สถานีพหลโยธิน 59 (อังกฤษ: Phahonyothin 59 station; รหัส: N18) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พหลโยธิน 59
N18

Phahonyothin 59
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°52′57″N 100°36′03″E / 13.8825°N 100.6008°E / 13.8825; 100.6008
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN18
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ16 ธันวาคม พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-12-16)
ชื่อเดิมวงเวียนหลักสี่
ผู้โดยสาร
2564560,343
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สายหยุด
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท วัดพระศรีมหาธาตุ
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้าซอยพหลโยธิน 59 (น้ำใส) ซอยหมู่บ้านราชตฤณมัย และซอยหมู่บ้านฝนทองนิเวศน์ ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ในแผนงานเดิมของกรุงเทพมหานคร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สถานีแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า สถานีวงเวียนหลักสี่ และเดิมทีตำแหน่งที่ตั้งของสถานีถูกกำหนดไว้บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาหลักสี่ และสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่เนื่องจากมีการปรับตำแหน่งของสถานีวัดพระศรีมหาธาตุในสายสุขุมวิทจากจุดที่ตั้งเดิมคือบริเวณด้านหน้าวัดพระศรีมหาธาตุใกล้กับวงเวียนหลักสี่ และสายสีชมพูจากจุดที่ตั้งเดิมคือบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกริก ให้มาอยู่ภายในบริเวณเดียวกันคือกลางวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ทำให้ต้องมีการขยับตำแหน่งสถานีแห่งนี้ออกไปอีกเล็กน้อยเป็นบริเวณด้านหน้าซอยหมู่บ้านราชตฤณมัยเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างสถานีให้เหมาะสม

โดยก่อนหน้าที่จะมีการเปิดให้บริการกรุงเทพมหานครและบีทีเอสซี ได้กำหนดชื่อสถานีอย่างไม่เป็นทางการว่า สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ ก่อนที่ รฟม. จะมีมติเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีจากสถานีวงเวียนหลักสี่และสถานีอนุสาวรีย์หลักสี่เป็น สถานีพหลโยธิน 59 ในที่สุด

แผนผังของสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (วัดพระศรีมหาธาตุ)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สายหยุด)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ซอยพหลโยธิน 59, ซอยพหลโยธิน 61, ซอยหมู่บ้านราชตฤณมัย, ซอยหมู่บ้านฝนทองนิเวศน์

รายละเอียดของสถานี แก้

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[1]

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์, ริชพาร์ค เทอร์มินอล หลักสี่, โมดิซ สเตชั่น หลักสี่
  • 2 โรงพยาบาลสัตว์นนทรี หลักสี่, หมู่บ้านราชตฤณมัย, รวิช คลินิกเสริมความงามและชะลอวัย
  • 3 ไชยแพทย์เวชกรรมคลีนิค, ซอยพหลโยธิน 59
  • 4 หมู่บ้านฝนทองนิเวศน์, กองพันทหารสื่อสารที่ 21 กองทัพภาคที่ 1, กองซ่อมเครื่องสื่อสาร-อิเลคทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.26 23.26
E15 สำโรง 23.41
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.11
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.30 00.35

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 34 39 114 185 503 520 522 543 1-25 รถเอกชน สาย 34E(1-2E) 39(1-4) 39(1-5) 1-31

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34 1 (กปด.31)   อู่รังสิต   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
39 1 (กปด.21) ตลาดไท   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
114 1 (กปด.11) แยกลำลูกกา MRT พระนั่งเกล้า
114 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) งดให้บริการชั่วคราว
185 1 (กปด.31)   อู่รังสิต คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
520 2 (กปด.22)   อู่มีนบุรี ตลาดไท มีรถให้บริการน้อย
522 (1-22E) 1 (กปด.31)   อู่รังสิต   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านงามวงศ์วาน ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านงามวงศ์วาน)

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
522 (1-22E)   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
543 1 (กปด.11)   อู่บางเขน ลำลูกกา คลอง 7 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
543   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
1-25 แยกลำลูกกา รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34E (1-2E)   รังสิต   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านวัชรพล ลงด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขากลับ ขึ้นด่านพระราม 9 ลงด่านวัชรพล)
39 (1-4)   ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บางเขน
39 (1-5)   รังสิต   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.หลีกภัยขนส่ง)
1-31   ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ คลองหลวง คลอง 5 บจก.ไทยสมายล์บัส

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต–สะพานใหม่–ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่–ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2020-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.