ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาเกาหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox language family |name= เกาหลี |familycolor=Isolate |family= ภาษาโดดเดี่ยว |region=คาบสมุทร...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:18, 25 พฤษภาคม 2560

ตระกูลภาษาเกาหลี คือตระกูลภาษาหนึ่งที่ประกอบด้วยภาษาเกาหลีสมัยใหม่และภาษาเครือญาติที่มีความใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ปัจจุบันจัดเป็นภาษาสูญแล้ว นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้ภาษาเกาหลีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นภาษาโดดเดี่ยว (Language isolate) ขณะที่นักภาษาศาสตร์จำนวนไม่น้อยจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาอัลไต (Altaic languages) บ้างก็จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific language family)[2] นอกจากนี้ยังภาษาศาสตร์บางส่วนสันนิษฐานว่าภาษาเกาหลีนี้อาจมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian languages) ก็เป็นได้[2]

เกาหลี
ภูมิภาค:คาบสมุทรเกาหลี, ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน, แมนจูเรีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ภาษาโดดเดี่ยว
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:kore1284[1]
{{{mapalt}}}
ตระกูลภาษาเกาหลี

ส่วนภาษาเชจูที่ใช้บนเกาะเชจูนั้นจัดเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาเกาหลีสมัยใหม่ แต่มีลักษณะที่ต่างออกไปจากภาษาเกาหลีมาตรฐาน เพียงพอที่จะแยกเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งต่างหาก[3] ซึ่งบางครั้งตระกูลภาษาเกาหลีอาจถูกพิจารณาว่าเป็นภาษาโดดเดี่ยว ตระกูลภาษาเกาหลีจึงเป็นตระกูลภาษาขนาดเล็กเพราะมีเพียงภาษาเกาหลีและภาษาเชจูเท่านั้น

การจำแนก

มีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เกาหลี ดังนี้

  • โปรโตเกาหลี (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1)
  • เกาหลียุคเก่า (คริสต์ศตวรรษที่ 1 – 10)
  • เกาหลียุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 10 – 16)
  • เกาหลียุคใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 17 – ปัจจุบัน)

ตระกูลภาษาเกาหลีเก่า

กลุ่มภาษาโบราณที่เคยใช้บนคาบสมุทรเกาหลี ได้แก่ ภาษาชิลลา ภาษาพูยอ ภาษาโคกูรยอ ภาษาดงเย ภาษาอกจอ ภาษาแพ็กเจ ภาษาโคโจซ็อน และภาษาเยแม็ก ซึ่งภาษาเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษ, เกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเกาหลีเก่า บางครั้งอาจแบ่งภาษาเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มภาษาพูยอ และกลุ่มภาษาฮัน ดังนี้[4]

ตระกูลภาษาเกาหลีใหม่

ตระกูลภาษาเกาหลีใหม่มีภาษาอยู่เพียงภาษาเดียวคือภาษาเกาหลี แต่บางครั้งภาษาเชจูก็ถูกจำแนกออกเป็นภาษาหนึ่งต่างหากโดยยูเนสโก จึงอาจถือว่าตระกูลภาษาเกาหลีสมัยใหม่ดำรงอยู่สองภาษาในยุคปัจจุบันคือภาษาเกาหลีและเชจู[5]

ภาษาในตระกูล

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Koreanic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. 2.0 2.1 Kim, Chin-Wu (1974). The Making of the Korean Language. Center for Korean Studies, University of Hawai'i.
  3. Janhunen, Juha (1996). Manchuria: An Ethnic History. Finno-Ugrian Society. ISBN 978-951-9403-84-7. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  4. Young Kyun Oh, 2005. Old Chinese and Old Sino-Korean
  5. Janhunen, Juha, 1996. Manchuria: an ethnic history
  6. 6.0 6.1 Lee & Ramsey, 2000. The Korean language