ที่ราบสูงโกลัน (อาหรับ: هضبة الجولان, อักษรโรมัน: Haḍbatu l-Jawlān or مرتفعات الجولان Murtafaʻātu l-Jawlān, ฮีบรู: רמת הגולן) เป็นภูมิภาคในลิแวนต์ที่มีเนื้อที่ราว 1,800 ตารางกิโลเมตร (690 ตารางไมล์) ความหมายของที่ราบสูงโกลันแตกต่างไปตามสาขาวิชา ในทางธรณีวิทยาและชีวภูมิศาสตร์ ที่ราบสูงโกลันหมายถึงที่ราบสูงหินบะซอลต์ที่มีอาณาบริเวณแม่น้ำยาร์มุกทางใต้ ทะเลกาลิลีและหุบเขาฮูลาทางตะวันตก เทือกเขาแอนติเลบานอนและภูเขาเฮอร์มอนทางเหนือ และ Ruqqad ทางตะวันออก ขณะที่ในทางภูมิรัฐศาสตร์จะหมายถึงพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครองในสงครามหกวันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และปกครองโดยอิสราเอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981

ที่ราบสูงโกลัน

هضبة الجولان
רמת הגולן
ที่ตั้งของที่ราบสูงโกลัน
ที่ตั้งของที่ราบสูงโกลัน
พิกัด: 32°58′54″N 35°44′58″E / 32.98167°N 35.74944°E / 32.98167; 35.74944
สถานภาพนานาชาติถือเป็นพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครอง[1]
ดูเนื้อหา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,800 ตร.กม. (700 ตร.ไมล์)
 • ยึดครองโดยอิสราเอล1,200 ตร.กม. (500 ตร.ไมล์)
 • ควบคุมโดยซีเรีย (รวมเขต UNDOF 235 km2)600 ตร.กม. (200 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด2,814 เมตร (9,232 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด−212 เมตร (−696 ฟุต)
ประชากร
ในเขตยึดครองโดยอิสราเอล[2][3][4]
 • ทั้งหมด40,000–49,700 คน
 • อาหรับ20,000–25,700 คน
 • ยิว20,000–22,300 คน
เขตเวลาUTC+2
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3

หลักฐานแรกสุดที่ชี้ว่ามนุษย์ตั้งถิ่นฐานในที่ราบสูงโกลันอยู่ในช่วงปลายยุคหิน[5] ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าที่ราบสูงแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเบชัน อาณาจักรของชาวอามูร์ที่ถูกวงศ์วานอิสราเอลพิชิต[6] ในคัมภีร์โทราห์ระบุว่าที่ราบสูงโกลันเป็น "ศูนย์กลางของการแย่งชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์แห่งอิสราเอลกับชาวแอราเมียนที่มีฐานอยู่ใกล้ดามัสกัสในปัจจุบัน"[7] หลังอัสซีเรียและบาบิโลเนียเสื่อมอำนาจ เปอร์เซียได้เข้ามามีอำนาจและอนุญาตให้ชาวยิวกลับมาอาศัยยังที่ราบสูงนี้หลังถูกกวาดต้อนมาจากเยรูซาเลมที่เสียเมืองให้แก่พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลเนีย[8] ต่อมาในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ชาวอิทูเรียนตั้งรกรากที่นี่และอาศัยเรื่อยมาจนสิ้นยุคไบแซนไทน์[9] หลังจากนั้นมีชนหลายกลุ่มอาศัยในที่ราบสูงโกลัน เช่น เบดูอิน ดรูซ เติร์กเมน และเซอร์คัสเซียน[10]

นับตั้งแต่สงครามหกวัน พื้นที่ทางตะวันตกสองในสามของที่ราบสูงโกลันถูกยึดและปกครองโดยอิสราเอล[11] ขณะที่พื้นที่ทางตะวันออกอยู่ใต้การปกครองของซีเรีย ซีเรียปฏิเสธที่จะเจรจากับอิสราเอลตามข้อมติคาร์ทูมหลังสงคราม[12] ในปี ค.ศ. 1974 มีการจัดตั้งพื้นที่กันชนที่ดูแลโดยกองกำลังสังเกตการณ์การถอนกำลังแห่งสหประชาชาติ (UNDOF) ระหว่างอิสราเอล–ซีเรีย[13] ด้านอิสราเอลปกครองส่วนที่ยึดได้ด้วยกำลังทหารจนกระทั่งมีการผ่านกฎหมายปกครองในปี ค.ศ. 1981 ซึ่งบางฝ่ายมองว่าเป็นการผนวกดินแดน[14] ฝ่ายคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการผ่านกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่า "การตัดสินใจของอิสราเอลในการบังคับใช้กฎหมาย เขตอำนาจ และการจัดการการปกครองที่ราบสูงโกลันที่ยึดครองจากซีเรียถือเป็นโมฆะ และไม่มีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ"[15] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังเน้นย้ำถึง "การถือครองดินแดนด้วยสงครามเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้" ตามข้อมติที่ 242 ซึ่งอิสราเอลก็อ้างสิทธิ์ในการถือครองที่ราบสูงนี้ตามข้อมติเดียวกันที่เรียกร้องให้มี "เขตแดนที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ ปลอดจากภัยคุกคามและกำลังทหาร"[16] เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองซีเรียในปี ค.ศ. 2011 การปกครองที่ราบสูงโกลันของซีเรียแตกออกเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน และกลายเป็นสมรภูมิรบของทั้งสองฝ่ายจนในปี ค.ศ. 2018 ฝ่ายรัฐบาลก็มีชัยและควบคุมฝั่งตะวันออกไว้ได้[17]

ในปี ค.ศ. 2019 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศยอมรับที่ราบสูงโกลันเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล ทำให้สหรัฐกลายเป็นชาติแรกที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงนี้[18] ด้านสหภาพยุโรปประกาศไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงโกลัน[19] ขณะที่อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "สถานภาพของที่ราบสูงโกลันนั้นไม่เปลี่ยนแปลง"[20]

อ้างอิง แก้

  1. Korman, Sharon, The Right of Conquest: The Acquisition of Territory by Force in International Law and Practice, Oxford University Press, pp. 262–263
  2. Israel to send 250,000 settlers to occupied Golan
  3. Statistical Abstract of Israel 2018, 2.17. Israel Central Bureau of Statistics.
  4. Golan Heights profile 25 March 2019 BBC
  5. Tina Shepardson. Stones and Stories: Reconstructing the Christianization of the Golan, เก็บถาวร 15 เมษายน 2001 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Biblisches Forum, 1999.
  6. Dt 3:1, Dt 3:2, Dt 3:3, Dt 3:4, Dt 3:5, Dt 3:6, Dt 3:7
  7. Tatro, Nicolas (11 September 1988). "The Golan Heights: A Battlefield of the Ages". The Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011.
  8. HaReuveni, Immanuel (1999). Lexicon of the Land of Israel (in Hebrew). Miskal – Yedioth Ahronoth Books and Chemed Books. pp. 662–663 ISBN 965-448-413-7.
  9. Avraham Negev; Shimon Gibson (2005). Archaeological Encyclopedia of the Holy Land (Paperback ed.). Continuum. p. 249. ISBN 978-0-8264-8571-7.
  10. Schumacher (1888), pp. 42–61
  11. "Golan Heights". Britannica. October 16, 2020. สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.
  12. "This Week in History: The Arab League Three No's". Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
  13. "Agreement on Disengagement between Israeli and Syrian Force". Report of the Secretary-General concerning the Agreement on Disengagement between Israeli and Syrian Forces. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2012. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011.
  14. Rabinowitz, Dan (28 March 2012). "17: Identity, the State and Borderline Disorder". ใน Thomas M. Wilson and Hastings Donnan (บ.ก.). A Companion to Border Studies. John Wiley & Sons. pp. 307–308. ISBN 978-1-118-25525-4.
  15. UN Security Council Resolution 497
  16. Y.Z Blum "Secure Boundaries and Middle East Peace in the Light of International Law and Practice" (1971) pages 24–46
  17. AP and TOI staff (2018-07-31). "Syria boots IS from Golan Heights, retaking full control of frontier with Israel". www.timesofisrael.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  18. Trump, Donald J. (2019-03-25). "Proclamation on Recognizing the Golan Heights as Part of the State of Israel". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  19. Stone, Jon (March 28, 2019). "EU member states unanimously reject Israel's sovereignty over Golan Heights, defying Trump and Netanyahu". The Independent. สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.
  20. "U.N. chief clear that Golan status has not changed: spokesman". March 25, 2019 – โดยทาง www.reuters.com.