สถานีเจริญนคร (อังกฤษ: Charoen Nakhon Station, รหัส G2) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ระหว่าง ไอคอนสยาม ทั้งอาคารหลัก และอาคารต่อขยาย

เจริญนคร
G2

Charoen Nakhon
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นไอคอนสยาม
ที่ตั้งถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′35″N 100°30′32″E / 13.7265°N 100.5090°E / 13.7265; 100.5090
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการกรุงเทพธนาคม
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
การเชื่อมต่อ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีG2
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ16 มกราคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-01-16)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
คลองสาน
สถานีปลายทาง
สายสีทอง กรุงธนบุรี
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่
Bombardier Innovia APM 300 ที่สถานีเจริญนคร

ที่ตั้ง แก้

ระหว่างศูนย์การค้าไอคอนสยาม ทั้งอาคารหลัก (อาคาร Main Building) และอาคารต่อขยาย (อาคารไอซีเอส) บนถนนเจริญนคร ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีทอง มุ่งหน้า กรุงธนบุรี (ไม่ได้ใช้งานชั่วคราว)
ชานชาลา 1 สายสีทอง มุ่งหน้า คลองสาน หรือ กรุงธนบุรี (ชั่วคราว)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย,ขวา (ชั่วคราว)
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ไอคอนสยาม และ ไอซีเอส
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง และรถสี่ล้อเล็กรับจ้าง, วิทยาลัยเทคโนโลยีมิตรผลบริหารธุรกิจ, โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน,
แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส และ เดอะ เรสซิเดนเซส แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล แบงค็อก
ถนนเจริญรัถ, ซอยเจริญนคร 2, ซอยเจริญนคร 3, ซอยเจริญนคร 4, ซอยเจริญนคร 5
  ท่าไอคอนสยาม

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) กว้าง 22 เมตร ระดับชานชาลาสูง 16.60 เมตร ยาว 81 เมตร ถูกออกแบบให้มีขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อรองรับผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด โดยสถานีห่างจากสถานีกรุงธนบุรี 1.149 กิโลเมตร และห่างจากสถานีคลองสาน 532 เมตร สถาปัตยกรรมโดยรวมของสถานีออกแบบให้คล้ายคลึงกับอาคารหลักของศูนย์การค้าไอคอนสยาม เน้นการตกแต่งในโทนสีทองและสีขาวเป็นหลัก

ทางเข้า-ออก แก้

  • 1 ไอคอนสยาม (อาคารไอซีเอส), วิทยาลัยเทคโนโลยีมิตรผลบริหารธุรกิจ, ซอยเจริญนคร 2, ซอยเจริญนคร 4
  • 2 ไอคอนสยาม (สะพานเชื่อมผ่านลานเจริญนครฮอลล์)
  • 3 ไอคอนสยาม (อาคารหลัก), แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส และเดอะ เรสซิเดนเซส แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล แบงค็อก, โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน, ซอยเจริญนคร 3, ซอยเจริญนคร 5

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

  • ลิฟต์สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนเจริญนครทั้งสองฝั่ง และจากชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารไปยังชานชาลาทั้งสองชานชาลา
  • สะพานเชื่อม
    • ไอคอนสยาม ออกแบบให้สามารถเข้าอาคารได้ 3 ทิศทาง 4 ชั้น 5 จุด ได้แก่ ทางเข้าหลักชั้น M เชื่อมกับลานเจริญนครฮอลล์, ทางเข้าชั้น UG จำนวน 2 จุด, ทางเข้าชั้น 1 เชื่อมกับร้านซารา และทางเข้าชั้น 2 เชื่อมกับห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า
    • ไอซีเอส เชื่อมกับทางเข้าหลักชั้น M

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีทอง
ชานชาลาที่ 1
G3 คลองสาน เต็มระยะ 06.03 00.03
ชานชาลาที่ 2
G1 กรุงธนบุรี เต็มระยะ 06.01 00.06
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีเขียว - 23.42
หมายเหตุ
  • ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีเขียว หมายถึงขบวนรถไฟฟ้าสายสีทองที่สามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เพื่อไปให้ทันรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท มุ่งหน้าสถานีเคหะฯ หรือสถานีคูคต ขบวนสุดท้าย ซึ่งจะออกจากสถานีกรุงธนบุรีในเวลา 23.52 น.
  • หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีทองขบวนสุดท้าย (00.06 น.) ไปเชื่อมต่อกับสายสุขุมวิท จะสามารถเดินทางไปได้เพียงแค่สถานีห้าแยกลาดพร้าว หรือสถานีสำโรง แต่สามารถเดินทางในสายสีลมได้ทุกสถานี

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

  • ไอคอนสยาม และไอซีเอส
    • ห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า
    • แอปเปิลสโตร์ สาขาไอคอนสยาม
    • ศูนย์ประชุม ทรู ไอคอน ฮอลล์
    • โลตัส พรีเว่ สาขาไอซีเอส
    • ศูนย์สุขภาพ ศิริราช เอช โซลูชันส์
    • อาคารสำนักงานไอซีเอส
    • โรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ แบงค็อก ริเวอร์ไซด์
  • วัดสุวรรณ
  • ตลาดคลองสาน
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีมิตรผลบริหารธุรกิจ
  • โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน
  • โรงแรมไลฟ์ ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
  • เดอะ แจม แฟคทอรี่

การเชื่อมต่อกับการขนส่งสาธารณะอื่น แก้

รถโดยสารประจำทาง แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 8 (กปด.18)   อู่กำแพงเพชร คลองสาน รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
3 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
84 6 (กปด.16) อ้อมใหญ่   BTS กรุงธนบุรี รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการตลอดคืน
84 วัดไร่ขิง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
88 5 (กปด.25) มจธ.บางขุนเทียน ลาดหญ้า รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการน้อย
111 เจริญนคร ตลาดพลู รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม
4-18 (105)   5 (กปด.35) สมุทรสาคร   BTS กรุงธนบุรี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
4-18 (105) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
6 (4-1)     พระประแดง บางลำพู รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.เศวกฉัตร
(เครือไทยสมายล์บัส)
84 (4-46)   วัดไร่ขิง   BTS กรุงธนบุรี บจก.ไทยสมายล์บัส
89 (4-19)     สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
120 (4-21)   สมุทรสาคร แยกบ้านแขก บจก.อำไพรุ่งโรจน์
(เครือไทยสมายล์บัส)
149 (4-53)   บรมราชชนนี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) บจก.ไทยสมายล์บัส

รถสี่ล้อเล็ก แก้