ภาษาเชจู
ภาษาเชจู (ฮันกึล: 제주어; ฮันจา: 濟州語)[3] หรือ สำเนียงเชจู (ฮันกึล: 제주 방언; ฮันจา: 濟州方言) เป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาเกาหลีที่ใช้พูดกันในจังหวัดเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นสำเนียงถิ่นที่มีความแตกต่างกับภาษาเกาหลีในแผ่นดินใหญ่
เชจู | |
---|---|
제주말 เชจูมัล | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศเกาหลีใต้ |
ภูมิภาค | จังหวัดเชจู |
จำนวนผู้พูด | 5,000–10,000 (2555)[1][2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ฮันกึล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | jje |
ภาษาเชจูเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มคนรุ่นเก่าบนเกาะเชจู จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 สถาบันภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเชจูได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์ภาษาดังกล่าวเนื่องจากมีผู้ใช้ลดน้อยลง[4] ปัจจุบันเหลือผู้ใช้ภาษาเชจูเพียงน้อยนิด ซึ่งใช้สื่อสารกันเฉพาะกลุ่มน้อย ๆ และคาดว่ามีผู้ใช้ภาษานี้อย่างเป็นกิจจะลักษณะไม่ถึงหนึ่งหมื่นคน[5]
การจำแนกแก้ไข
ชาวเกาหลีใต้จำนวนมากหรือแม้แต่ผู้ใช้ภาษาเชจูเองมักจะเข้าใจว่าภาษาเชจูเป็นสำเนียงถิ่นหนึ่งของภาษาเกาหลี แต่จริง ๆ แล้วภาษาเชจูกับภาษาเกาหลีถูกแยกเป็นคนละภาษาอย่างสิ้นเชิง เพราะทั้งสองภาษาไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้[6] โดยภาษาเชจูได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นกับมองโกเลียมากกว่าสำเนียงมาตรฐาน[4] คำส่วนใหญ่ของภาษาเชจูส่วนใหญ่จะเป็นคำไม่เป็นทางการหรือเป็นคำสแลงของสำเนียงมาตรฐานแทน[7] ยูเนสโกได้ให้การยอมรับว่าภาษาเชจูและเกาหลีเป็นคนละภาษา[8] ส่วนกลอตโตล็อก (Glottolog) จัดให้ทั้งสองภาษาอยู่ต่างตระกูลภาษากัน ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนภาษาเชจูผ่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และให้การสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า สมาคมอนุรักษ์เชจู (Jeju Preservation Society)[9]
ประชากรแก้ไข
ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาเชจูเป็นภาษาแม่ราว 5,000–10,000 คน[8] นอกจากนี้ยังเคยมีผู้ใช้ภาษาเชจูบนหมู่เกาะชูจา (Chuja islands) ในอดีตเทศมณฑลเชจูเหนือ (ฮันกึล: 북제주; ฮันจา: 北済州) และมีภาษาถิ่นเรียกว่าสำเนียงชูจาอันเป็นสำเนียงหนึ่งของสำเนียงช็อลลา ที่ยังอยู่รอดอย่างโดดเดี่ยวกลางวงล้อมของประเทศญี่ปุ่น[10]
มีความพยายามในการฟื้นฟูภาษาเชจูของรัฐบาลเกาหลีใต้ อาทิ การตีพิมพ์พจนานุกรมเชจู-เกาหลี หรือแม้แต่การก่อตั้งสถาบันสันติภาพเชจู (Jeju Peace Institute) แต่การฟื้นฟูกระทำได้อย่างยากลำบากเนื่องจากช่องว่างทางวัฒนธรรมและยุคสมัยที่ห่างออกไป[11]
เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ยูเนสโกได้ประกาศว่าภาษาเชจูเป็นภาษาใกล้สูญวิกฤต[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ UNESCO: Concerted efforts for the revitalization of Jeju language
- ↑ "Jeju". In Moseley, Christopher (ed.) 2010. Atlas of the World's Languages in Danger, 3rd ed. Paris, UNESCO Publishing.[1]
- ↑ '제주어' 유네스코 소멸위기 언어 등록, Yonhap News, 2011-01-17
- ↑ 4.0 4.1 "Jeju Island Dialect". Student Advocates for Language Preservation. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
- ↑ "About the Jeju-eo Talking Dictionary". talkingdictionary.swarthmore.edu. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
- ↑ Janhunen, Juha (1996). Manchuria: An Ethnic History. Finno-Ugrian Society. ISBN 978-951-9403-84-7.CS1 maint: ref=harv (link)
- ↑ "Did you know Jejueo is endangered?". Endangered Languages (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 New interactive atlas adds two more endangered languages
- ↑ "Jejueo". The Endangered Languages Project. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
- ↑ Keith Brown, บ.ก. (2005). "Korea, Republic of (South): Language Situation". Encyclopedia of Language and Linguistics (2 ed.). Elsevier. ISBN 0-08-044299-4.
- ↑ "About the Jeju-eo Talking Dictionary". talkingdictionary.swarthmore.edu. สืบค้นเมื่อ 2017-02-09.