โจสิด มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา จื๋อ (จีน: 曹植; ค.ศ. 192 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 232)[a] ชื่อรอง จื่อเจี้ยน (จีน: 子建) รู้จักกันหลังเสียชีวิตว่า เฉินซีหวัง (陈思王) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน

โจสิด
曹植
ภาพโจสิดที่นำมาจาก Nymph of Luo River โดยกู้ ไข่จือ
เฉินอ๋อง (陳王)
ดำรงตำแหน่ง232 – 27 ธันวาคม 232
ตงเอออ๋อง (東阿王)
ดำรงตำแหน่ง229–232
ยงชิวอ๋อง (雍丘王)
ดำรงตำแหน่ง228–229
223–227
จุ้นอี๋อ๋อง (浚儀王)
ดำรงตำแหน่ง227–228
จ้วนเฉิงอ๋อง (鄄城王)
ดำรงตำแหน่ง12 พฤษภาคม 222 – 223
ประสูติค.ศ. 192[a]
เทศมณฑล Juancheng มณฑลชานตง
สวรรคต27 ธันวาคม พ.ศ. 232 (40 ปี)[a]
อำเภอหฺวายหยาง มณฑลเหอหนาน
คู่อภิเษกพระนางชุย
พระราชบุตร
  • Cao Miao
  • Cao Zhi
  • Cao Jinhu
  • Cao Xingnü
พระนามเต็ม
ชื่อตระกูล: โจ (曹)
ชื่อตัว: สิด (植)
ชื่อรอง: จื่อเจี้ยน (子建)
พระมรณนาม
ซีอ๋อง (思王)
ราชวงศ์ราชวงศ์โจ
พระราชบิดาโจโฉ
พระราชมารดาพระนางเปียนซี
โจสิด
"โจสิด" ในอักษรจีน
ภาษาจีน曹植

โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ

เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775

บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง

ในวรรณกรรมสามก๊ก แก้

 
ภาพวาดโจสิดสมัยราชวงศ์ชิงในสามก๊ก วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจยอยใน จดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกว่า โจสิดเสียชีวิตในวัน gengyin เดือน 11 ปีที่ 6 ของศักราช Taihe ในรัชสมัยโจยอย[1] ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 232 ในปฏิทินกริกอเรียน ชีวประวัติของโจสิดใน จดหมายเหตุสามก๊ก ก็บันทึกว่า ตอนเสียชีวิต เขามีอายุ 41 ปี (ตามการนับแบบเอเชียตะวันออก)[2] เมื่อคำนวณแล้ว โจสิดจึงเกิดใน ค.ศ. 192

อ้างอิง แก้

  1. ([太和六年十一月]庚寅,陳思王植薨。) Sanguozhi vol. 3.
  2. ([太和六年] ... 遂發疾薨,時年四十一。) Sanguozhi vol. 19.

อ่านเพิ่ม แก้

  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยียนอี้).
  • Luo, Guanzhong (2007). Three Kingdoms: A Historical Novel: Volume IV. แปลโดย Roberts, Moss. Beijing: Foreign Languages Press. ISBN 978-7-119-00590-4.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • Ruthven, K.K. (1969). A Guide to Ezra Pound's Personae (1926). University of California Press.
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.

ปหล่งข้อมูลอื่น แก้