กาเซี่ยง
กาเซี่ยง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี๋ยสวี่ (อังกฤษ: Jia Xu; จีนตัวย่อ: 贾诩; จีนตัวเต็ม: 賈詡; พินอิน: Jiá Xù; เวด-ไจลส์: Chia Xü) ชื่อรอง เหวินเหอ (อังกฤษ: Wenhe ; จีน: 文和; พินอิน: Wénhé; เวด-ไจลส์: Wen-he) เป็นขุนนางของวุยก๊กในช่วงต้นยุคสามก๊ก[1] เขาเริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในฐานะขุนนางชั้นผู้น้อย ในปี ค.ศ. 189 เมื่อตั๋งโต๊ะเข้าควบคุมราชสำนักฮั่น เขามอบหมายให้กาเซี่ยงเข้าร่วมหน่วยทหารที่นำโดยงิวฮู ลูกเขยของเขา ในปี ค.ศ. 192 หลังจากที่ตั๋งโต๊ะถูกลอบสังหารโดยลิโป้ ซึ่งเป็นองครักษ์ส่วนตัวและบุตรบุญธรรมของเขา กาเซี่ยงแนะนำให้ลิฉุย, กุยกีและผู้ภักดีต่อตั๋งโต๊ะตีโต้กลับและยึดการควบคุมเมืองหลวงของจักรวรรดิคือฉางอานจากรัฐบาลใหม่ที่นำโดยลิโป้และอ้องอุ้น หลังจากที่ลิฉุยและขุนพลคนอื่นๆ เอาชนะลิโป้และยึดครองฉางอาน กาเซี่ยงก็รับราชการภายใต้รัฐบาลกลางที่นำโดยพวกเขา ในช่วงเวลานี้เขารับประกันความปลอดภัยของจักรพรรดิหุ่นเชิดคือพระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งถูกลิฉุยจับเป็นตัวประกัน เขายังพยายามป้องกันความขัดแย้งภายในระหว่างลิฉุยและกุยกี หลังจากที่พระเจ้าเหี้ยนเต้หลบหนีจากฉางอัน กาเซี่ยงก็ออกจากลิฉุยและเข้าร่วมกับขุนพลต้วนเว่ย์ในช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นนักยุทธศาสตร์ให้กับเตียวสิ้ว
กาเซี่ยง | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพวาดกาเซี่ยง (ผลงานสมัยราชวงศ์ชิง) | |||||||||||||||
ที่ปรึกษาของโจโฉแห่งวุยก๊ก | |||||||||||||||
เกิด | พ.ศ. 690 | ||||||||||||||
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 766 | ||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 賈詡 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 贾诩 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อรอง | เหวินเหอ (文和) | ||||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
มีชื่อรองว่า เหวินเหอ เป็นคนมีประสบการณ์สูงและมีสติปัญญาเป็นเลิศ[2] เริ่มแรกเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลิฉุยและกุยกี ด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง สามารถทำให้ลิฉุย กุยกีอยู่บนอำนาจได้นาน แต่ต่อมาเกิดไม่พอใจลิฉุยและกุยกี จึงไปอยู่กับเตียวสิ้ว กาเซี่ยงมีเพื่อนที่เป็นที่ปรึกษาอยู่เตงเชีย คือ เลียวตู้
ประวัติ
แก้ช่วงที่เตียวสิ้วยอมมอบเมืองให้แก่โจโฉอย่างเต็มใจ แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่โจโฉเกิดไปหลงนางเจ๋าซือ ภรรยาม่ายของเตียวเจ อาของเตียวสิ้ว ทำให้เตียวสิ้วโกรธมาก กาเซี่ยงก็ได้วางแผนมากมายให้เตียวสิ้ว จนสามารถวางแผนฆ่าเตียนอุย นายทหารองค์รักษ์ของโจโฉได้ และโจโฉก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด และต้องเสียโจงั่งผู้บุตรและโจอันบิ๋นผู้หลานด้วย ต่อมาโจโฉก็ยกทัพมาตีเตียวสิ้วอีก เตียวสิ้วซึ่งร่วมมือกับฝ่ายเล่าเปียว ได้ไปต้านโจโฉซึ่งตอนแรกเตียวสิ้วเสียเปรียบ แต่กาเซี่ยงก็ได้วางแผนดี ๆ มากมาย ถึงกับบอกว่าถ้าแพ้ครั้งนี้จะยอมถูกตัดหัว แล้วก็ทำได้จริง ๆ อีกทั้งโจโฉต้องถอยทัพไปเนื่องจากอ้วนเสี้ยวจะมาตีเมือง ทำให้เตียวสิ้วชนะฝ่ายโจโฉได้ เตียวสิ้วและเล่าเปียวนั้นถึงกับออกปากชมว่ากาเซี่ยงเป็นยอดคน[3]
กาเซี่ยงได้แนะนำให้เตียวสิ้วสวามิภักดิ์กับโจโฉ ดีกว่าที่จะไปร่วมมือกับอ้วนเสี้ยว โดยการขับไล่ทูตของอ้วนเสี้ยวอย่างไม่ใยดี พอเตียวสิ้วนั้นมาต่อว่า กาเซี่ยงก็ให้เหตุผลทำนองว่า อยู่กับโจโฉแล้วจะส่งผลดีมากกว่าอยู่กับอ้วนเสี้ยว ทำให้เตียวสิ้วตกลง แล้วในที่สุดกาเซี่ยงก็ได้อยู่กับฝ่ายโจโฉ เตียวสิ้วได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพล ส่วนกาเซี่ยงนั้นมีบทบาทสำคัญมากในยุคของโจโฉเรืองอำนาจในศึกผาแดง กาเซี่ยงเป็นผู้ทัดทานไม่ให้โจโฉยกทัพไปตีซุนกวน แต่โจโฉไม่ฟัง ก็เลยประสบความพ่ายแพ้อย่างราบคาบในศึกผาแดง
กาเซี่ยงเป็นผู้คิดอุบายปราบม้าเฉียว โดยให้โจโฉส่งจดหมายที่แสร้งทำเป็นลบข้อความที่สำคัญส่งมาให้หันซุยผู้ช่วยของม้าเฉียว ทำให้ม้าเฉียวเข้าใจว่าหันซุยพยายามลบข้อความที่สำคัญเพื่อไม่ให้ม้าเฉียวรู้ และระแวงว่าหันซุยจะสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ เมื่อเกิดความแตกแยกระหว่างทั้งสอง ต่อมาหันซุยจึงสวามิภักดิ์ต่อโจโฉจริง ๆ โจโฉจึงตีทัพม้าเฉียวจนต้องหนีตายไปพึ่งเตียวล่อ ถือได้ว่ากาเซี่ยงมีความชอบในการตีทัพม้าเฉียวเป็นอย่างมาก
กาเซี่ยงนั้นมีส่วนร่วมในการในคำแนะนำในการตั้งรัชทายาทของโจโฉ โดยเมื่อโจโฉถามกาเซี่ยงเรื่องรัชทายาทว่าจะตั้งใครระหว่างโจผีและโจสิด กาเซี่ยงก็ทำทีไปคิดถึงเรื่องอื่น โจโฉถามว่าคิดถึงเรื่องอะไรอยู่ กาเซี่ยงตอบชัดถ้อยชัดคำว่า "ข้าพเจ้าคิดถึงเรื่องที่ตระกูลของเล่าเปียวและอ้วนเสี้ยวที่ตายหมดไปแล้วทั้งคู่" ความหมายก็คือเล่าเปียวและอ้วนเสี้ยวไม่ได้ตั้งลูกชายคนโตเป็นรัชทายาท ให้ผู้น้องเป็นรัชทายาทแทน ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายตามมาภายหลัง ควรที่จะตั้งโจผีลูกชายคนโตของโจโฉขึ้นเป็นรัชทายาทแทน โจโฉเห็นด้วยกับความคิดนี้ โจผีจึงได้เป็นรัชทายาทคนต่อไป เรียกได้ว่ากาเซี่ยงมีส่วนทำให้โจผีได้ครองราชย์ต่อจากโจโฉ และกาเซี่ยงผู้นี้เองที่สนับสนุนโจผีในการยึดบัลลังก์จากพระเจ้าเหี้ยนเต้
ในสมัยพระเจ้าโจผีขึ้นเป็นฮ่องเต้ กาเซี่ยงก็ได้ทัดทานไม่ให้โจผีไปตีซุนกวน แต่โจผีก็ยังไม่ฟัง โจผีประสบความพ่ายแพ้อีกครั้ง ทั้งยังเสียทหารเอกเตียวเลี้ยวไปในสนามรบอีกด้วย กาเซี่ยงยังเป็นคนสมถะ ไม่ชอบทำตัวเด่นดัง และเป็นคนที่จริงใจต่อผู้อื่นในก๊กของโจโฉ ด้วยการกระทำเช่นนี้ ทำให้คนในวุยก๊กยกย่องกาเซี่ยงว่าเป็นกุนซือที่เพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญาและนิสัยอีกคนหนึ่งในขณะที่โจผีครองราชย์ได้ 3 ปี นับว่าสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ฝ่ายวุยก๊กมหาศาล ถือเป็นอัจฉริยะที่เกิดขึ้นมาในยุคสามก๊กอีกคนหนึ่ง โดยในประเทศจีนเทียบกาเซี่ยงว่ามีสติปัญญาทัดเทียมฮกหลงเลยทีเดียว เนื่องจากแผนการที่ออกมาจากมันสมองของกาเซี่ยงนั้นไม่เคยผิดพลาดเลยสักครั้ง[4]
กาเซี่ยงก่อนจะถึงแก่กรรมได้สั่งเสียลูก ๆ ไว้ว่าให้ทำตนรักสันโดษไม่เด่นดังเพราะจะนำภัยมาสู่ตน และกาเซี่ยงก็สิ้นอายุขัยในวัย 77 ปี ซึ่งเมื่อกาเซี่ยงสิ้นแล้วพระเจ้าโจผีก็ได้แต่งตั้งกาเซี่ยงเป็น "เจ้าพระยาสมถะ" และได้รับการยกย่องจากเหล่าแม่ทัพนายกองของวุยก๊กมาก[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ de Crespigny (2007), p. 370.
- ↑ http://www.thaisamkok.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87/
- ↑ https://panat.wordpress.com/2009/11/20/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C/
- ↑ http://board.postjung.com/725400.html
- ↑ http://www.oknation.net/blog/Thejourneyofanidea/2012/08/15/entry-1