มอนสเตอร์สไตรก์

มอนสเตอร์สไตรก์ (ญี่ปุ่น: モンスターストライクโรมาจิMonsutā Sutoraiku; อังกฤษ: Monster Strike) หรือ มอนซุโตะ (ญี่ปุ่น: モンストโรมาจิMonsuto; อังกฤษ: MonSt) เป็นเกมมือถือประเภทแอ็กชันสวมบทบาทเชิงฟิสิกส์ที่พัฒนาโดยบริษัทมิกซีและสตูดิโอในเครือเอกซ์แฟลก สำหรับมือถือพกพาในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส ร่วมสร้างตัวเกมโดยโยชิกิ โอคาโมโตะ[2] รูปแบบการเล่นของเกมจะเป็นการตะลุยดันเจียนไปกับมอนสเตอร์เพื่อสะสมประสบการณ์ มอนสเตอร์นั้นสามารถวิวัฒนาการหรือรวมร่างได้ และในตัวเกมนั้นจะมีระบบกาชาเพื่อเปิดหาและสะสมมอนสเตอร์

มอนสเตอร์สไตรก์
ผู้พัฒนามิกซี
ผู้จัดจำหน่ายมิกซี
ออกแบบโยชิกิ โอคาโมโตะ[1]
เครื่องเล่นไอโอเอส, แอนดรอยด์
วางจำหน่ายไอโอเอส
  • JP: 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
  • NA: 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • TW: 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
  • KOR: 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
แอนดรอยด์
  • JP: 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  • NA: 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  • TW: 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
  • KOR: 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
แนวปริศนา, สวมบทบาท, ฟิสิกส์, กลยุทธ์

ในวันที่ 30 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2558 เกมมีรายได้ต่อวันประมาณ 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] และทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2558[4] ต่อมาทำรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2559[5] และอีก 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2560[6] ในเดือน ตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 เกมทำรายได้มากกว่า 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นแอปมือถือที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลแทนที่ พัซเซิลแอนด์ดราก้อนส์[7]

เกมได้ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมะในปี พ.ศ. 2558 และในเดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2558 อนิเมะของมอนสเตอร์สไตรก์ก็ได้พัฒนาเป็นเกมสำหรับเครื่องเล่นเกมพกพานินเท็นโด 3ดีเอส ต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่ชื่อว่า มอนสเตอร์สไตรก์ เดอะมูฟวี่ ปฐมบทแห่งการเริ่มต้น ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2559 และภาพยนตร์เรื่องที่สองในชื่อ มอนสเตอร์สไตรก์ เดอะมูฟวี่ เหนือท้องฟ้า ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2561

ระบบการเล่น แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ เป็นเกมตะลุยดันเจียนที่มีฟิสิกส์มาเกี่ยวข้องตอนเกมเริ่มต้นผู้เล่นจะได้รับ 3 มอนสเตอร์ที่จะต้องใช้ในการตะลุยดันเจียน มอนสเตอร์นั้นจะสามารถรวมร่างหรือวิวัฒนาการร่างได้ ผู้เล่นจะได้รับโกลด์, ไอเทม, และมอนสเตอร์จากการผ่านดันเจียนต่าง ๆ ผู้เล่นสามารถที่จะใช้มอนสเตอร์ของเพื่อนเป็นช่องที่ 4 ในการผ่านดันเจียน ระบบการเล่นจะคล้าย ๆ กับสนุกเกอร์ที่จะแทงมอนสเตอร์แทนลูกสนุกเกอร์และจะมีสนามเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อที่จะให้มอนสเตอร์กระแทกกำแพงไปมา ในแต่ละตาจะสามารถใช้มอนสเตอร์ได้ตามลำดับที่เรียงมาเท่านั้น และเป้าหมายของเกมคือจะต้องเล็งยิงมอนสเตอร์ไปกระแทกมอนสเตอร์ของศัตรูเพื่อสร้างความเสียหาย ถ้าเล็งยิงมอนสเตอร์ไปชนฝ่ายเดียวกันมอนสเตอร์ร่วมทีมจะเปิดใช้งาน ยูโจคอมโบ (ญี่ปุ่น: 友情コンボโรมาจิYūjō Konbo; อังกฤษ: Bump Combo) ที่จะปล่อยระเบิด, ยิงลำแสง, ขีปนาวุธ, และอื่น ๆ เพื่อที่จะสร้างความเสียหายใส่มอนสเตอร์ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมอนสเตอร์ทุกตัวจะมีคอมโบมิตรภาพติดตัว ในแต่ละตามอนสเตอร์ของฝ่ายตรงข้ามจะนับถอยหลังเพื่อเริ่มการโจมตีที่สร้างความเสียหายให้กับมอนสเตอร์ของผู้เล่นหรือเพิ่มความอันตรายลงไปในสนาม มอนสเตอร์ของผู้เล่นยังมีความสามารถติดตัวหลายอย่างเช่น เกจ (ญี่ปุ่น: ゲージโรมาจิGēji; อังกฤษ: Gauge) เป็นความสามารถติดตัวที่มีอยู่เฉพาะบางมอนสเตอร์ มันจะเป็นแถบสีที่อยู่บนสุดของหน้าจอ แถบสีจะโผล่ออกมาเมื่อทำการเล็งยิงมอนสเตอร์ ถ้าเกจถูกปล่อยตอนที่แถบสีเต็มจะสามารถเปิดใช้ความสามารถติดตัวที่จะเพิ่มความเสียหาย, รักษา, ป้องกันความเสียหาย, เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มพลังโจมตีเล็กน้อย อบิลิตี (ญี่ปุ่น: アビリティโรมาจิAbiriti; อังกฤษ: Ability) จะคล้ายกับเกจแต่จะเปิดใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ บางอบิลิตีจะเปิดใช้เฉพาะในตาที่เกจถูกปล่อยตอนที่แถบสีเต็ม และมอนสเตอร์ของผู้เล่นก็จะมีการนับถอยหลังเช่นเดียวกับศัตรูซึ่งจะเปิดใช้ความสามารถ สไตรก์ซูต (ญี่ปุ่น: ストライクショットโรมาจิSutoraiku Shotto; อังกฤษ: Strike Shot) ที่จะปล่อยความสามารถพิเศษของแต่ละมอนสเตอร์ออกมาและจะสร้างความเสียหายมหาศาล บอสในดันเจียนนั้นจะมีจุดอ่อนถ้าโจมตีโดนจุดอ่อนนั้นจะเพิ่มความเสียหายมากขึ้น มอนสเตอร์สไตรก์ มีระบบที่จะสามารถเล่นแบบร่วมมือกันกับเพื่อนหรือผู้เล่นอื่นสูงสุด 4 คน

มอนสเตอร์แต่ละตัวจะมีสเตตัส พลังชีวิต, พลังโจมตี, และความเร็ว เป็นของตัวเอง พลังชีวิตมอนสเตอร์ของผู้เล่นทั้งสามตัวและพลังชีวิตมอนสเตอร์ของเพื่อนหรือผู้ช่วยนั้นจะเอามารวมกันเป็นพลังชีวิตของผู้เล่น พลังโจมตีจะกำหนดความเสียหายที่มอนสเตอร์ของผู้เล่นทำกับมอนสเตอร์ของศัตรูและความเร็วจะกำหนดระยะทางการเคลื่อนที่ของมอนสเตอร์โดยใช้หน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าสเตตัสเหล่านี้จะสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มเลเวลของมอนสเตอร์ผ่านการผสมมอนสเตอร์เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีค่าลัก (ญี่ปุ่น: ラックโรมาจิRakku; อังกฤษ: Luck) มีสัญลักษณ์เป็นใบโคลเวอร์สี่แฉกที่จะกำหนดความเป็นไปได้ของรางวัลและโบนัสเมื่อสิ้นสุดภารกิจ

หลังจากที่เลี้ยงมอนสเตอร์ถึงขีดจำกัดเลเวลผู้เล่นสามารถเปลี่ยนร่างได้ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสามร่างดังต่อไปนี้ เปลี่ยนร่าง ชินกะ (ญี่ปุ่น: 進化โรมาจิShinka; อังกฤษ: Evolution) โดยใช้ ชินกะไอเทม (ญี่ปุ่น: 進化アイテムโรมาจิShinka Aitemu; อังกฤษ: Evolution Catalysts), เปลี่ยนร่าง คามิกะ (ญี่ปุ่น: 神化โรมาจิKamika; อังกฤษ: Ascension) มอนสเตอร์จะอยู่ในร่างที่แข็งแกร่งขึ้นไปอีกขั้นโดยการใช้มอนสเตอร์เป็นวัตถุดิบ และเปลี่ยนร่าง จูชิงกะ (ญี่ปุ่น: 獣神化โรมาจิJūshinka; อังกฤษ: Divination / Transcension) เป็นร่างที่เหนือกว่าชิกกะและคามิกะโดยการใช้ไอเทมหายากเป็นวัตถุดิบ มอนสเตอร์บางตัวเท่านั้นที่สามารถใช้ร่างนี้ได้

การร่วมมือ แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ ในทุก ๆ ปีจะมีการจับมือร่วมกับวิดีโอเกม, อนิเมะ, และมังงะแฟรนไชส์ ต่าง ๆ ที่จะมาพร้อมกับตัวละครและโหมดเนื้อเรื่องจากแฟรนไชว์ดังกล่าวมาใส่ในเกมและให้ผู้เล่นทำกิจกรรมหาตัวละครที่ชอบในแต่ละแฟรนไชส์ และนี้คือรายชื่อแฟรนไชส์ที่เคยร่วมมือกับมอนสเตอร์สไตรก์:

ภาคแยก แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ สเตเดียม แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ สเตเดียม เป็นเกมภาคแยกที่จะมุ่งเน้นไปยังผู้เล่นสู้กับผู้เล่น ทำออกมาเพื่อการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ ในปี พ.ศ. 2561 ตัวเกมเป็นส่วนหนึ่งของงานแข่งขันเกมอีสปอร์ตเวิลด์แชมเปียนชีพ[20] เป้าหมายของเกมคือจะแข่งกันเคลียร์ดันเจียนแบบเป็นทีมถ้าทีมไหนเคลียร์ดันเจียนเสร็จก่อนทีมนั้นเป็นฝ่ายชนะ[21]

สื่อ แก้

อนิเมะ แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ ได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะในรูปแบบออริจินัลเน็ตแอนิเมชัน (โอเอ็นเอ) ที่ผลิตโดยอัลตราซุเปอร์พิเจอส์ และแอนิเมชันโดยสตูดิโอฮิบาริ เริ่มออกอากาศทางยูทูบเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ในแต่ละตอนจะมีความยาวแค่ 8 นาทีเท่านั้น [22] เนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่เร็น โฮมุระเด็กนักเรียนมัธยมต้นที่เพิ่งย้ายกลับไปบ้านเกิดที่คามิโนฮาระด้วยกันกับแม่และน้องสาว แต่เขากลับไม่มีความทรงจำตอนที่อยู่ในคามิโนฮาระหลงเหลืออยู่เลย หลังจากที่ย้ายเข้าโรงเรียนใหม่เร็นเอามือถือที่พังไปซ่อมแล้วต่อมาพบว่ามีแอปที่ชื่อ มอนสเตอร์สไตรก์ ติดตั้งอยู่ เร็นได้เปิดแอปดังกล่าวแล้วก็ได้รู้ว่าเป็นเกมแต่จู่ ๆ ชายแปลกหน้าที่อยู่ข้างหลังพูดคำว่า สเตจ แล้วมอนสเตอร์ก็ปรากฏตัวขึ้นมาและทำการโจมตีเร็น หลังจากนั้นเร็นหนีไปตั้งหลักแล้วได้ทำการอัญเชิญมอนสเตอร์จากมือถือที่ชื่อว่า โอรากอน แต่ดันเป็นมอนสเตอร์ตัวเล็ก ๆ โอรากอนบอกให้เร็นเหนี่ยว สไตรก์ริง ออกไปแต่เร็นไม่มีเลยทำให้ควบคุมมอนสเตอร์ไม่ได้ แล้วเพื่อนร่วมชั้นที่ชื่อมิซูซาว่า อาโออิ ก็ปรากฏตัวออกมาช่วยเร็นและนำสไตรก์ริงมาให้ หลังจากที่เร็นสวมสไตรก์ริงในนิ้วชี้เร็นเปลี่ยนไปเป็นคนละคนและทำให้จัดการกับมอนสเตอร์ของคนแปลกหน้าได้สำเร็จ

ภาพยนตร์ แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ เดอะมูฟวี่ ปฐมบทแห่งการเริ่มต้น แก้

เป็นภาพยนตร์ที่อิงเนื้อเรื่องมาจากอนิเมะมอนสเตอร์สไตรก์ที่มีเร็น โฮมุระเป็นตัวละครหลัก ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยวอร์เนอร์บราเธอส์[23]

มอนสเตอร์สไตรก์ เดอะมูฟวี่ เหนือท้องฟ้า แก้

เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของมอนสเตอร์สไตรก์ซึ่งจะแตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องแรกตรงที่ไม่ได้อิงเนื้อเรื่องมาจากอนิเมะแต่จะเป็นเรื่องราวใหม่ของเด็กหนุ่มที่ชื่อมาซาทากะ คุโบตะ ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 [24]

เทรดดิงการ์ดเกม แก้

มอนสเตอร์สไตรก์การ์ดเกม เป็นเทรดดิงการ์ดเกมสัญชาติญี่ปุ่นที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้สูงสุดถึง 4 คน ได้ทำการเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561[25] [26]

เกมอื่น แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ MULTI BURST แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ MULTI BURST เป็นเกมอาร์เคดที่ร่วมกันพัฒนาโดยโคนามิและมิกซี เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558 ระบบการเล่นเป็นแบบสองปะทะสองแท็กแบตเทิลเป้าหมายของเกมคือถ้ากำจัดหัวหน้าทีมของฝ่ายศัตรูได้ก่อนฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายชนะ[27] ตัวเกมได้ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[28]

มอนสเตอร์สไตรก์ (3DS) แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ในฉบับนินเท็นโด 3ดีเอส ออกจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นและทวีปเอเซียเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เนื้อเรื่องจะเกี่ยวโยงกับอนิเมะมอนสเตอร์สไตรก์ที่มีเร็น โฮมุระเป็นตัวละครหลัก[29] และเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เอกซ์แฟลกสตูดิโอในเครือบริษัทมิกซีได้ประกาศว่าเกมมียอดส่งถึง 1 ล้านชุด[30]

การพัฒนา แก้

มอนสเตอร์สไตรก์ ได้เปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือน กันยายน ปี พ.ศ. 2556 และภายในเดือน พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2556 หลังจากที่แอปเป็นที่นิยมในไอโอเอสแอปสไตร์เกมได้ช่วยมิกซีเอาไว้จากการแข่งขันที่รุนแรงซึ่งเดิมทีเป็นเว็บเครือข่ายสังคม[31][32] ในเดือน กันยายน ปี พ.ศ. 2557 มิกซีได้ประกาศว่าจะเปิดตัวเกมในต่างประเทศที่ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศเกาหลี[33] แต่ก็ได้ปิดให้บริการตัวเกมในฉบับเกาหลีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2559 [34] และปิดให้บริการตัวเกมในฉบับอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2560[35] เอกซ์แฟลกสตูดิโอในเครือของบริษัท มิกซีได้ประกาศเปิดให้บริการที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2560 [36] หลังจากยุติให้บริการเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2558 [37]

การตอบรับ แก้

ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน ปี พ.ศ. 2557 เกมทำรายได้รวม 19.4 พันล้านเยน (161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็น 90% ของรายได้รวมของมิกซีในไตรมาสนี้[38] รายได้ของเกมเพิ่มขึ้นเป็น 30 พันล้านเยน (283 ล้านดอนลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสถัดไปในเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม ปี พ.ศ. 2557[39] ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 เกมได้ขึ้นแท่นแทน พัซเซิลแอนด์ดราก้อนส์ ทำให้เป็นแอปมือถือที่ทำรายได้มากที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และมีรายได้มากกว่า 40 พันล้านเยน (333.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อไตรมาสในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม ปี พ.ศ. 2558[40] ในเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2558 มอนสเตอร์สไตรก์ มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้งและมีรายได้ต่อวันประมาณ 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[41] ในช่วงเดือน เมษายน ถึง มิถุนายน ปี พ.ศ. 2558 รายได้ของเกมเพิ่มขึ้นเป็น 47 พันล้านเยน (378 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อไตรมาส[42] ในวันที่ 30 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2558 รายได้ต่อวันสูงถึง 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] ในระหว่างเดือน เมษายน ถึง ธันวาคม ปี พ.ศ. 2558 เกมทำรายได้มากกว่า 135 พันล้านเยน (1.224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[4]

มอนสเตอร์สไตรก์เป็นเกมมือถือที่ทำรายได้สูงสุด ในปี พ.ศ. 2559 และสร้างรายได้ประมาณ 1.3 พ้นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีมากกว่า โปเกมอน โก และ แคลชรอยัล[5][43] ทำรายได้เพิ่มอีก 1.3 พ้นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นปีที่มอนสเตอร์สไตรก์อยู่อันดับสามของเกมมือถือที่ทำรายได้สูงสุดถัดจาก อารีนาออฟเวเลอร์ และ แฟนตาซีเวสต์วอร์ดเจอร์นีย์[6] ในประเทศญี่ปุ่นเกมสร้างรายได้ประมาณ 104.1 พ้นล้านเยน (943 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในระหว่างเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2560 และวันที่ 3 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2560[44] ในเดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2561 เกมมีผู้เล่นทั่วโลกมากกว่า 45 ล้านคน[45] ในเดือน ตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 เกมทำรายได้มากกว่า 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นแอปมือถือที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลแทนที่ พัซเซิลแอนด์ดราก้อนส์[7] ความนิยมของเกมทำให้นำไปสู่ความร่วมมือกับ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงค์กิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในการออกแบบบัตรเครดิตวีซาลายมอนสเตอร์สไตรก์ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2558[46]

อ้างอิง แก้

  1. Matt Leone. "Monster Strike: The redemption of Capcom legend Yoshiki Okamoto". Polygon.
  2. "Monster Strike Comes to North American Mobile Devices". October 23, 2014. สืบค้นเมื่อ October 30, 2014.
  3. 3.0 3.1 "Japanese mobile game Monster Strike making $4.2m a day". develop-online.net.
  4. 4.0 4.1 "What Is Mixi Planning to Do after Monster Strike?". Tokyo Business Today. Toyo Keizai. May 2, 2016.
  5. 5.0 5.1 "Worldwide game industry hits $91 billion in revenues in 2016, with mobile the clear leader". VentureBeat. December 21, 2016.
  6. 6.0 6.1 "2017 YEAR IN REVIEW: DIGITAL GAMES AND INTERACTIVE MEDIA" (PDF). SuperData Research. January 25, 2018.
  7. 7.0 7.1 Spannbauer, Adam (October 23, 2018). "Monster Strike Revenue Passes $7.2 Billion, Making It the Highest Earning App of All Time". Sensor Tower.
  8. "Doraemon 2019 X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาอังกฤษ). 28 กุมภาพันธ์ 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  9. "Pirates of the Caribbean X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาอังกฤษ). 23 มิถุนายน 2560. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  10. "Gintama X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 2 พฤษภาคม 2561. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  11. "Gintama X Monster Strike Collaboration 2nd". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 26 สิงหาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
  12. "Sword Art Online X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 19 กรกฎาคม 2561. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  13. "Mickey Mouse X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 14 กันยายน 2561. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  14. "Sailor Moon Crystal X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 16 พฤศจิกายน 2561. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  15. "City Hunter X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 17 มกราคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  16. "Yu-Gi-Oh! X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 6 กุมภาพันธ์ 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  17. "Bleach X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 2 พฤษภาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  18. 18.0 18.1 "Promare X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 24 พฤษภาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  19. "My Hero Academia X Monster Strike Collaboration". Monster Strike (ภาษาญี่ปุ่น). 14 กรกฎาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  20. "Monster Strike as a Demonstration Title for the World Championship". Ie-SF (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2562.
  21. "Monster Stadium: Mixi To Release Monster Strike Spin-Off This Sunday". KantanGames (ภาษาอังกฤษ). April 25, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2562.
  22. "Monster Strike is a mobile game developed by Mixi. Hiroki Morita, the president of the company, announced an anime adaptation this year. The PV announces an airing date of October 10". MyAnimeList (ภาษาอังกฤษ). Jul 26, 2015.
  23. "モンスターストライク THE MOVIE はじまりの場所へ". eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 13 December 2016.
  24. "ร่วมออกผจญภัยไปกับเหล่าฮีโร่ใน Monster Strike The Movie: Sora no Kanata (Beyond the Sky)". July 19, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2562.
  25. Aetas, Inc. "「モンスト」のカードゲームが3月2日発売。JOYSOUND直営店とのコラボも開催" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
  26. Zatoshi (5 ก.พ. 2561). "Monster Strike Card Game จากเกมมือถือสู่การ์ดเกมของจริง วางจำหน่าย 2 มีนาคมนี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2562.
  27. ""Monsters Strike MULTI BURST" which can play the transcendent popular smartphone "Monst" on a big screen with a powerful full score". Feb 13, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2562.
  28. "コナミアミューズメント、アーケード版協力対戦RPG『モンスターストライク MULTI BURST』のサービスを7月20日23:59をもって終了". Social Game Info. 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-26.
  29. "Monster Strike บนเครื่อง 3DS ปล่อยเทรลเลอร์ตัวแรก โยงเนื้อเรื่องกับอนิเมะ!". Online Station (ภาษาอังกฤษ). 2 ต.ค. 2558. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2562.
  30. "3DS版モンスターストライク、出荷数「100万本」を突破!". 2015.12.21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  31. Toto, Serkan (March 3, 2014). "How Monster Strike saved 'Japan's Facebook' Mixi". Tech in Asia. สืบค้นเมื่อ October 30, 2014.
  32. Fox, Glen (May 30, 2014). "Mixi marvel: How Monster Strike is turning around the fortunes of Japan's s - Pocket Gamer.biz - PGbiz". pocketgamer.biz. สืบค้นเมื่อ October 30, 2014.
  33. Corbin, David (September 22, 2014). "Monster Strike: Mixi's billion dollar game comes to America". Tech in Asia. สืบค้นเมื่อ October 30, 2014.
  34. Cinderboy (27 August 2016). "Monster Strike – Top Japan mobile game falters in America and Korea". MMO Culture.
  35. "ไปต่อไม่ไหว Monster Strike ภาษาอังกฤษประกาศปิดเกม". Sanook. 2 พฤษภาคม 2560. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  36. "Chinese Version of Monster Strike Released in Mainland China". XFLAG (ภาษาอังกฤษ). 14 สิงหาคม 2560. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  37. "เอ๊าปิดเฉย Monster Strike เซิร์ฟจีนประกาศยุติการให้บริการ 19 ตุลาคมนี้". Online Station. 14 สิงหาคม 2558. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
  38. Soble, Jonathan (December 28, 2014). "'Monster Strike' Gives Former Social Media Giant Mixi a Second Act". The New York Times.
  39. "Smartphones Bring New Golden Age for Japan's Games Industry". Nippon.com (ภาษาอังกฤษ). Nippon Communications Foundation. April 9, 2015.
  40. "Monster Strike drives 900 per cent revenue growth for Mixi". GamesIndustry.biz. May 13, 2015.
  41. "Monster Strike makes $3.8 million daily -- and could be Japan's second billion-dollar mobile game - GamesBeat - Games - by Dale North". VentureBeat.
  42. "Monster Strike passes $4 million in daily revenue". GamesIndustry.biz (ภาษาอังกฤษ). August 19, 2015.
  43. "2016 Year In Review: Digital Games And Interactive Media" (PDF). SuperData Research. December 2016. สืบค้นเมื่อ September 7, 2018.
  44. "課金売上トップは『モンスト』、勢いを増す『FGO』―『ファミ通モバイルゲーム白書2018』12月12日発売". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). December 8, 2017.
  45. "Monster Strike publisher Mixi plots $900m investment in biz dev and M&A over next five years". Pocket Gamer. May 17, 2018.
  46. "How Big Is 'Monster Strike' In Japan? Check Out These 'Monster Strike' Credit Cards". toucharcade.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้