ฟ้าทะลายโจร (ภาพยนตร์)

ฟ้าทะลายโจร (อังกฤษ: Tears of the Black Tiger) เป็นผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เมื่อ พ.ศ. 2543 อำนวยการผลิตโดยฟิล์มบางกอก บีอีซีเทโร ร่วมกับ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น[ต้องการอ้างอิง] เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ที่ผู้สร้างใช้คำอธิบายว่า "รักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ"[ต้องการอ้างอิง] โดยสร้างในรูปแบบภาพยนตร์คาวบอยย้อนยุค เหมือนหนังคาวบอยไทยในอดีต ผู้กำกับจงใจเขียนบทให้ใช้คำพูดเชย ๆ และใช้เทคนิคพิเศษย้อมสีภาพยนตร์ให้ฉูดฉาด สีจัดเกินจริง[ต้องการอ้างอิง]

ฟ้าทะลายโจร
ไฟล์:Tearsblacktiger2.jpg
ใบปิดภาพยนตร์ แบบที่ใช้ในประเทศไทย
กำกับวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
เขียนบทวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
อำนวยการสร้างนนทรีย์ นิมิบุตร
นักแสดงนำชาติชาย งามสรรพ์
สเตลล่า มาลูกี้
ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
พศิน เรืองวุฒิ
สมบัติ เมทะนี
ไพโรจน์ ใจสิงห์
นัยนา ชีวานันท์
ครรชิต ขวัญประชา
สุวินิจ ปัญจมะวัต
กำกับภาพณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อดุษณีย์ ผุยหนองโพธิ์
ดนตรีประกอบอมรพงศ์ เมธาคุณาวุฒิ
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
วันฉาย29 กันยายน พ.ศ. 2543
ความยาว110 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน
ไฟล์:Tearsblacktiger3.jpg
ใบปิดภาพยนตร์ แบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา

ภาพยนตร์เรื่องนี้ล้มเหลวด้านรายได้ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่เมื่อนำไปฉายในต่างประเทศ กลับประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี[ใคร?] และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเลือกให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานน์ส เมื่อปี พ.ศ. 2544[1]

ภาพยนตร์เรื่องได้รับการซื้อไปขายในสหรัฐอเมริกาโดย มิราแม็กซ์ แต่ถูกเก็บดองไว้หลายปีไม่ถูกนำไปเผยแพร่ เนื่องจากมิราแม็กซ์ต้องการให้เปลี่ยนฉากจบของหนัง [2] จนกระทั่ง แมกโนเลีย พิคเจอร์ เปลี่ยนมือเข้ามา จึงได้ฉายในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 [3]

เรื่องย่อ แก้

เรื่องราวความรักของรำเพย ลูกสาวพระยาประสิทธิ์ ราชเสนา และ ดำ ลูกชายกำนันเดื่อ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก เมื่อครอบครัวของรำเพยต้องหนีภัยสงครามในกรุงมาอยู่บ้านกำนันเดื่อ ที่สุพรรณบุรี หลังสงครามทั้งคู่แยกจากกัน

สิบปีต่อมา ทั้งคู่ได้พบกันอีกครั้งเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ทั้งสองรักกัน เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงต่อกันและสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ตกลงกันว่าหากพ่อรำเพยไม่อนุญาตก็จะหนีตามกัน โดยนัดพบกันที่ศาลารอนาง ศาลากลางน้ำที่เป็นสถานที่แห่งความทรงจำมาแต่ก่อน

กำนันเดื่อถูกโจรปล้นไร่และฆ่าตาย ดำออกตามหาฆาตกร และจับพลัดจับผลูกลายเป็นลูกน้องอยู่ในรังของ เสือฝ้าย สหายเก่าของกำนันเดื่อ ด้วยความสามารถในการยิงปืนแม่นราวกับจับวาง ดำจึงกลายเป็น เสือดำ สมุนมือขวาคนโปรดของเสือฝ้าย คู่กับ เสือมเหศวร

รำเพยถูกบังคับให้แต่งงานกับ ร.ต.อ.กำจร ตำรวจมือปราบหนุ่ม แต่เธอไม่ยินยอม เธอตัดสินใจจะหนีตามดำ แต่เมื่อถึงวันเวลานัด ปรากฏว่าดำติดภารกิจกับมเหศวร และมาไม่ทัน รำเพยเข้าใจว่าดำไม่มา เธอจึงตัดสินใจรับหมั้นกับ ร.ต.อ.กำจร ด้วยหัวใจที่แตกสลาย

ร.ต.อ.กำจร ได้รับมอบหมายให้ไปทลายรังเสือฝ้าย แต่พลาดท่าถูกจับได้ เสือฝ้ายสั่งให้ดำประหารนายตำรวจ แต่แล้วก่อนจะลงมือลั่นไกสังหาร กำจรได้ขอร้องให้ดำส่งข่าวการตายของเขาถึงคู่หมั้นของเขา เมื่อดำรู้ว่ากำจรเป็นคู่หมั้นของรำเพย ดำตัดสินใจเสียสละ ปล่อยกำจรให้หนีไป ท่ามกลางความคลางแคลงใจของเสือฝ้าย และเสือมเหศวร ว่าดำทรยศ รับสินบนจากตำรวจ

เสือฝ้ายวางแผนบุกถล่มงานแต่งงานของกำจร ถึงจวนผู้ว่าเมืองสุพรรณ เพื่อแก้แค้นที่ถูกกำจรหยามน้ำหน้าบุกมาถล่มถึงรัง เมื่อดำทราบข่าว เขาจึงตัดสินใจเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปกป้องคนที่เขารัก ให้พ้นจากอันตรายอีกครั้งหนึ่ง

นักแสดง แก้

ไฟล์:Sombatblacktiger01.jpg
สมบัติ เมทะนี

รางวัล แก้

  • Officially selected Sundance 2002
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ พ.ศ. 2544
    • การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (Best special visual effects award) โดย อ๊อกไซด์ แปง
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best costume design award) โดย น้ำผึ้ง โมจนากุล
  • Officially selected International du Film Cannes 2001
  • International de Cine Gijon 2001 Spain
    • Best art direction
  • Officially selected Tokyo Filmex
  • Pifan 2001
    • Jury's Choice (Jury's special award)
  • Vancouver International Film Festival 2000
    • Dragons & Tigers award for young cinema
  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี พ.ศ. 2543
    • เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "เพลง กำศรวลจันทร์"
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม โดย เอก เอี่ยมชื่น
    • เทคนิคพิเศษทางภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดย อ๊อกไซด์ แปง
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง พ.ศ. 2543
    • ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม โดย สมบัติ เมทะนี
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม โดย เอก เอี่ยมชื่น
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม โดย อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ

ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ [4]

  • Cannes Film Festival 2001 ฝรั่งเศส
    • เข้าชิงรางวัลสาขา Un certain regard (หนังที่น่าจับตามอง)
  • Seatlle International Film Festival 2001 สหรัฐอเมริกา
  • New Zealand Film Festival 2001 ประเทศนิวซีแลนด์
  • Edinburgh International Film Festival 2001 สหราชอาณาจักร
  • Filmex 2001 ประเทศญี่ปุ่น
  • The 2002 Sundance Film Festival ในประเภท World Cinema
  • The 31st International Film Festival Rotterdam เนเธอร์แลนด์

เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้

ไฟล์:Fahtalaijonesoundtrackcover.jpg
อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์

อ้างอิง แก้

  • พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับกลางดงควันปืน, สำนักพิมพ์ Popcorn, 2549, ISBN 974-93354-0-6
  1. MOVIE REVIEW | 'TEARS OF THE BLACK TIGER' Gun-Slinging Cowboys in Colorful Thailand
  2. ภาพยนตร์เรื่องได้รับการซื้อไปขายในสหรัฐอเมริกา
  3. กำหนดวันฉาย ฟ้าทะลายโจร ในสหรัฐอเมริกา จากเว็บไซต์ของ Magnolia Pictures
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-26. สืบค้นเมื่อ 2007-04-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้