พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2

เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (ฮีบรู: נְבוּכַדְנֶצַּר ‎; กรีกโบราณ: Ναβουχοδονόσωρ; อารบิก: نِبُوخَذنِصَّر ) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิกรุงบาบิโลนใหม่ ระหว่างปี 605 ถึง 562 ก่อนคริสตกาล จักรวรรดิกรุงบาลิโลนในยุคของพระองค์เป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจมาก โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย กองทัพของพระองค์มีชัยเหนืออียิปต์ ตลอดจนเข้าทำลายกรุงเยรูซาเลมและกวาดต้อนชาวอิสราเอลไปยังกรุงบาบิโลน กรุงบาบิโลนของพระองค์เป็นมหานครใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง[2] สิ่งก่อสร้างมหึมาของโลกยุคโบราณหลายแห่งถูกสร้างขึ้นในยุคของพระองค์ อาทิ สวนลอยบาบิโลน

เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2
กษัตริย์แห่งบาบิโลน
รูปสลักของ เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 บนเนตรหินโมรา[1]
ครองราชย์605 – 562 ก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าแนโบโพแลสซาร์
ถัดไปอาเมลมาร์ดุก
ประสูติc. 642 BC
สวรรคตc. 562 BC (ชันษา 80)
พระราชบิดาแนโบโพแลสซาร์

คัมภีร์ไบเบิลมักจดจำพระองค์ในฐานะผู้ทำลายพระวิหารซาโลมอนในกรุงเยรูซาเลมและเป็นผู้เริ่มต้นยุคเชลย (ยุคที่ชาวยิวตกเป็นเชลยของบาบิโลน) หนังสือเยเรมีย์เรียกพระองค์ว่า "ผู้ทำลายประชาชาติ"[3] พระองค์ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือดาเนียล

ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดู​เมือง​ที่​เรา​สร้าง​สิ สวย​งาม​อะไร​อย่าง​นี้ เรา​คือ​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้า​ไม่​ได้​ปกครอง​อาณาจักร​นี้​แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำ​ตัว​เหมือน​สัตว์​และ​ถูกเนรเทศจาก​วัง​ไป​อยู่​กับ​สัตว์​ใน​ป่า ผม​ของ​เนบูคัดเนสซาร์​ยาว​เหมือน​ขน​นก​อินทรีและ​เล็บ​ของ​เขา​ยาว​เหมือน​กรง​เล็บ​ของ​นก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูกตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์​ก็​กลับ​มา​เป็น​ปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส)

คำว่า "เนบูคัดเนสซาร์" นั้นเป็นภาษาแอกแคด มีความหมายว่า "ขอองค์เนโบโปรดพิทักษ์ซึ่งโอรสแรกแห่งข้า" ซึ่งเนโบนั้นคือเทพแห่งปัญญาผู้เป็นบุตรของเทพมาร์ดุกในศาสนาบาบิโลนเทวนิยม[4][5] บางครั้งพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในชื่อ บาคัตนาซาร์ ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้มีชัยเหนือโชคชะตา"

อ้างอิง

แก้
  1. Anton Nyström, Allmän kulturhistoria eller det mänskliga lifvet i dess utveckling, bd 2 (1901)
  2. Arnold 2005, p. 96.
  3. เยเรมีย์ 4:7 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่ ฉบับมาตรฐาน 2011
  4. Harper, R. F. quoted in Peet, Stephen Denison (editor). 1900. “Editorial Notes,” The American Antiquarian and Oriental Journal. New York: Doubleday, vol. XXII, May and June, p. 207.
  5. Lamb, Harold. 1960. Cyrus the Great. New York: Doubleday, p. 104.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้