มหาวิหารนักบุญเบซิล

มหาวิหารเซนต์บาซิล (อังกฤษ: Saint Basil's Cathedral; รัสเซีย: Собор Василия Блаженного) เป็นอาสนวิหารของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ตั้งอยู่ที่จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย สร้างโดยซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือซาร์อีวานจอมโหด เพื่อฉลองชัยชนะเหนือพวกมองโกลที่กรีธาทัพมาเมืองคาซัน เมื่อปี ค.ศ. 1552 ผลจากชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียสามารถรวมชาติได้เป็นปึกแผ่น จึงสร้างมหาวิหารแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1555 เดิมทีมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นเพียงโบสถ์ขนาดเล็กที่บรรจุศพของนักบุญวาซิลีหรือนักบุญบาซิล

มหาวิหารนักบุญเบซิล
Saint Basil's Cathedral
Собор Василия Блаженного
มหาวิหารนักบุญบาซิล
แผนที่
55°45′9″N 37°37′23″E / 55.75250°N 37.62306°E / 55.75250; 37.62306
ที่ตั้งจัตุรัสแดง, มอสโก
ประเทศ รัสเซีย
นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ท่องเที่ยวกรุงมอสโก
ประวัติ
สถานะพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งรัฐ และใช้เป็นโบสถ์คริสต์ในบางโอกาส ตั้งแต่ ค.ศ. 1991
ก่อตั้งค.ศ. 1555
ผู้ก่อตั้งซาร์อีวานที่ 4
เสกเมื่อ12 กรกฎาคม ค.ศ. 1561[1]
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกปอสต์นิก ยากอฟเลฟ[3]
ประเภทสถาปัตย์โบสถ์คริสต์ (Шатро́вые хра́мы)
โครงสร้าง
ความสูงอาคาร47.5 ม. (156 ฟุต)[2]
จำนวนโดม9
เครมลินและจัตุรัสแดง มอสโคว *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ รัสเซีย
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (ii), (iv), (vi)
อ้างอิง545
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1990[4] (คณะกรรมการสมัยที่ 14)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มหาวิหารเซนต์บาซิลมีรูปทรงที่ไม่เหมือนโบสถ์อื่น คือมีโดม 8 โดมล้อมรอบโดมที่ 9 ที่อยู่ตรงกลาง ทำให้อาคารมีรูปทรงแปดเหลี่ยม ด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบรัสเซียโบราณอันได้รับอิทธิพลมาจากไบแซนไทน์ที่เป็นโดมทรงหัวหอมกับสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่ารัสเซียนกอธิก หอคอยสูงรูปกระโจมเป็นอิทธิพลจากยุโรปตะวันตก ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกลายเป็นหอคอยสูงรูปแท่งเทียนกำลังลุกไหม้บนปลายลำเทียน ส่งความโชติช่วงชัชวาลย์เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์

มหาวิหารนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อปอสต์นิก ยากอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ซาร์อีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิกผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานามอีวานผู้โหดร้าย (Ivan The Terrible)[5][6] บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์เบซิลขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งเก็บรักษาร่างของวลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้

โครงสร้าง

แก้

ฐานรากเช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ ในมอสโกยุคกลาง สร้างด้วยหินสีขาวแบบดั้งเดิม ในขณะที่ตัวอาคารโบสถ์สร้างด้วยอิฐสีแดง ขนาด 28 x 14 x 8 ซม. (11.0 x 5.5 x 3.1 นิ้ว) ซึ่งเป็นวัสดุที่ค่อนข้างใหม่ในยุคนั้น[7] (โครงสร้างที่ก่อด้วยอิฐครั้งแรกในมอสโกคือ กำแพงเครมลินใหม่ ซึ่งเริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1485)[8] การสำรวจโครงสร้างแสดงให้เห็นว่าระดับชั้นใต้ดินอยู่ในระนาบอย่างสมบูรณ์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการใช้การเขียนแบบและการวัดอย่างชำนาญ แต่ระดับที่สูงขึ้นมาแต่ละระดับจะมีความแม่นยำลดน้อยลงเรื่อย ๆ[9] ผู้ซ่อมแซมซึ่งทำการเปลี่ยนแทนที่ส่วนต่าง ๆ ของอิฐในปี ค.ศ. 1954–1955 พบว่ากำแพงอิฐขนาดใหญ่ปิดบังกรอบไม้ภายในที่ทอดยาวตลอดความสูงของโบสถ์[10][11] กรอบนี้ทำขึ้นจากการเข้าไม้แผ่นบาง ๆ อย่างประณีต โดยทำขึ้นเพื่อเป็นแบบจำลองเชิงพื้นที่ขนาดเท่าคนจริงของอาสนวิหารในช่วงเริ่มก่อสร้าง จากนั้นจึงค่อยปิดล้อมด้วยอิฐ[10][11]

การก่อสร้างซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในยุคนั้นมีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่น[12] โดยใช้อิฐเป็นวัสดุในการตกแต่งทั้งภายในและภายนอก และให้มีงานก่ออิฐเปลือยไว้ให้มากที่สุด เมื่ออาคารต้องใช้กำแพงหิน มันถูกตกแต่งด้วยการก่ออิฐที่ฉาบทับด้วยลายปูนปั้น[12] สิ่งใหม่ที่สำคัญที่เริ่มต้นในการสร้างโบสถ์แห่งนี้คือสถาปัตยกรรมการตกแต่งภายนอกอย่างเคร่งครัด[13] ประติมากรรมและสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประดับในสถาปัตยกรรมรัสเซียรุ่นก่อนหายไปทั้งหมด ส่วนลายประดับรูปดอกไม้ของอาคารถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลัง[13] โบสถ์มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากโครงสร้างสามมิติที่หลากหลายซึ่งทำด้วยอิฐแทน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Popova, Natalia (12 กรกฎาคม 2011). "St. Basil's: No Need to Invent Mysteries". Moscow, Russia: Ria Novosti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  2. "Cathedral of the Protecting Veil of the Mother of God". www.SaintBasil.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2013.
  3. "List of federally protected landmarks". Ministry of Culture. 1 มิถุนายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2009.
  4. "Kremlin and Red Square, Moscow". Whc.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  5. "มหาวิหารเซนต์เบซิล ST. BASIL'S CATHEDRAL กรุงมอสโก รัสเซีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  6. "Ioannes Severus dictus (1530–1584), inde ab anno 1533 magnus princeps Moscoviensis"[1].
  7. Komech, Pluzhnikov p. 399
  8. Komech, Pluzhnikov p. 267
  9. Brunov, p. 45
  10. 10.0 10.1 Komech, Pluzhnikov p. 402
  11. 11.0 11.1 Brunov, p. 47
  12. 12.0 12.1 Komech, Pluzhnikov p. 49
  13. 13.0 13.1 Shvidkovsky, p. 129

บรรณานุกรม

แก้
  • Brunov, N. I. (1988). Hram Vasilia Blazhennogo v Moskve (Храм Василия Блаженного в Москве. Покровский собор) (ภาษารัสเซีย). Iskusstvo.
  • Komech, Alexei I.; Pluzhnikov, V. I., บ.ก. (1982). Pamyatniku arhitektury Moskvy. Kremlin, Kitai Gorod, tsentralnye ploschadi (Памятники архитектуры Москвы. Кремль, Китай-город, центральные площади) (ภาษารัสเซีย). Iskusstvo.
  • Shvidkovsky, D. S. (2007). Russian architecture and the West. Yale University Press. ISBN 978-0-300-10912-2.