มหาศึกคนชนเทพ

ซีรีส์มังงะญี่ปุ่น

มหาศึกคนชนเทพ (ญี่ปุ่น: 終末のワルキューレโรมาจิShūmatsu no Warukyūre; แปลว่า "วัลคีรีแห่งจุดจบ") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น เขียนเรื่องโดยชินยะ อูเมมูระและทากูมิ ฟูกูอิ วาดภาพโดยอาจิจิกะ เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร คอมิกซีนอนรายเดือน นิตยสารการ์ตูนแนวเซเน็งของสำนักพิมพ์โคอามิกซ์ (ก่อนหน้านี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โทกูมะโชเต็ง) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์โดยสตูดิโอกราฟินิกา ฉายทางเน็ตฟลิกซ์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ฤดูกาลที่สองผลิตโดยสตูดิโอกราฟินิกาและยูเมตะคอมพานี ฉายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566

มหาศึกคนชนเทพ
หน้าปกของมังงะ มหาศึกคนชนเทพ เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย
終末のワルキューレ
(Shūmatsu no Warukyūre)
ชื่อภาษาอังกฤษRecord of Ragnarok
แนว
มังงะ
เขียนโดย
  • ชินยะ อูเมมูระ
  • ทากูมิ ฟูกูอิ
วาดภาพโดยอาจิจิกะ
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยฟีนิกซ์
นิตยสารคอมิกซีนอนรายเดือน
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม17
มังงะ
มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า
เขียนโดยทาเกโอะ โอโนะ
สำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยฟีนิกซ์
นิตยสารคอมิกซีนอนรายเดือน
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่25 ตุลาคม พ.ศ. 256225 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
จำนวนเล่ม7
โอเอ็นเอ
กำกับโดยมาซาโอะ โอกูโบะ
เขียนบทโดย
ดนตรีโดยยาซูฮารุ ทากานาชิ
สตูดิโอ
ถือสิทธิ์โดยเน็ตฟลิกซ์
ฉาย 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
ความยาว24 นาที
ตอน27
มังงะ
Kitan: Jack the Ripper no Jikenbo
เขียนโดยเคตะ อีซูกะ
สำนักพิมพ์โคอามิกซ์
นิตยสารคอมิกเซนอนรายเดือน
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม1

เนื้อเรื่อง แก้

ทุก ๆ 1,000 ปี สภาของเทพเจ้าจะร่วมประชุมเพื่อตัดสินชะตากรรมของมนุษยชาติ หลังจาก 7,000 ปีของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เหล่าเทพตัดสินร่วมกันว่ามนุษย์นั้นเกินเยียวยาและจำต้องสูญพันธุ์ แต่เทพธิดาวัลคีรี (วัลกือริยา) ชื่อบรุนฮิลด์ (บรึนฮิลเดอ) ได้เสนอให้มนุษยชาติมีโอกาสสุดท้ายในการพิสูจน์คุณค่า เหล่าเทพจึงมีมติเห็นชอบให้จัดศึกแร็กนาร็อก ซึ่งเป็นการประลองตัวต่อตัวระหว่างมนุษย์ที่มีชื่อเสียง 13 คนในประวัติศาสตร์กับเทพที่ทรงมหิทธานุภาพ 13 องค์ ที่จะต้องต่อสู้โดยตัดสินผลด้วยความตาย มนุษยชาติจะได้รับการละเว้นโทษทัณฑ์ถ้าได้รับชัยชนะ 7 ครั้งในการประลอง เพื่อให้การต่อสู้มีความเท่าเทียมกัน ตัวแทนมนุษย์แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือจากเทพธิดาวัลคีรีที่จำแลงกายเป็นอาวุธทรงพลังที่เข้ากับรูปแบบการต่อสู้ของแต่ละคน เรียกว่า "เวลุนด์" แต่ก็แลกด้วยความเสี่ยงที่ต้องสละชีพถ้าผู้ใช้ถูกสังหาร

ตัวละคร แก้

วัลคีรี (วัลกือริยา) แก้

บรุนฮิลด์ (บรึนฮิลเดอ) (ブリュンヒルデ, Buryunhirude)
ให้เสียงโดย: มิยูกิ ซาวาชิโระ[3] (ญี่ปุ่น); นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา (ไทย)
ผู้นำและพี่ใหญ่สุดของเทพธิดาวัลคีรีผู้โน้มน้าวเหล่าเทพให้จัดการประลองแร็กนาร็อก มีความชิงชังเหล่าเทพเจ้าและอาศัยโอกาสจากการประลองนี้เพื่อแก้แค้น
เกล (เกิลล์) (ゲル, Geru)
ให้เสียงโดย: โทโมโยะ คูโรซาวะ[3] (ญี่ปุ่น); ขวัญกมล ขาวไพศาล (ไทย)
น้องสาวคนสุดท้องของบรุนฮิลด์ที่มักอยู่ด้วยกันกับบรุนฮิลด์
แรนกริสต์ (ランドグリーズ, Randogurīzu)
ให้เสียงโดย: อายะ คาวาคามิ (ญี่ปุ่น); ทัดณ์เพลิน ตันเสรีสกุลภัช (ไทย)
วัลคีรีลำดับที่ 4 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดแรก โดยจับคู่กับลิโป้ เฟยเสียง
เรกินเรฟ (レギンレイヴ, Reginreivu)
ให้เสียงโดย: รินะ คาวางุจิ
วัลคีรีลำดับที่ 7 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สอง โดยจับคู่กับอาดัม
ฮริสต์ (フリスト, Furisuto)
ให้เสียงโดย: ยู โคบายาชิ (ญี่ปุ่น); ทัดณ์เพลิน ตันเสรีสกุลภัช (ไทย)
วัลคีรีลำดับที่ 2 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สาม โดยจับคู่กับซาซากิ โคจิโร
ฮเลิกก์ (フレック, Furekku)
ให้เสียงโดย: โฮโนกะ อิโนอุเอะ
วัลคีรีลำดับที่ 11 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สี่ โดยจับคู่กับแจ็กเดอะริปเปอร์
ธรูด (スルーズ, Surūzu)
ให้เสียงโดย: อากิระ มิกิ
วัลคีรีลำดับที่ 3 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่ห้า โดยจับคู่กับไรเด็น ทาเมเอมอน
อัลวิโต้ (アルヴィト, Aruvito)
วัลคีรีลำดับที่ 10 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เจ็ด โดยจับคู่กับจิ๋นซีฮ่องเต้
กอร์นดูล (ゴンドゥル, Gonduru)
วัลคีรีลำดับที่ 9 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่แปด โดยจับคู่กับนิโคลา เทสลา
เกโรลูล (ゲイレルル, Geireruru)
วัลคีรีลำดับที่ 5 แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรี เวลุนด์ของตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เก้า โดยจับคู่กับลีโอนิดัส

ฝ่ายมนุษย์ แก้

ลิโป้ เฟยเสียง (ลฺหวี่ ปู้ เฟิ่งเซียน) (呂 布 奉先, Ryo Fu Hōsen)
ให้เสียงโดย: โทโมคาซุ เซกิ[3] (ญี่ปุ่น); ชานน จำเนียรแพทย์ (ไทย)
ขุนพลและขุนศึกซึ่งมีชีวิตในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประวัติศาสตร์จีน เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดแรก
อาดัม (アダム, Adamu)
ให้เสียงโดย: โซมะ ไซโต[4] (ญี่ปุ่น); นนท์ ศรีโพธิ์ (ไทย)
บรรพบุรุษของมนุษยชาติทุกคน เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สอง
ซาซากิ โคจิโร (佐々木 小次郎, Sasaki Kojirō)
ให้เสียงโดย: คาซูฮิโระ ยามาจิ[4] (ญี่ปุ่น); สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ไทย)
นักดาบที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สาม
แจ็กเดอะริปเปอร์ (ジャック・ザ・リッパー, Jakku za Rippā)
ให้เสียงโดย: โทโมกาซุ ซูงิตะ (ญี่ปุ่น); อรรคพล ทรัพยอาจิณ (ไทย)
ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังของอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สี่
ไรเด็น ทาเมเอมอน (雷電爲右エ門, Raiden Tameemon)
ให้เสียงโดย: ซูบารุ คิมูระ (ญี่ปุ่น); พิชาภพ ภัทรกูลนิยม (ไทย)
นักกีฬาซูโม่มากฝีมือจากศตวรรษที่ 19 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่ห้า
ศากยมุนี (พระโคตมพุทธเจ้า) หรือ ชากะ (釈迦, Shaka)
ให้เสียงโดย: ยูอิจิ นากามูระ (ญี่ปุ่น); อิทธิพล มามีเกตุ (ไทย)
อดีตมนุษย์ผู้วางรากฐานศาสนาพุทธ แม้มีฐานะเป็นเทพ แต่ตัดสินใจร่วมประลองในฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่หก
จิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินฉื่อหฺวัง) (秦始皇, Shikōtei)
ให้เสียงโดย: จุง ฟูกูยามะ (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
ผู้สถาปนาราชวงศ์ฉินและเป็นจักรพรรดิองค์แรกผู้รวบรวมแผ่นดินจีนเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เจ็ด
นิโคลา เทสลา (ニコラ・テスラ, Nikora Tesura)
นักประดิษฐ์ชาวเซอร์เบีย-อเมริกันเมื่อศตวรรษที่ 20 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่แปด
กษัตริย์ลีโอนิดัส (พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1) (レオニダス王, Reonidasu-ō)
กษัตริย์สปาร์ตาเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่เก้า
โอคิตะ โซจิ (沖田 総司, Okita Souji)
ให้เสียงโดย: สึบาสะ โยนากะ (ญี่ปุ่น); นนท์ ศรีโพธิ์ (ไทย)
หัวหน้าหน่วยของกองกำลังตำรวจพิเศษชินเซ็งงูมิของญี่ปุ่นเมื่อศตวรรษที่ 19 เป็นตัวแทนฝ่ายมนุษย์ในการประลองนัดที่สิบ
ซิโม แฮวแฮ (シモ・ヘイヘ, Shimo Heihe)
นักซุ่มยิงชาวฟินแลนด์และทหารผ่านศึกในสงครามฤดูหนาวเมื่อศตวรรษที่ 20
มิเชล นอสตราดามุส (มีแชล เดอ นอสทร์ดาม) (ミシェル・ノストラダムス, Misheru Nosutoradamusu)
โหร แพทย์ และนักพยากรณ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสเมื่อศตวรรษที่ 16
ซาคาตะ คินโทกิ (坂田 金時, Sakata Kintoki)
วีรบุรุษในนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน
เกรกอรี รัสปูติน (グリゴリー・ラスプーチン, Gurigorī Rasupūchin)
นักรหัสยลัทธิชาวรัสเซียเมื่อต้นศตวรรษที่ 20

ฝ่ายเทพ แก้

ธอร์ (トール, Tōru)
ให้เสียงโดย: ฮิการุ มิโดริกาวะ[3] (ญี่ปุ่น); ภัคภูมิ ลิ้มมานะสถาพร (ไทย)
เทพแห่งสายฟ้าของนอร์ส เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดแรก
ซุส (ゼウス, Zeusu)
ให้เสียงโดย: วาตารุ ทากางิ[3] (ญี่ปุ่น); เอกชัย พงศ์สมัย (ไทย)
มหาเทพของกรีกและประธานของสภาเทพเจ้า เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สอง
โพไซดอน (ポセイドン, Poseidon)
ให้เสียงโดย: ทากาฮิโระ ซากูไร[3] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ (ไทย)
เทพแห่งมหาสมุทรของกรีกและเชษฐาของซุส เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สาม
เฮอร์คิวลีส (ヘラクレス, Herakuresu)
ให้เสียงโดย: โอนิ ชิชิ (ญี่ปุ่น); ประภัฒน์ สินธพวรกุล (ไทย)
อดีตมนุษย์และเทพแห่งพละกำลังของกรีก เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สี่
ศิวะ (シヴァ, Shiva)
ให้เสียงโดย: ทัตสึฮิสะ สูซูกิ[4] (ญี่ปุ่น); คมสรร รัตนากรบดี (ไทย)
มหาเทพแห่งการสร้างสรรค์และทำลายของฮินดู เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่ห้า
ท้าวเวสสุวรรณ (บิชามอนเท็น) (毘沙門天, Bishamonten)
ให้เสียงโดย: อากิฮิโระ ทาจิมะ
หนึ่งในสี่ท้าวจตุโลกบาลในศาสนาพุทธ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่หก ก่อนเริ่มแข่ง
ซีโร่ฟุคุ (零福, Zerofuku)
ให้เสียงโดย: อายูมุ มูราเซะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงค์ (ไทย)
ร่างรวมของเจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่หก ช่วงแรก
ฮะจุน (波旬, Hajun)
ให้เสียงโดย: เท็ตสึ อินาดะ (ญี่ปุ่น); ปิยะ ชำนาญกิจ (ไทย)
พญามารแห่งสวรรค์ชั้นที่หก เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่หก ช่วงท้าย
ฮาเดส (ハデス, Hadesu)
ให้เสียงโดย: เรียวตาโร โอกิอายุ (ญี่ปุ่น); ภัคภูมิ ลิ้มมานะสถาพร (ไทย)
ราชาแห่งโลกบาดาล พระเจ้าแห่งผู้ตายและความร่ำรวย ในตอนแรกเขาไม่ได้อยู่ใน 1 ใน 13 รายชื่อผู้ต่อสู้ แต่เขาตัดสินใจลงในการประลองนัดที่เจ็ด เพื่อแก้แค้นให้กับโพไซดอน
บีลซีบับ (เบเอลเซบูล) (ベルゼブブ, Beruzebubu)
ให้เสียงโดย: ไดซูเกะ นามิกาวะ (ญี่ปุ่น); ศักราช อ่ำส้ม (ไทย)
เทพของชาวฟิลิสตีนที่มีฐานะเป็นปิศาจในตำนานของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่แปด
อพอลโล (アポローン, Aporōn)
เทพแห่งดวงอาทิตย์ของกรีก เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่เก้า
ซุซาโนโอะ (スサノヲ, Susanowo)
เทพแห่งทะเลและพายุของญี่ปุ่น หนึ่งในสามเทพหลักในเทพปกรณัมญี่ปุ่น เป็นตัวแทนฝ่ายเทพในการประลองนัดที่สิบ
โอดิน (オーディン, Ōdin)
ให้เสียงโดย: โช ฮายามิ[4] (ญี่ปุ่น); สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ไทย)
มหาเทพของนอร์ส
โลกิ (ロキ, Roki)
ให้เสียงโดย: โยชิตสึงุ มัตสึโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); พิพัฒน์ บุญสิทธิเลิศ (ไทย)
เทพแห่งความเจ้าเล่ห์ของนอร์ส อนุชาของธอร์
อนูบิส (アヌビス, Anubisu)
เทพแห่งความตายของอียิปต์
แอรีส (アレス, Aresu)
ให้เสียงโดย: ฮินาตะ ทาดาโกโระ[4] (ญี่ปุ่น); ธนกฤต เจนคลองธรรม (ไทย)
เทพแห่งสงครามของกรีก
เฮอร์มีส (ヘルメス, Herumesu)
ให้เสียงโดย: จุนอิจิ ซูวาเบะ[4]
เทพแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดนของกรีก
แอโฟรไดที (アフロディテ, Afurodite)
ให้เสียงโดย: ริเอะ ทานากะ[4] (ญี่ปุ่น); ทัดณ์เพลิน ตันเสรีสกุลภัช (ไทย)
เทพแห่งความรักของกรีก
ไฮม์ดัล (ヘイムダル, Heimudaru)
ให้เสียงโดย: ยูกิฮิโระ โนซูยามะ[4]
เทพทวารบาลผู้พิทกษ์สวรรค์ของนอร์ส
ฮูกินน์และมูนินน์
ให้เสียงโดย: ไทสูเกะ ทากาโนะ (ฮูกินน์), โทโมฮิโระ ยามางูจิ (มูนินน์)[4]
อดามัส (アダマス, Adamasu)
เทพผู้พิชิตของกรีก

รูปแบบต่าง ๆ แก้

มังงะ แก้

มหาศึกคนชนเทพ เขียนโดยชินยะ อูเมมูระและทากูมิ ฟูกูอิ วาดภาพโดยอาจิจิกะ เริ่มตีพิมพ์ในนิตสาร คอมิกซีนอนรายเดือน นิตยสารการ์ตูนแนวเซเน็งของสำนักพิมพ์ Coamix (ก่อนหน้านี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โทกูมะโชเต็ง) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[5] ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] ปัจจุบันวางจำหน่ายถึงเล่มที่ 9 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[7]

มังงะภาคแยกชื่อเรื่องว่า มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า (ญี่ปุ่น: 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝โรมาจิShūmatsu no Warukyūre: Ryo Fu Hō Sen Hishōden) เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร คอมิกซีนอนรายเดือน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562[8] ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563[9] ปัจจุบันวางจำหน่ายถึงเล่มที่ 3 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[10]

หนังสือการ์ตูน แก้

มหาศึกคนชนเทพ แก้
# วันที่ออกจำหน่าย ISBN
1 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6]978-4-19-980495-3
2 20 กันยายน พ.ศ. 2561[11]978-4-19-980517-2
3 20 มีนาคม พ.ศ. 2562[12]978-4-19-980557-8
4 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[13]978-4-19-980581-3
5 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[14]978-4-19-980603-2
6 20 เมษายน พ.ศ. 2563[15]978-4-86720-119-0
7 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563[16]978-4-86720-155-8
8 19 กันยายน พ.ศ. 2563[17]978-4-86720-168-8
9 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[7]978-4-86720-187-9
มหาศึกคนชนเทพ กรุตำนาน ลิโป้ขุนพลผงาดฟ้า แก้
# วันที่ออกจำหน่าย ISBN
1 20 เมษายน พ.ศ. 2563[9]978-4-86-720120-6
2 19 กันยายน พ.ศ. 2563[18]978-4-86-720169-5
3 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563[10]978-4-86-720188-6

อนิเมะ แก้

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการประกาศว่ามหาศึกคนชนเทพจะได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ อำนวยการผลิตโดยวอร์เนอร์บราเธอส์ ประเทศญี่ปุ่น และสร้างโดยสตูดิโอกราฟินิกา อนิเมะจะกำกับโดยมาซาโอะ โอกูโบะ เขียนบทโดยคาซูยูกิ ฟูเดยูกิ ออกแบบตัวละครโดยมาซากิ ไซโต รับผิดชอบดนตรีประกอบโดย ยาซูฮารุ ทากานาชิ ถือครองลิขสิทธิ์เผยแพร่โดยเน็ตฟลิกซ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทางบริการสตรีมมิงของเน็ตฟลิกซ์[3][19][20] เพลงเปิดคือเพลง "คามิงามิ" (ญี่ปุ่น: KAMIGAMI-神噛-) ขับร้องโดยวงแมกซิมัมเดอะฮอร์โมน[19] เพลงปิดคือเพลง "ฟูกาฮิ" ขับร้องโดยวง SymaG[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Read Record of Ragnarok Manga". Viz Media. สืบค้นเมื่อ May 15, 2022.
  2. ダークファンタジー特集. ebookjapan (ภาษาญี่ปุ่น). EBook Initiative Japan Co., Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Hazra, Adriana (December 18, 2020). "Record of Ragnarok Manga Gets Anime in 2021". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 Mateo, Alex (March 15, 2021). "Record of Ragnarok Anime Reveals 12 Cast Members, Visual, Ending Theme Artist". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
  5. Pineda, Rafael Antonio (October 26, 2017). "Chiruran: Shinsengumi Requiem's Shinya Umemura Launches New Manga". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  6. 6.0 6.1 終末のワルキューレ 1 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  7. 7.0 7.1 終末のワルキューレ 9 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  8. Mateo, Alex (September 24, 2019). "Shūmatsu no Walküre Gets Spinoff Manga in October". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  9. 9.0 9.1 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 1 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  10. 10.0 10.1 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 3 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  11. 終末のワルキューレ 2 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  12. 終末のワルキューレ 3 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  13. 終末のワルキューレ 4 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  14. 終末のワルキューレ 5 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  15. 終末のワルキューレ 6 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  16. 終末のワルキューレ 7 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ August 17, 2020.
  17. 終末のワルキューレ 8 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ August 17, 2020.
  18. 終末のワルキューレ異聞 呂布奉先飛将伝 2 (ภาษาญี่ปุ่น). honto.jp. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  19. 19.0 19.1 神VS人間のタイマン勝負「終末のワルキューレ」TVアニメ化!キャスト、PVなど一挙解禁. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). December 19, 2020. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
  20. Mateo, Alex (March 26, 2021). "Record of Ragnarok Anime's Promo Video Unveils Worldwide June Debut on Netflix". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 26, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้