ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: ภาพ:ChinatownBangkok.jpg|thumb|250px|ถนนเยาวราช ถนนสายหลักของไชน่าทาวน์ กรุงเทพ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:51, 24 กุมภาพันธ์ 2561

ไชน่าทาวน์, กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชน่าทาวน์ หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพมหานคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยชาวจีนอพยพที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋ว โดยเมื่อมีการพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯให้ชาวจีนเหล่านี้ที่เดิมเคยอยู่รอบ ๆ ได้ย้ายไปยังสำเพ็ง และก่อให้เกิดเป็นชุมชนจีนเกิดที่นี่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2435 มีการตัดถนนเยาวราชขึ้น จึงทำให้ถนนเยาวราชเป็นหลักของชุมชนจีน ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ รวมถึงย่านต่าง ๆ ใกล้เคียง คือ ตลาดน้อย, คลองถม, เวิ้งนาครเกษม ตลอดความยาวของถนนเจริญกรุง[1]

ถนนเยาวราช ถนนสายหลักของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร
แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลัก ๆ ของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร

เดิมบริเวณนี้เป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังรอบนอก ซึ่งอยู่เลยอาณาเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพมหานคร ในช่วงปลาย พ.ศ. 2344 ถึงต้นพ.ศ. 2443 ตั้งแต่นั้นมา ไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานครจึงมีความโดดเด่นขึ้นมา ในส่วนของกิจกรรมเชิงพาณิชย์ก็ได้ขยายไปที่อื่นตามการขยายตัวของเมือง ตอนนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมจีนโดยมีร้านค้าจำนวนมากขายสินค้าแบบดั้งเดิม อีกทั้งและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นจุดหมายปลายทางของอาหาร โดยเฉพาะอาหารริมทาง ที่ได้รับการยกย่องจากระดับนานาชาติว่าเป็นแหล่งของอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลกถึง 2 ปีซ้อน[2]

ในอนาคตอันใกล้ ความเจริญในแบบสมัยใหม่กำลังจะเข้ามาสู่ไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร ทั้งสถานีรถไฟใต้ดิน ซึ่งได้แก่ สถานีวัดมังกร และสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับชุมชนเก่าแก่ที่จะได้รับผลกระทบ ที่กำลังจะถูกความเจริญเหล่านี้เข้ามาแทนที่[3]

อาณาบริเวณ

  • ถนนเยาวราช: ถนนสายหลักของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนโอเดียนแยกกับถนนเจริญกรุง ซึ่งทอดยาวไปกับแนวคูเมืองเดิม หรือคลองโอ่งอ่าง
  • วงเวียนโอเดียน: วงเวียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนเยาวราช ที่ตั้งของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ ปัจจุบันมีซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีอักษรจารึกทั้งภาษาไทยและภาษาจีนใน 2 ด้าน โดยสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
  • สำเพ็ง: หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 ชุมชนดั้งเดิมของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยมากจะเป็นเครื่องประดับ, กิฟต์ช้อป หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • ชุมชนเจริญไชย หรือ ซอยเจริญกรุง 23: ชุมชนเก่าแก่ในย่านไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งจำหน่ายกระดาษเงินกระดาษทอง และเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ รวมถึงชุดแต่งงานในแบบประเพณีจีนดั้งเดิม และเทศกาลไหว้พระจันทร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ บ้านเก่าเล่าเรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่เป็นศูนย์ข้อมูลของชาวจีนในประเทศไทย แต่เป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบการสร้างสถานีรถไฟฟ้า[3] [4]
  • ตลาดน้อย: ย่านเกาแก่ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น โบสถ์กาลหว่าร์ หรือธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย
  • ถนนทรงวาด: ถนนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของท่าเรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่ามากมาย และยังมีศิลปะบนผนัง ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวตะวันตกอีกด้วย

อ้างอิง

  1. เฮง, พรเทพ (2006-01-27). "ย้อนอดีตไชน่าทาวน์เมืองไทย ครึ่งศตวรรษเยาวราช". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
  2. อองกุลนะ, อรรถภูมิ. "อะไรอยู่ใน Street Food". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
  3. 3.0 3.1 "นางเลิ้ง เจริญไชย : ชุมชนเมืองบนรางความเปลี่ยนแปลง". มูลนิธิโลกสีเขียว. 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
  4. หนุ่มลูกทุ่ง (2015-09-11). "เดินเล่น "ชุมชนเจริญไชย" ชมของไหว้พระจันทร์อลังการ ในย่านขายเก่าแก่ที่สุดของเมืองกรุง". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Van Roy, Edward (2007). Sampheng : Bangkok's Chinatown inside out. Bangkok: Institute of Asian Studies, Chulalongkorn Univ. ISBN 9789749990339.