ภาษาตงเซียง
ภาษาซันตา (Santa language) หรือภาษาตงเซียง (Dongxiang;ภาษาจีน: 东乡语) เป็นภาษากลุ่มมองโกลที่ใช้พูดโดยชาวตงเซียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ภาษาตงเซียงไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระและไม่มีความต่างของความยาวเสียงสระ[2]
ภาษาตงเซียงหรือภาษาซันตา | |
---|---|
Santa لھجکءاءل | |
ประเทศที่มีการพูด | จีน |
ภูมิภาค | มณฑลกานซู ในเขตปกครองตนเองหลินเซี่ยหุย และ เขตปกครองตนเองอีลี่-คาซัค ใน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[1] |
จำนวนผู้พูด | 250,000 (1999) |
ตระกูลภาษา | กลุ่มภาษามองโกล
|
ระบบการเขียน | อักษรอาหรับ, อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | sce |
ไวยากรณ์แก้ไข
เช่นเดียวกับภาษากลุ่มมองโกลอื่น ๆ ภาษาตงเซียงเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในหลินเซี่ยซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลางที่พูดโดยชาวหุย จะมีการเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรมด้วย[3]
ระบบการเขียนแก้ไข
เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับเคยแพร่กระจายในบริเวณนี้ ภาษานี้จึงเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับ คล้ายกับอักษรเสี่ยวเอ้อจิ้งของชาวหุย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา มีการพัฒนาการเขียนด้วยอักษรละตินสำหรับภาษาตงเซียงโดยใช้พื้นฐานจากอักษรของภาษามองเกอร์ แต่ยังอยู่ในระยะทดลอง[4]
ตัวเลขแก้ไข
ไทย | ภาษามองโกเลียคลาสสิก | ภาษาตงเซียง | |
1 | หนึ่ง | Nigen | Niy |
2 | สอง | Qoyar | Ghua |
3 | สาม | Ghurban | Ghuran |
4 | สี่ | Dorben | Jierang |
5 | ห้า | Tabun | Tawun |
6 | หก | Jirghughan | Jirghun |
7 | เจ็ด | Dologhan | Dolon |
8 | แปด | Naiman | Naiman |
9 | เก้า | Yisun | Yysun |
10 | สิบ | Arban | Haron |
ภาษาลูกผสมถั่งวั่งแก้ไข
มีประชากรราว 20,000 คนทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตตงเซียง ซึ่งจำแนกตนเองว่าเป็นชาวตงเซียงหรืชาวหุยแต่ไม่พูดภาษาตงเซียง แต่พูดภาษาจีนกลางที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาตงเซียง นักภาษาศาสตร์ Mei W. Lee-Smith เรียกภาษาลูกผสมนี้ว่าภาษาถั่งวั่ง (ภาษาจีน: 唐汪话) โดยมีที่มาจากชื่อของสองหมู่บ้านคือหมู่บ้านถั่งเจียและหมู่บ้านวั่งเจีย ซึ่งเป็นที่ที่พบภาษานี้[5]ซึ่งจะใช้หน่วยเสียงและคำจากภาษาจีนกลางแต่ใช้ไวยากรณ์ของภาษาตงเซียง และยังมีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียด้วย[5]
ภาษาถั่งวั่งเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ มีอนุภาคทางไวยากรณ์ที่นำมาจากภาษาจีนกลาง แต่ใช้ตามแบบหน่วยเสียงของภาษาตงเซียงซึ่งไม่มีเสียงวรรณยุกต์[5] เช่นปัจจัยแสดงพหูพจน์ของภาษาจีนกลาง -men (们) ในภาษาทังวังจะใช้ในรูป-m และใช้แบบเดียวกับปัจจัยพหูพจน์ –la ในภาษาตงเซียง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Bao 2006
- ↑ Gordon 2005, Dongxiang
- ↑ Bao 2006, 1.1: 东乡语的语序特点
- ↑ Kim 2003, p. 348
- ↑ 5.0 5.1 5.2
Lee-Smith, Mei W. (1996), "The Tangwang language", ใน Wurm, Stephen A.; Tyron, Darrell T. (บ.ก.), Atlas of languages of intercultural communication in the Pacific, Asia, and the Americas, Volume 2, Part 1. (Volume 13 of Trends in Linguistics, Documentation Series)., Walter de Gruyter, pp. 875–882, ISBN 3-11-013417-9 More than one of
|author=
และ|last=
specified (help); Missing|editor2=
(help)
- Kim, Stephen S. (2003), "Santa", ใน Janhunen, Juha (บ.ก.), The Mongolic Languages, Routledge Language Family Series, pp. 346–363, ISBN 0-203-98791-8
- Gordon, Raymond G., Jr., บ.ก. (2005), Ethnologue: Languages of the World (15th ed.), Dallas, Texas: SIL International, สืบค้นเมื่อ 2009-04-13
- 包萨仁/Bao Saren (2006), (2006) 02-0035-05.html "从语言接触看东乡语和临夏话的语序变化/Sequential Changes in Dongxiang Language and Linxia Dialects from the View of Linguistic Contact" Check
|url=
value (help), Journal of the Second Northwest University for Nationalities (Social Science Edition) (2), ISSN 1008-2883, สืบค้นเมื่อ 2009-04-13
ดูเพิ่มแก้ไข
- Field, Kenneth Lynn (1997), A grammatical overview of Santa Mongolian, PhD dissertation, University of California, Santa Barbara
- 马国忠/Ma Guozhong (2001), 东乡语汉语词典/Dongxiang-Chinese Dictionary, Lanzhou: 甘肃民族出版社/Gansu Nationalities Publishing House, ISBN 7-5421-0767-4
- Üjiyediin Chuluu (Chaolu Wu) (November, 1994). "Introduction, Grammar, and Sample Sentences for Dongxiang" (PDF). SINO-PLATONIC PAPERS. Department of East Asian Languages and Civilizations, University of Pennsylvania, Philadelphia, PA 19104-6305 USA. Check date values in:
|year=
(help)CS1 maint: location (link)