จ่าง แซ่ตั้ง

ศิลปินไทย

จ่าง แซ่ตั้ง (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นศิลปิน นักเขียนบทกวี และจิตรกร เขามีเชื้อสายจีน โดยบิดาอพยพมาจากประเทศจีน ส่วนมารดาเป็นคนจีนเกิดในประเทศไทย จ่างเกิดที่ตลาดสมเด็จ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี เข้าเรียนหนังสือระดับชั้นมูลที่โรงเรียนเทศบาลสอง วัดพิชัยญาติ แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่ได้เรียนหนังสือที่ไหนอีก

จ่าง แซ่ตั้ง
จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ทำงานบทกวีรูปธรรมและงานศิลปนามธรรมเป็นคนแรก
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (56 ปี)
สัญชาติไทย ไทย
อาชีพนักเขียน กวี จิตรกร
มีชื่อเสียงจากเป็นศิลปินอิสระที่ทำงานด้านบทกวีรูปธรรม และภาพวาดนามธรรมคนแรกของประเทศไทย
คู่สมรสนางเซี๊ยะ แซ่ตั้ง

จ่าง แซ่ตั้ง สมรสกับนางเซี้ยะ แซ่ตั้ง มีบุตร 7 คน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อายุ 56 ปี

การทำงาน แก้

จ่าง แซ่ตั้ง ชื่นชอบการวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก และได้ฝึกฝนฝีมือการวาดภาพด้วยตัวเอง ใน พ.ศ. 2505 เริ่มเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมันขนาดใหญ่ โดยใช้นิ้วมือแทนพู่กัน เป็นภาพเจ้าแม่โพธิสัตว์ ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียน โดยเขาเริ่มเขียนเรื่องสั้นใน พ.ศ. 2506 เรื่อง “เวลาอันยาวนาน” พิมพ์ในหนังสือรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 เริ่มเขียนบทกวี ที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่า "กวีรูปธรรม" (concrete poetry) ซึ่งมีที่มาจากการเป็นจิตรกรวาดภาพมาแต่เดิม ลักษณะเฉพาะของบทกวีของจ่าง คือไม่ใช้ไม้ยมกแทนคำซ้ำ แต่กลับเขียนคำซ้ำ ๆ กัน และมีลักษณะคล้ายการเขียนรูป ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ทั้งนี้ จ่าง แซ่ตั้ง ถือว่าเป็นคนแรกในประเทศไทย ที่ได้สร้างงานศิลปะประเภทนามธรรมและมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะไทยเป็นอันมาก

ในปี พ.ศ. 2510 มีการแปลผลงานกวีของจ่าง แซ่ตั้งเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับเชิญไปร่วมงานประชุมกวรโลกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมานิตยสาร “ลุคอิส” ได้มาทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิต การทำงานและความเป็นอยู่ ของจ่าง รวมทั้งนำภาพสีพิมพ์เป็นปกเพื่อจำหน่ายขายทั่วโลก

ผลงาน แก้

การแสดงศิลปะ-วรรณกรรม

  • พ.ศ. 2503

- นิทรรศการศิลปกรรมไทย-จีนแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ

  • พ.ศ. 2509
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 1 “รวมศิลปินร่วมสมัย”หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2510
    • การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่สิงคโปร์
    • การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่มาเลเซีย
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 3 “5 ศิลปินร่วมสมัย” หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2511
    • นิทรรศการศิลปะเพื่อการกุศล “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” บ้านเด็กกำพร้าบ้านกิ่งแก้ว จ.เชียงใหม่
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”แกลเลอรี่ 20 กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2512
    • การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย รายการเชื้อเชิญศิลปินของ โรงเรียนเพาะช่าง
    • นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”ครั้งที่๑ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2513
    • นิทรรศการจิตรกรรมและบทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 2 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
    • นิทรรศการศิลปกรรม-บทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 3 รวมจิตรกรรมและบทกวี (2503-2513) ห้องแสดงศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้งกรุงเทพฯ
    • นิทรรศการศิลปะ บทกวี บทปรัชญา “จ่าง แซ่ตั้ง” สถานทูตสหรัฐอเมริกา AN INTRODUCTION TO TANG CHANG POET ARTIST AND PHILOSOPHER
  • พ.ศ. 2514
    • นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง ศิษย์ และบทกวีของลูกลูก”ครั้งที่ 4 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้าน จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2515
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย“จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” โรงภาพยนตร์วอร์เนอร์ กรุงเทพฯ
    • แสดงบทกวีนิพนธ์ร่วมสมัย ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2516
    • นิทรรศการศิลปะกลางแจ้ง “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก”แสดงบนทางเดินเท้ารอบสนามหลวง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2518
    • แสดงบทกวีนิพนธ์ “แม่”นิสิตนักศึกษาชมรมพุทธมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ
    • กวีสัมพันธ์ ไทย จีน อังกฤษ แห่งประเทศไทย”อ่านบทกวีนิพนธ์ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
    • แสดงบทกวีรูปธรรม (CONCRETE POETRY) และอ่านบทกวีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2524
    • การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 27 กรุงเทพฯ ในฐานะ “ศิลปินเชื้อเชิญ”
  • พ.ศ. 2528
    • อ่านบทกวีนิพนธ์ สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (A.U.A.) กรุงเทพฯ
    • ก่อตั้ง “หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง”กรุงเทพฯ
    • แสดงศิลปกรรม บทกวีนิพนธ์ ย้อนหลัง จ่าง แซ่ตั้ง (2500 − 2528) หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2534
    • “พลังแห่งสัจจะ” จ่าง แซ่ตั้ง : ประเทือง เอมเจริญ ณ ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้
  • พ.ศ. 2537
    • “งานสีของ จ่าง แซ่ตั้ง” ณ สุขุมวิท 20 กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2538
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 28 ตุลาคม – 3 ธันวาคม ณ Japan Foundation Forum, Tokyo จัดโดย The Japan Foundation Asia Center
  • พ.ศ. 2539
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 6 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม ณ Metropolitan Museum of Manila จัดโดย Metropolitan Museum of Manila, Embassy of Japan, The Philippines, The Japan Foundation
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 8-28 พฤษภาคม ณ หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ จัดโดย กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และ The Japan Foundation
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม ณ Gedung Pameran Seni Rupa, Department Pendidikan dan Kebudayaan, Jakarta, Indonesia จัดโดย Diroctorate General for Culture, Ministry of Education and Culture, Republic of Indonesia, The Japan Foundation
  • พ.ศ. 2543
    • “จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง” ภาพใบหน้าตัวเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497-2530 ณ เดอะ เมอร์คิวรี่ อาร์ต แกเลอรี่ เพลินจิต กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2544
    • “จิตรกร ไล่จับ แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด ใส่ไว้ในภาพ” 25 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม ณ Open Arts Space เดอะสีลม แกเลอเรีย
  • พ.ศ. 2545
    • นิทรรศการศิลปะ “เวลาอันยาวนาน” 17-30 กันยายน ณ ห้องศิลปนิทรรศมารศี วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ 1-14 ตุลาคม ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ 16 ราชดำเนิน กรุงเทพฯ 11 กันยายน – 6 ตุลาคม ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท 55 กรุงเทพฯ และผลงานได้สัญจรไปจัดนิทรรศการในส่วนภูมิภาค 1-15 พฤศจิกายน ณ หอศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก 20 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9-23 ธันวาคม 2545 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2550
    • นิทรรศการศิลปกรรม “โลกทรรศน์จากภายใน : จ่าง แซ่ตั้ง” (World View from Within : Tang Chang) ผลงานจิตรกรรม 120 ชิ้น จากผลงานจิตรกรรมรูปธรรมสู่นามธรรมที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 2501-2525 จัดแสดง ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
    • งานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2-4 พฤศจิกายน 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • พ.ศ. 2556
    • นิทรรศการ “เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน” 5 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม ณ หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ สุขุมวิท 33 กรุงเทพฯ
    • นิทรรศการ “จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม” 15 กุมภาพันธ์ – 28 เมษายน ณ หอศิลป์ G23 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร กรุงเทพฯ

นิทรรศการในต่างประเทศ แก้

  • พ.ศ. 2557
    • ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะ “เซี่ยงไฮ้ เบียนนาเล่” ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 ณ Power Station of Art เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2558
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "The World is our Home" ณ Parasite เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
  • พ.ศ. 2559
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Reframing Modernism" ณ National Gallery Singaport
  • พ.ศ. 2560
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Misfits : Pages from loose-leaf modernity" ณ HKW กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2561
    • นิทรรศการแสดงเดี่ยว "Tang Chang : The Painting That is Painted With Poetry is Beautiful" ณ The Smart Museum ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2562
    • Awakenings: Art in Society in Asia 1960s–1990s ณ National Gallery Singapore และ National Museum of Modern and Contemporary Art กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
  • พ.ศ. 2563
    • Awakenings: Art in Society in Asia 1960s–1990s ณ The National Museum of Modern Art กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2566
    • นิทรรศการแสดงเดี่ยว Tang Chang (1934-1990): Non-Forms ณ Centre Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ผลงานในชุดจัดเก็บสาธารณะ แก้

  • The Art Institute of Chicago ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Musée national d’art moderne - Centre de création industrielle ,Centre Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • National Gallery Singapore ประเทศสิงคโปร์

งานสังคมและความเคลื่อนไหว แก้

  • พ.ศ. 2503
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2504
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
    • ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีดำบนสีดำ (นามธรรม)
  • พ.ศ. 2505
    • ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีขาวบนขาว (นามธรรม)
    • สร้างภาพจิตรกรรมสีน้ำมันขนาดใหญ่
    • เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่โพธิสัตว์ (ด้วยนิ้วมือ) จำนวน 12 ภาพ ปัจจุบันอยู่ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนหัว สามแยก กรุงเทพฯ
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2510
    • ริเริ่มบทกวีสมัยใหม่ CONCRETE POETRYในนิตยสารช่อฟ้ารายเดือน
  • พ.ศ. 2513
    • นิตยสาร QUADRANT ของ AUSTRALIA ตีพิมพ์เผยแพร่ประวัติและผลงาน
    • หนังสือบทประพันธ์แห่งเอเซียตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานกวีนิพนธ์
    • สำนักข่าวสาร U.P.I. ส่งผู้สื่อข่าวชื่อ BOB NOOR บรรณาธิการข่าวภาพของสหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง เผยแพร่ทั่วโลก
  • พ.ศ. 2514
    • เป็นตัวแทนชาวไทยที่ได้รับคัดเลือกผลงานกวีนิพนธ์เข้าร่วม “การประชุมใหญ่ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาทางด้านภาคตะวันออกของโลก”ประเทศออสเตรเลีย (CONGRESS OF ORIENTALISTS- 1971, CANBERRA, AUSTALIA)
    • นิตยสาร LOOK EASTตีพิมพ์บทกวีนามธรรม-ภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้งเผยแพร่ทั่วโลก
  • พ.ศ. 2531
    • สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย อาจารย์ฟู่เจิงโหย่ว แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ขอประวัติ จ่าง แซ่ตั้ง ไปลงในพจนานุกรมผู้มีชื่อเสียงทางวิชาการของลูกจีนในประเทศไทยในแขนงกวีและนักจิตวิทยา
    • เป็นตัวแทนชาวไทย ซึ่งได้รับเกียรติรับมอบประกาศนียบัตรยกย่องความสามารถจาก ประธานสถาบันกวีนานาชาติอินเดีย ในการประชุมกวีโลกครั้งที่ 10 ณ กรุงเทพฯ

ผลงานทางวรรณกรรม แก้

  • 2563
    • ทัศนะศิลปะ-ทัศนะกวี, นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2556
    • จ่าง แซ่ตั้ง: จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
    • จ่าง แซ่ตั้ง: เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2553
    • บทกวีของฉัน, นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
    • ตำราพิชัยสงครามของท่านซุ่นวุ่,นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
    • โลกทรรศน์จากภายใน: ผลงานจิตรกรรม พ.ศ. 2501-2525, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2545
    • เวลาอันยาวนาน, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2543
    • จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง, กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2530
    • ปรมัตถ์เต๋า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
    • เด็กคนนั้น 2, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2529
    • “ด้านวรรณศิลป์” ใน รายงานการสัมมนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและการวิจัยทางศิลปะกับสังคมไทย, กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ
    • วันใหม่, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
    • เวิ้งฟ้า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2528
    • ยามเช้า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2518
    • อา Q, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง
  • 2517
    • บทกวีจีน, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
    • ภาพพจน์ที่ผ่านมา, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2516
    • คัมภีร์เต้าเต้อจิง, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2515
    • แม่กับลูก, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2512
    • เด็กคนนั้น, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
    • อภิปรัชญาศิลปะของท่านเต้าฉี, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2511
    • ปกดำ, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.

อ้างอิง แก้

  • ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง เก็บถาวร 2009-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Tang Chang The Original, The Original Tang Chang! นิทรรศการแสดงผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง, มีนาคม-เมษายน 2543
  • จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง (ภาพใบหน้าตนเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497 - 2530),ซีดีรอมรวมผลงาน จัดทำโดย The Mercury Art Gallery.
  • สูจิบัตรประกอบนิทรรศการ "จ่าง แซ่ตั้ง : เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน" และ "จ่าง แซ่ตั้ง : จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม"

ข้อเขียนเกี่ยวกับจ่าง แซ่ตั้ง ในภาษาไทย แก้

  • ดวงมน จิตร์จำนงค์. “วิเคราะห์พลังทางปัญญาในงานกวีนิพนธ์ของจ่าง แซ่ตั้ง” ใน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย: บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์. อัคคภาค เล้าจินตนาศรี (บรรณาธิการ), 457-499. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2543
  • ดวงมน จิตร์จำนงค์ และ กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. “โลกทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติในกวีนิพนธ์ร่วมสมัย : กรณีศึกษา อังคาร กัลยาณพงศ์ และ จ่าง แซ่ตั้ง” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1, no.1 (2548): 1-25
  • นวภู แซ่ตั้ง (บรรณาธิการ). จ่าง ศึกษา. นครปฐม: สำนักพิมพ์ ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง, 2563
  • นวภู แซ่ตั้ง. “จ่าง แซ่ตั้ง: ตัวตนกับการสร้างผลงานศิลปะ” ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 21, no.2 (2563): 10-19
  • ----------. “การจัดวาง จ่าง แซ่ตั้ง ในภาวะไม่ลงรอยของขนบศิลปะไทยสมัยใหม่.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
  • ----------. “จ่าง แซ่ตั้ง: ยังมีอะไรให้ศึกษา ?. วารสารวิจิตรศิลป์ 10, no.2 (2562): 137-158
  • ----------. “จ่าง แซ่ตั้ง กับ โลกศิลปะก่อนและหลัง 14 ตุลาฯ 16. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15, no.2 (2562): 112-136
  • นิพนธ์ ทวีกาญจน์. “จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินผู้อหังการ์บนเส้นทางของตนเอง.” ใน สารคดี 9, no.108 (2537): 165-170
  • บุญรัตน์ เจริญชัย. “ศิลปิน กวี จ่าง แซ่ตั้ง บทเรียนชีวิตของผู้มีความตั้งใจ” ใน ศิลปวัฒนธรรม 15, no.4 (2537): 47-50
  • ศภิสรา เข็มทอง. “อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
  • สินธุ์ชัย สุขสว่าง. “วิเคราะห์วรรณกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2520
  • อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ คุณพ่อ จ่าง แซ่ตั้ง, กรุงเทพฯ: ทิพย์ แซ่ตั้ง, 2533
  • อัจฉรา ตั้งพรประเสริฐ. “การศึกษาวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง พ.ศ. 2497 - 2532.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546
  • อำนาจ เย็นสบาย. “ฐานะทางประวัติศาสตร์ของ จ่าง แซ่ตั้ง” ใน Art Record in Thailand 1, no.2 (2537): 36-37

ข้อเขียนเกี่ยวกับจ่าง แซ่ตั้ง ในภาษาต่างประเทศ แก้

  • d’Abbs, Peter. “Tang Chang: An Artist and His World,” LOOKEAST 1, no. 11 (October 1971), 14-21.
  • Art in the Reign of King Rama IX: 6 Decades of Thai Art. Bangkok: Rama IX Art Museum Foundation, 2006.
  • Archer, Pamela, and Giovanni Cutolo. Tang Chang. Milan: Istituto De Angeli, 1968.
  • Bae, Myungji, Yu Jin Seng and Katsuo Suzuki, eds. Awakenings: Art in Society in Asia, 1960s–1990s. Tokyo: National Museum of Modern Art, Tokyo; Seoul: National Museum of Modern and Contemporary Art, Korea; Singapore: National Gallery Singapore, 2019.
  • Cacchione, Orianna. Tang Chang: The Painting that is Painted with Poetry is Profoundly Beautiful. Chicago: Smart Museum of Art, the University of Chicago, 2018.
  • Cheng, Jia Yun. “Tang Chang.” In Reframing Modernism: Painting from Southeast Asia, Europe and Beyond, edited by Sarah Lee and Sara Siew, 214–219. Singapore: National Gallery Singapore, 2016.
  • Clark, John. “‘Tradition’ in Thai Modern Art.” Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia 4, no. 2 (2020): 39-89.
  • Costinas, Cosmin, and Inti Guerrero. The World is Our Home: A Poem on Abstraction: Robert Motherwell, Bruce Nauman, Tomie Ohtake, Tang Chang. Hong Kong: Para Site Art Space, 2011.
  • Franke, Anselm. 10th Shanghai Biennale: Social Factory. Shanghai: Power Station of Art, 2014.
  • Kumjim, Prapon. “Magpie Modernity in Thai Art.” In Art Studies 01: Cultural Rebellion in Asia 1960–1989, edited by Furuichi Yasuko, 54–59. Tokyo: Japan Foundation Asia Center, 2015.
  • Kunavichayanont, Luckana, and Apisak Sonjod. Krungthep 226: The Art from Early Days, Bangkok to the Imagined Future. Bangkok: Bangkok Art and Culture Centre, 2008.
  • Mashadi, Ahmad. “Brief Notes on Traditionalism in Modern Thai Art.” In Modernity and Beyond: Themes in Southeast Asian Art, edited by T.K. Sabapathy, 61–68. Singapore: Singapore Art Museum, 1996.
  • Mukdamanee, Vichoke, and Sutee Kunavichayanont. Rattanakosin Art: The Reign of King Rama IX. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company, 1997.
  • Poshyananda, Apinan. Modern Art in Thailand: Nineteenth and Twentieth Centuries. New York: Oxford University Press, 1992.
  • Rodboon, Somporn. “History of Modern Art in Thailand.” In Asian Modernism: Diverse Development in Indonesia, the Philippines, and Thailand, edited by Furuichi Yasuko and Nakamoto Kazumi, 243–251. Tokyo: The Japan Foundation Asia Center, 1995.
  • Praepipatmongkol, Chanon Kenji. “Postwar Abstraction and Practices of Knowledge: Fernando Zóbel and Chang Saetang.” PhD thesis, University of Michigan, 2020.
  • Shioda, Junichi. “Bangkok and Chiang Mai: Ways of Modernity.” In Asian Modernism: Diverse Development in Indonesia, the Philippines, and Thailand, edited by Furuichi Yasuko and Nakamoto Kazumi, 238–242. Tokyo: The Japan Foundation Asia Center, 1995.
  • Suwannakudt, Phaptawan. “Tang Chang in My Memories.” Unpublished manuscript, 2016, typescript.
  • Tang, Chang. “Questions, Humans, Art.” In The Modern in Southeast Asian Art: A Reader, edited by T.K. Sabapathy and Patrick Flores, 841–842. Singapore: National Gallery Singapore, 2023.
  • - Chang Sae-tang: Chittakam Nammatham – Bot Kawi Ruppatham | Tang Chang: Abstract Paintings – Concrete Poetry. Nakhonpathom: The Tang Chang Private Museum, 2013.
  • - Pro Chan Tongkan Thiwang Khong Chan | Tang Chang: It was My Desire to Have My Very Own Space. Nakhonpathom: The Tang Chang Private Museum, 2013.
  • - The Artist is Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, Chasing After, Chasing, Chasing, Chasing, Keep on Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, and Chasing, to Seize the Sun Light for His Painting: Painting by Tang Chang. Bangkok: Open Arts Space, 2001.
  • Taylor, Nora A. “Tang Chang: The Painting that is Painted with Poetry is Profoundly Beautiful.” ArtAsiaPacific, no. 109 (2018): 113.
  • Teh, David. “The Preter-Natural: The Southeast Asian Contemporary and What Haunts It.” ARTMargins 6, no. 1 (2017): 33–63.
  • Teh, David et al. “Misfits”: Pages from a Loose-Leaf Modernity. Berlin: Haus der Kulturen der Welt, 2017.
  • - “Misfits”: lose blätter aus der geschichte der moderne: Rox Lee, Tang Chang und Bagyi Aung Soe. Berlin: Haus der Kulturen der Welt, 2017.
  • Tsui, Enid H. Y. “Tang Chang: A Reluctant ‘Outsider’ of Thai Modern Art.” World Art 12, no.1 (2022): 1–23.
  • - “Beyond the Mirror: Tang Chang’s Self-Portraits as Anti-Canonical Resistance.” MA thesis, University of Hong Kong, 2020.
  • Veal, Clare. “Chang sae Tang: The Material Conditions of the Archive.” Art Monthly Australasia 297 (2017): 22–27.