้อยที่สุดเพื่อทำให้เสร็จ

มี 88 เกมในมาริโอปาร์ตี 7 นับเป็นอีกครั้งที่ไม่มีมินิเกมจากภาคก่อนปรากฏ โดยมินิเกมมีเก้ารูปแบบในเกมนี้ ได้แก่ ผู้เล่น 4 คน, 1 ต่อ 3, 2 ต่อ 2, แบตเทิล (ประจัญบาน), ดูเอล (การต่อสู้กันตัวต่อตัว), ผู้เล่น 8 คน, ดองกีคอง, บาวเซอร์ และแรร์ ทั้งนี้ สำหรับผู้เล่น 4 คน และ 1 ต่อ 3 มีมินิเกมเพิ่มเติมห้าเกมที่สามารถเล่นด้วยไมโครโฟน ส่วนในมินิเกมของผู้เล่น 8 คน ผู้เล่นคนหนึ่งใช้คอนโทรลสติกกับปุ่มแอล และผู้เล่นอีกคนใช้ซี-สติก กับปุ่มอาร์ การควบคุมมินิเกมดังกล่าวมีตั้งแต่การกดปุ่มซ้ำ ๆ จนถึงการใช้ก้านควบคุมและหลายปุ่ม นอกจากนี้ มีมินิเกมพิเศษที่ผู้เล่นต้องซื้อในเกมเพื่อปลดล็อก

อีกหนึ่งเกมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ "บาวเซอร์ไทม์!" ซึ่งนี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุก ๆ ห้าเทิร์นในระหว่างการแข่งปาร์ตีครูซ หลังจากแต่ละมินิเกม มิเตอร์บนหน้าจอจะเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมิเตอร์เต็ม บาวเซอร์จะปรากฏขึ้นและขัดขวางผู้เล่นโดยขึ้นอยู่กับกระดานที่ตัวละครกำลังเล่นอยู่ โดยตามกระดานนี้ บาวเซอร์อาจทำลายสะพาน, แย่งดาวจากผู้เล่น หรือเปลี่ยนตำแหน่งดาว ในเกือบทุกกระดานในบางครั้ง บาวเซอร์อาจถ่ายรูปเป็น "ที่ระลึก" ของวันหยุด และนำเหรียญของผู้เล่นไป ส่วนในเวลาอื่น ๆ มันอาจเปิดร้านขายของที่ขายสินค้าไร้ประโยชน์และราคาแพงแก่ผู้เล่น ซึ่งกุปปะคิดก็เอาไป ทั้งนี้ "บาวเซอร์ไทม์!" อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือมากถึงเก้าครั้ง โดยอยู่กับจำนวนเทิร์นที่เล่น

นี่เป็นเกมแรกในซีรีส์มาริโอปาร์ตีที่ยกเลิกความสามารถในการเล่นอัตโนมัติในโหมดปาร์ตี (ซึ่งผู้เล่นทุกคนสามารถตั้งค่าเป็นปัญญาประดิษฐ์ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกมสามารถ "เล่นเอง" ได้โดยไม่ต้องใช้มนุษย์) และเกมนี้จะไม่อนุญาตให้มีผู้เล่นที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดเวลา เว้นแต่จะใช้รหัส

โครงเรื่อง แก้

โทดส์เวิร์ธได้เชิญมาริโอและเพื่อน ๆ ของเขาไปล่องเรือสำราญสุดหรูรอบโลกเนื่องจากการทำงานหนักสารพัน อย่างไรก็ตาม บาวเซอร์ไม่ได้รับเชิญ ด้วยความโกรธแค้นที่ถูกละเลย ราชากุปปะจึงสาบานว่าจะแก้แค้น เมื่อเรือสำราญมาถึงที่หมายแรก ผู้โดยสารพบว่าบาวเซอร์ได้เปลี่ยนสวรรค์แห่งการพักผ่อนของพวกเขาให้กลายเป็นสถานที่ที่บ้าบอซึ่งเต็มไปด้วยความเครียด มาริโอจึงพยายามเก็บดาวให้ได้มากที่สุดเพื่อยุติเรื่องนี้

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก64/100[1]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
1อัป.คอมดีบวก[2]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี6/10[3]
ยูโรเกมเมอร์3/10[4]
แฟมิซือ30/40[5]
เกมอินฟอร์เมอร์5/10[6]
เกมโปร     [7]
เกมสปอต6.5/10[8]
เกมสปาย     [9]
ไอจีเอ็น7/10[10]
นินเท็นโดเพาเวอร์7.5/10[11]
นินเท็นโดเวิลด์รีพอร์ต8.5/10[12]

เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์แบบ "ผสม" ตามเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์ เมทาคริติก[1] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารแฟมิซือให้แปดคะแนนสองอัน และเจ็ดคะแนนสองอัน รวมเป็น 30 คะแนนจาก 40 คะแนน[5] ขณะที่เว็บไซต์ไอจีเอ็นให้คะแนนเกมนี้ที่ 7 คะแนนเต็ม 10 โดยระบุว่าเป็น "ปาร์ตีนิทรา" เท่านั้น[10]

ทั้งนี้ เกมดังกล่าวมียอดจำหน่าย 1.86 ล้านชุดทั่วโลก[13]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Mario Party 7 for GameCube Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  2. Rea, Jared (December 14, 2005). "Mario Party 7". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2016. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  3. EGM staff (January 2006). "Mario Party 7". Electronic Gaming Monthly (199): 125.
  4. Gibson, Ellie (February 1, 2006). "Mario Party 7". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  5. 5.0 5.1 "Famitsu Scores: Mario Party 7, Touch! Golf, NBA Live '06, Psi Ops, Getaway". Nerd Mentality. November 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2017. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  6. Juba, Joe (December 2005). "Mario Party 7". Game Informer. No. 152. p. 178. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  7. "Mario Party 7". GamePro: 80. January 2006.
  8. Davis, Ryan (November 11, 2005). "Mario Party 7 Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  9. Kosak, Dave (November 29, 2005). "GameSpy: Mario Party 7". GameSpy. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  10. 10.0 10.1 Casamassina, Matt (November 7, 2005). "Mario Party 7". IGN. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  11. "Mario Party 7". Nintendo Power. 199: 110. January 2006.
  12. "Mario Party 7 Review". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ January 28, 2020.
  13. "Nintendo 2006 Annual Report" (PDF). p. 8. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้